“กพท.” ใต้ปีก ผอ.คนใหม่ คนไทยบินได้ด้วยความมั่นใจ

 “กพท.” ใต้ปีก ผอ.คนใหม่ คนไทยบินได้ด้วยความมั่นใจ

กำหนดการบินไม่เป็นไปตามตารางบิน ของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.)จะเป็นตัวกลางในการรับเรื่องร้องเรียน และควบคุมสายการบินให้รับผิดชอบกับทุกเหตุการณ์

ในช่วงวิกฤตการบินพอดี สำหรับ “สุทธิพงษ์ คงพูล” อดีตรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (มาตรฐานและความปลอดภัย) บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) และผู้มีประสบการณ์ทำงานด้านการบินมากว่า 30 ปี

โดยโจทย์สำคัญหลังการเข้ารับตำแหน่งนี้ “สุทธิพงษ์” เผยว่า ต้องการเข้ามาปรับโฉม กพท. จากองค์กรที่เข้าถึงยาก มักสื่อสารเรื่องกฎหมายด้านการบินเป็นหลัก ตนจะปรับให้เป็นองค์กรที่ประชาชน ผู้โดยสารที่ใช้บริการสายการบินเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย แต่ก็จะไม่ละทิ้งการประสาน และติดต่อสายการบินในการเข้ามาทำการบินภายในประเทศ

สำหรับงานเร่งด่วนที่ตนดำเนินการอยู่ในขณะนี้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่าจะต้องเป็นการวางมาตรการและกำกับดูแลความปลอดภัยด้านการบิน ในช่วงการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 แต่ในทางคู่ขนาน กพท.ยังอยู่ระหว่างการวางแผนพัฒนาแอพพลิเคชั่น หรือช่องทางการติดต่อ ที่จะเป็นเสมือนตัวกลางระหว่างผู้โดยสารและสายการบิน โดยเฉพาะกรณีที่สายการบินล่าช้า กำหนดการบินไม่เป็นไปตามตารางบิน กพท.จะเป็นตัวกลางในการรับเรื่องร้องเรียน และควบคุมสายการบินให้รับผิดชอบกับทุกเหตุการณ์

“ผมมีแผนที่จะพัฒนา 2 แอพพลิเคชั่นของ กพท. เพื่อให้ประชาชนได้ติดต่อสอบถาม หรือหาข้อมูลสะดวกมากขึ้น เพราะขณะนี้แม้ว่าจะมีช่องทางติดต่ออยู่แล้ว แต่ก็ค่อนข้างซับซ้อนไม่สะดวกต่อการใช้งาน ทั้งผู้โดยสาร กพท. และสายการบิน”

  161823078475

สุทธิพงษ์ ยังเล่าด้วยว่า แผนพัฒนาแอพพลิเคชั่น ประกอบด้วย แอพพลิเคชั่นตัวแรก จะพัฒนาขึ้นเพื่อให้ผู้โดยสาร หรือญาติ สามารถโหลดมา เป็นแอพพลิเคชั่นส่วนกลางที่สามารถเช็คข้อมูลทางการบิน ข้อมูลสนามบิน และเที่ยวบินได้ทุกแห่งในประเทศไทย เพื่อให้ประชาชนสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารด้านการบิน สามารถค้นหาข้อมูลเที่ยวบิน วางแผนการเดินทาง ตลอดจนวางแผนการไปรับญาติพี่น้องที่สนามบิน แก้ปัญหาการเดินทางไปก่อนเวลา เที่ยวบินดีเลย์ และส่งผลให้ญาติที่มารอบรับต้องใช้เวลาจอดรถรอนาน

ขณะที่แอพพลิเคชั่นตัวที่สอง จะพัฒนาเพื่อเป็นช่องทางรับเรื่องร้องเรียน ในกรณีที่สายการบินดีเลย์ ยกเลิกเที่ยวบิน หรือได้รับความไม่เป็นธรรม เพราะ กพท.ต้องการให้ผู้โดยสารมีตัวกลางในการรับเรื่องร้องเรียนเหล่านี้ และ กพท.ก็จะประสานไปยังสายการบิน ให้ดูแลชดเชย 

โจทย์ของการพัฒนาแอพพลิเคชั่น ส่วนตัวตั้งเป้าที่จะให้แอพฯ นี้ เป็นช่องทางติดต่อที่ฝ่ายสะดวก ผู้โดยสารสามารถกรอกข้อมูลส่วนตัว อาทิ ชื่อ หรือบัตรประชาชน และทราบข้อมูลการเดินทาง เที่ยวบินได้ทันที หากต้องการร้องเรียนให้กดผ่านแอพฯ และข้อมูลจะส่งตรงไปยังสายการบิน และกพท.ก็สามารถตรวจสอบได้

ทั้งนี้ แอพพลิเคชั่นดังกล่าว กพท.อยู่ระหว่างศึกษาและเตรียมจัดทำ มีเป้าหมายแล้วเสร็จเปิดตัวได้ภายในปีนี้ เพื่อรองรับการใช้บริการภายหลังสถานการณ์ด้านการบินกลับมาคลี่คลาย โดยขณะนี้ กพท.ประเมินว่าอุตสาหกรรมการบินจะทยอยกลับมาทำการบินมากขึ้นในช่วงไตรมาส 4 ซึ่งเป็นช่วงเข้าตารางบินฤดูหนาว (ต.ค. 2564 - มี.ค.2565) เนื่องจากปัจจุบันเริ่มมีสายการบินจองทำการบินในช่วงดังกล่าวเข้ามาแล้ว ในเส้นทางหัวเมืองท่องเที่ยว อาทิ ภูเก็ต สายการบินจองทำการบินแล้ว 1 ใน 3 ของตารางบินฤดูหนาว

อย่างไรก็ดี จากกรณีเที่ยวบินของสายการบินไทยเวียตเจ็ทล่าช้าและยกเลิกเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2564 จะเห็นได้ว่า กพท.ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลให้สายการบินปฏิบัติตามประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่องการคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสารที่ใช้บริการสายการบินของไทยในเส้นทางประจำภายในประเทศ พ.ศ. 2553 ได้ออกมาแอคชั่นเรื่องดังกล่าวในทันที

โดยประสานไปยังสายการบินให้เร่งชี้แจงเหตุการณ์ พร้อมทั้งติดตาม และแจ้งกำชับให้สายการบินดูแลผู้โดยสาร และปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด รวมถึงให้สายการบิน รวบรวมหลักฐานการดูแลผู้โดยสาร โดยเฉพาะการชำระค่าชดเชยเป็นรายบุคคลสำหรับกรณีเที่ยวบินยกเลิกและเที่ยวบินล่าช้ามากกว่า 5 ชั่วโมง อีกทั้ง สายการบินจะต้องส่งรายละเอียดมาให้ กพท. เพื่อตรวจสอบ และชี้แจงข้อเท็จจริงทั้งหมดสำหรับการดูแลผู้โดยสารให้ครบถ้วน

ทั้งนี้ “สุทธิพงษ์” เข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการ กพท.ลงนามในสัญญาจ้าง เมื่อวันที่ 17 ก.พ.2564 เป็นผู้อำนวยการคนที่ 3 ของ กพท.นับตั้งแต่ก่อตั้งองค์กรเมื่อปี 2558  สำหรับวิสัยทัศน์คือ ยึดหลักในการพัฒนาองค์กรด้วยเทคโนโลยี ตอบสนองการบริการทั้งประชาชน และสายการบิน