ช่วงสั้นเลี่ยงหุ้นกระทบตรงโควิด หาผู้ได้ประโยชน์จากสถานการณ์และหุ้นงบดี

ช่วงสั้นเลี่ยงหุ้นกระทบตรงโควิด หาผู้ได้ประโยชน์จากสถานการณ์และหุ้นงบดี

มองบวกต่อผลประกอบการ แต่สหรัฐฯทบทวนห่วงโซ่อุปทานเป็นความเสี่ยงระยะถัดไป

เรายังคงมุมมองบวกต่อแนวโน้มการรายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 1/64 ของบริษัทจดทะเบียนทั่วโลก ซึ่งทิศทางผลประกอบการที่ฟื้นตัวดีขึ้นจะช่วยลดความตึงตัวของ Valuation ของตลาดและเป็นบวกกับตลาดหุ้นในภาพรวม อย่างไรก็ตามความขัดแย้งสหรัฐฯ-จีน มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้น โดยวันนี้ซีอีโอของบริษัทชั้นนำในสหรัฐฯ อาทิ อัลฟาเบท (แม่ของกูเกิล), เอทีแอนด์ที, อินเทล และเจเนอรัล มอเตอร์ จะเข้าร่วมประชุมสุดยอดทางออนไลน์ที่คณะทำงานของทำเนียบขาวจัดขึ้น เพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาการขาดแคลนชิปทั่วโลก และทบทวนห่วงโซ่อุปทานที่สำคัญของสหรัฐ ซึ่งเชื่อว่าเป็นความพยายามในการลดการพึ่งพาจีนในห่วงโซ่อุปทาน

พ.ร.ก.ช่วยเหลือโควิด อาจไม่ได้ส่งผบวกมาก แต่ช่วยจำกัดความเสี่ยงให้แก่สถาบันการเงิน พระราชกำหนด (พรก.) นี้มีสาระสำคัญ 2 มาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจ ได้แก่ 1) การให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (soft loan) แก่ผู้ประกอบการธุรกิจ วงเงิน 2.5 แสนล้านบาท โดยธปท.ให้สถาบันการเงินกู้ยืมด้วยอัตราดอกเบี้ย 0.01% โดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) จะรับภาระไม่เกิน 40% ของวงเงินสินเชื่อ 2) มาตรการพักทรัพย์ พักหนี้ (Asset warehousing) วงเงินไม่เกิน 1 แสนล้านบาท โดยผู้ประกอบการที่โอนทรัพย์ชำระหนี้ มีสิทธิ์ซื้อคืนภายใน 5 ปี //เรามองภาพรวมมาตรการดังกล่าวเป็นบวก แม้อาจไม่ได้ส่งผลดีมากมาย แต่ช่วยผลผลกระทบ และจำกัดความเสี่ยงทางลงในกรณีกลายเป็นหนี้เสีย ขณะที่ธนาคารใหญ่อย่าง BBL, KBANK, KTB, TMB มีผลตอบแทนต่อการปล่อยสินเชื่อต่ำ 5% น่าจะได้ประโยชน์มากกว่ารายอื่น

สถานการณ์บังคับให้รัฐบาลต้องยอมนำเข้าวัคซีนเพิ่มเติมบวกต่อกลุ่มการแพทย์ เมื่อ 9 เม.ย. นายกรัฐมนตรีลงนามแต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งมีผลให้ร.พ.เอกชนจะมีส่วนในการจัดหาและให้บริการวัคซีนกับประชาชนทั่วไปจำนวน 10 ล้านโดส ซึ่งเรามองเป็นปัจจัยบวกช่วยต่อการฟื้นตัวของผลประกอบการ ก่อนที่ผลการดำเนินงานจริงจะฟื้นได้เมื่อมีการเปิดประเทศในช่วงถัดไป ซึ่งหุ้นที่เราให้คำแนะนำซื้อในกลุ่มนี้ ได้แก่ BCH, CHG และ BDMS

กลยุทธ์ยังเน้นเลือกเก็งกำไรรายตัวในธีมที่น่าสนใจ ได้แก่ 1) ธนาคาร จากการผ่อนคลายเศรษฐกิจ และมาตรการออก REIT buy back รวมถึง Asset warehousing เราชอบธนาคารที่ยัง Laggard อย่าง BBL, SCB, TISCO 2) กลุ่มการแพทย์ BCH, CHG 3) ได้ประโยชน์จากเราชนะ TNP เนื่องจากเป็นร้านค้าธงฟ้า 4) ไฟฟ้าชุมชน เรามองบวกต่อพลังงานทดแทน โดยเฉพาะ ETC และ ACE 5) Re-rating PTG 6) ปันผลและกองรีทส์ ADVANC, BTSGIF, CPNREIT, AIMIRT, FTREIT, EASTW, WHAUP, TTW, TIP 7) กลุ่มพลังงาน ปิโตรฯ PTT, PTTGC, IVL, TOP ส่วน SCC ยังขึ้นน้อยที่สุดใน 1 ปี ที่ผ่านมา 8) งบไตรมาส 1/64 โดดเด่น ได้แก่ SCC, BANPU, SUPER, TVO, PTT, FTREIT, WHART 9) การขายประกันโควิด บวกต่อหุ้นประกัน THRE, TIP, TQM

ภาพรวมกลยุทธ์ ระยะสั้นผันผวนจากความกังวลการระบาดระลอกใหม่ก่อนฟื้นตัวจากผลประกอบการไตรมาส 1/64 เลี่ยงกลุ่มกระทบโดยตรงจากการระบาด ยังเน้นเลือกหุ้นผสมระหว่างฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและทยอยสะสมหุ้นปันผลสูง กองรีทส์ที่มีการถือครองต่ำ รวมถึงหุ้นที่ยังขึ้นน้อย // หุ้นแนะนำวันนี้ เก็งกำไร BCH*, SCC*, IRPC*, PTG*

แนวรับ 1,546 / แนวต้าน : 1,560-1,568 จุด สัดส่วน : เงินสด 40% : พอร์ตหุ้น 60%

ประเด็นการลงทุน

ลาการ์ดคาดเศรษฐกิจอียูฟื้นแกร่งครึ่งปีหลัง. นางคริสติน ลาการ์ด ประธาน ECB เผยว่าเศรษฐกิจอียูจะฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งในช่วงครึ่งหลังปี 64 แม้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ด้าน IMF ประเมินเศรษฐกิจอียูโต 4.4% ในปีนี้ หลังหดตัว 6.6% ในปีที่ผ่านมา

ประธานาธิบดี โจ ไบเดน เสนอมเพิ่มงบกลาโหมรับมือจีน-รัสเซีย ในปีงบประมาณหน้า เพิ่มขึ้น 1.6% เมื่อเทียบกับปีงบประมาณปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 704,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อตอบโต้กับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นโดยเฉพาะจากจีนและรัสเซีย

ธปท.ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 64 อาจโตเพียง 3% ลดลงจากประมาณการครั้งก่อนที่ 3.4% แต่ยังไม่รวมผลกระทบการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ระลอกใหม่ ที่ทำให้เศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนสูงและเสี่ยงโต่ต่ำกว่า 3%

ประเด็นติดตาม: - 12 เม.ย. : IMF meeting,,13 เม.ย. : ตัวเลขส่งออก-นำเข้า จีน เดือน มี.ค. / OPEC monthly report / US CPI เดือน มี.ค., 15 เม.ย. : US Industrial Production

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)