ซีพีเอฟ วางฐาน “อาหารมั่นคง” เพียงพอ-ปลอดภัยอย่างยั่งยืน

ซีพีเอฟ วางฐาน “อาหารมั่นคง”     เพียงพอ-ปลอดภัยอย่างยั่งยืน

การเผชิญความท้าทายจากวิกฤติการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ โควิด 19 (Covid – 19) ตลอด 1ปีที่ผ่านมา แม้ขณะนี้หลายคนกำลังมีความหวังถึงความสำเร็จของวัคซีน ที่จะช่วยยั้บยั้งการแพร่กระจายของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย

การเผชิญความท้าทายจากวิกฤติการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ โควิด 19 (Covid – 19)  ตลอด 1ปีที่ผ่านมา แม้ขณะนี้หลายคนกำลังมีความหวังถึงความสำเร็จของวัคซีน ที่จะช่วยยั้บยั้งการแพร่กระจายของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย แต่จากวิกฤติที่เกิดขึ้นสะท้อนว่า ท่ามกลางความท้าทายต่างๆ มีสิ่งหนึ่งที่สำคัญมาตลอดและจากนี้ไปในอนาคต นั่นคือ “อาหาร” ที่เป็นตัวแทนที่สำคัญของความมั่นคงในชีวิต ไม่แพ้การเอาตัวให้รอดจากโรคระบาด 

“โครงการ CPF ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัยโควิด-19” เป็นหนึ่งในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ที่เกิดขึ้นจากการริเริ่มของเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือเครือซีพี ภายใต้ปรัชญา 3 ประโยชน์สู่ความยั่งยืน ที่คำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติ ประชาชน และสุดท้ายคือบริษัท  ซึ่งเป็นการดำเนินงานโดยบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ภาคเอกชนไทยรายแรก ที่ส่งความช่วยเหลือสังคมตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด -19 ที่มุ่งมั่นเดินหน้าภารกิจสร้าง “อาหารมั่นคง”และจนถึงวันนี้ ซีพีเอฟ ยังคงส่งมอบอาหารต่อเนื่องให้ถึงมือผู้บริโภคอย่างทั่วถึง

ประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ ที่ตระหนักถึงบทบาทของบริษัท ในฐานะ “พลเมืองที่ดีของประเทศ” (Good Corporate Citizen) ในการทำหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ถือเป็นหลักการสำคัญเพื่อร่วมพัฒนาประเทศและสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืนที่ซีพีเอฟใส่ใจและดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง

“ในช่วงโควิด-19 ซีพีเอฟมุ่งสร้างอาหารมั่นคง ให้กับผู้ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยหน้า เช่น ทีมแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์และครอบครัว เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้กักตัวเอง ผู้มีรายได้น้อย แรงงานข้ามชาติ กลุ่มเปราะบาง ฯลฯ แต่จากนี้ โจทย์ที่เราให้ความสำคัญจะกว้างขวางขึ้น คือการสร้าง อาหารมั่นคง ” 

161776837565

ทั้งนี้ ซีพีเอฟ ยังเป็นบริษัทไทยรายแรกที่ประกาศยกระดับมาตรการความปลอดภัยและสุขอนามัยของพนักงานขึ้นระดับสูงสุด ควบคู่ไปกับการดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่การผลิตเป็นอย่างดี โดยช่วยเหลือคู่ค้าเอสเอ็มอี ผ่านโครงการ Faster payment ลดระยะเครดิตเทอมเหลือ 30 วัน ให้แก่คู่ค้ากว่า 6,000 ราย เพิ่มสภาพคล่องและรักษางานของลูกจ้างในกลุ่มคู่ค้า

นอกจากนี้ ซีพีเอฟ เดินหน้ากลยุทธ์ความยั่งยืน 3 เสาหลัก ประกอบด้วย อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน ดินน้ำป่าคงอยู่ ซึ่ง ในด้านของอาหารมั่นคง เน้นการผลิตทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ภายใต้วิสัยทัศน์ “ครัวของโลกที่ยั่งยืน”

นอกจากนี้ ประเด็นความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นหนึ่งในปัจจัยของการเลือกซื้ออาหารและผลิตภัณฑ์ ของผู้บริโภคทั่วโลก ซีพีเอฟ จึงได้ผนวกเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) เข้ากับการดำเนินงาน โดยสนับสนุนเป้าหมาย SDGs ทั้งหมด 13 เป้าหมาย จาก 17 เป้าหมาย และมีการทบทวนกลยุทธ์ความยั่งยืนให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ

ในรายงานความยั่งยืนประจำปี 2563 ของ ซีพีเอฟ ได้แสดงถึงผลสำเร็จจากการบริหารจัดการทรัพยากรตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ช่วยให้การดึงน้ำมาใช้ต่อหน่วยการผลิตลดลง 36% เทียบกับปีฐาน 2558 นำน้ำกลับใช้ใหม่หรือใช้ซ้ำได้ถึง 42% ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้รวม 586,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า เพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนตลอดกระบวนการผลิตอยู่ที่ 26% ของการใช้พลังงานทั้งหมด ตลอดจนใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่สามารถใช้ซ้ำ หรือใช้ใหม่ หรือย่อยสลายได้สูงถึง 99.9%

รวมถึงการมีส่วนร่วมปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว ในโครงการซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน ช่วยฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าชายเลนในพื้นที่ยุทธศาสตร์ 5 จังหวัดรวม 2,388 ไร่ โครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง จ.ลพบุรี อนุรักษ์และฟื้นฟูป่า 5,971 ไร่ โครงการซีพีเอฟรักษ์นิเวศ สนับสนุนให้พนักงานปลูกต้นไม้ในสถานประกอบการทั่วประเทศแล้ว 1,720 ไร่ และยังเดินหน้าโครงการเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง

ซีพีเอฟ มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจด้วยกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน สู่เป้าหมายปี 2573 ( ปี 2030) เน้นสร้างนวัตกรรมอาหาร การพัฒนาบุคลากรให้สามารถพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต พร้อมทั้งแบ่งปันคุณค่าร่วมให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย มุ่งสู่การเป็นองค์กรที่สร้างความมั่นคงทางอาหารของโลกอย่างยั่งยืน