'ที่ปรึกษาชวน' โต้กลับ'โรม' ยันรธน.ม.129 ห้ามก้าวล่วงตุลาการ

'ที่ปรึกษาชวน' โต้กลับ'โรม' ยันรธน.ม.129 ห้ามก้าวล่วงตุลาการ

'ที่ปรึกษาชวน' โต้กลับ'โรม' ยกรธน.ม.129 ยัน บทบัญญัติมิให้ใช้บังคับผู้พิพากษา-ตุลาการ

นพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร แถลงถึงกรณีที่นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์เรื่องการเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนเพื่อขอให้เชิญประธานศาลฎีกาหรือตัวแทนมาให้ความเห็นหรือชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการฯกรณีไม่อนุญาติประกันแกนนำม็อบราฎร

ขอชี้แจงว่าเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องตรงไปตรงมา ที่แรากฎอยู่ในรัฐธรรมนูญ เพราะในรัฐธรรมนูญมาตรา129 ที่ว่าด้วยการทำหน้าที่ของกรรมาธิการ ที่สามารถเสาะหาข้อเท็จจริงและมีอำนาจเรียกเอกสารหรือบุคคลมาแสดงข้อเท็จจริงในเรื่องที่พิจารณาได้

แต่ในวรรคสี่ของมาตรา129ได้กำหนดไว้ถึงการเรียกนั้น มิให้ใช้บังคับแก่ผู้พิพากษาหรือตุลาการที่ปฏิบัติหรือใช้อำนาจในกระบวนวิธีพิจารณาพิพากษาอรรถคดี หรือการบริหารงานบุคคลของแต่ละศาล ดังนั้นรัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ชัดเจนว่าคณะกรรมาธิการไม่สามารถเรียกให้ศาลเข้ามาชี้แจงในกรรมาธิการได้

“จริงๆแล้วการที่ท่านจะมาแถลงข่าวเรื่องใดๆก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการเรียกหน่วยงานไหนมาชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการอะไร ก็ควรจะศึกษาในแง่ของกฎหมายให้ดีซะก่อน อย่านึกว่าเราเป็น ส.ส.แล้วต้องทำอะไรได้ทุกอย่าง ทั้งนี้ทั้งนั้นทุกเรื่องมันต้องอยู่บนพื้นฐานของการให้เดียรติสถาบันอื่นด้วย” นพ.สุกิจ

นพ.สุกิจ ยังระบุว่า กรณีนี้ไม่จำเป็นต้องทำหนังสือส่งไปยังคณะกรรมาธิการการกฎหมายฯ เพราะกรรมาธิการไม่มีอพนาจที่จะไปเชิญอยู่แล้ว และเชื่อว่ากรรมาธิการส่วนใหญ่ก็ทราบเรื่องนี้ และรัฐธรรมนูญก็เขียนไว้ชัดเจน และในสมัยที่มี พ.ร.บ.คำสั่งเรียกก็ได้เขียนไว้แบบนี้ แต่ตอนหลังศาลรัฐธรรมนูญก็ได้วินิจฉัยว่ามีบางมาตราขัดรัฐธรรมนูญขัดรัฐธรรมนูญจึงใช้ไม่ได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทุกกฎหมายก็ไม่ได้ให้อำนาจกับทางสภาหรือกรรมาธิการที่จะเรียกศาลหรือฝ่ายตุลาการมาให้ความเห็นหรือมาสอบถามแต่ประการใด