‘ดิจิทัล เทมเปิ้ล ไทยแลนด์’ มิติใหม่ ‘วัดไทย’ บนโลกดิจิทัล

‘ดิจิทัล เทมเปิ้ล ไทยแลนด์’ มิติใหม่ ‘วัดไทย’ บนโลกดิจิทัล

โควิดเปลี่ยนวิถีการทำงานและการใช้ชีวิต ผลักดันให้ต้องใช้เครื่องมือดิจิทัลเพิ่มทางรอด

ด้านแผนการประชาสัมพันธ์ เตรียมสร้างการรับรู้ให้กับผู้ใช้งาน คู่ขนานไปกับการทำงานร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรในแต่ละจังหวัด ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไปจะร่วมทำงานกับพันธมิตรเช่น เนชั่นกรุ๊ป และสื่ออื่นๆ รวมถึงออนไลน์มีเดียต่างๆ กลุ่มเป้าหมายหลักหวังเข้าถึงผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วไปในประเทศไทยที่มองหาวิธีการทำบุญที่ตรงกับไลฟ์สไตล์

ดีเดย์เปิดให้บริการไตรมาส 2

เทอเรนซ์กล่าวว่า แม้ว่าเทคโนโลยีนี้จะให้บริการฟรีสำหรับวัดแต่ยังคงมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ดูแลระบบ และอื่นๆ ดังนั้นจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากสปอนเซอร์และผู้มีจิตศรัทธา โครงการนี้จะประสบผลสำเร็จได้จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นชาวไทย ชาวต่างชาติ องค์กรภาครัฐ และภาคเอกชน

อิสแวร์หวังว่า จะมีผู้สนใจร่วมสนับสนุนโครงการประวัติศาสตร์นี้ โดยบุคคลหรือองค์กรที่ต้องการมีส่วนร่วม สามารถเข้าชมรายละเอียดโครงการเพิ่มเติมได้ที่ https://th.iswhere.com/onab

สำหรับกำหนดการการเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ทางบริษัทพร้อมเปิดให้บริการได้ทันทีหลังสถานการณ์โควิดในประเทศดีขึ้น โดยคาดว่าจะทำได้ภายในไตรมาสที่ 2 ปีนี้

อย่างไรก็ดี นอกจากโครงการดังกล่าวยังสามารถใช้เทคโนโลยีของอิสแวร์เพื่อประโยชน์ในอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้หลากหลาย เช่น อาหารและเครื่องดื่ม, การท่องเที่ยว ชอปปิงและบริการ ฯลฯ

สื่อกลาง ‘สื่อสารข้อมูล

เมธี วีระพัฒน์ ผู้อำนวยการ บริษัท อิสแวร์ ประเทศไทย เผยว่า ช่วงสองไตรมาสที่ผ่านมาได้เห็นว่าชาวบ้านหลายรายได้รับผลกระทบ ต้องเข้าไปพึ่งพาวัดในท้องถิ่นซึ่งมีการแจกจ่ายอาหาร ทว่าผลกระทบของโควิดทำให้แต่ละวัดประสบปัญหา ไม่มีคนเข้ามาบริจาค แม้คลายล็อกดาวน์แล้วแต่สถานการณ์กลับยังไม่ดีขึ้นเท่าที่ควร

ดังนั้น แพลตฟอร์มนี้จะช่วยเปิดทางให้เกิดการบริจากรูปแบบใหม่บนดิจิทัล โดยการรับบริจาคออนไลน์จะมีการพูดคุยกับเพย์เมนท์เกทเวย์ ซึ่งมีใบอนุญาตอยู่แล้วเป็นผู้ดำเนินการ ทุกอย่างจะมีหน่วยงานกลางเป็นผู้ดูแล บริษัทไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้อง เฟสแรกการบริจาคจะทำได้ผ่านทางเพย์พาลหรือบัตรเครดิตซึ่งมันใจได้ในเรื่องความปลอดภัย

อิสแวร์วางตำแหน่งเป็นสื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล ทำให้พุทธศาสนิกชนเข้าถึงพุทธศาสนาได้ง่ายขึ้น ขณะนี้มีทีมคอนเทนท์ที่จะช่วยทำคอนเทนท์แนะนำการทำกิจกรรมที่แต่ละวัดจัดทำซึ่งผู้ใช้งานสามารถค้นหาได้ตามความสนใจ สำหรับการจัดทำโครงการนำร่องในแต่ละจังหวัดจะมีการเข้าไปพูดคุยเป็นรายจัดหวัดไป

“ไม่น่าเกินกลางปีวัคซีนโควิดน่าจะทยอยเข้ามาแล้ว แต่ทั้งนี้สถานการณ์อาจยังไม่ได้ดีขึ้น นักท่องเที่ยวยังเดินทางเข้ามาไม่ได้ เราจึงต้องช่วยกันผลักดันภายในประเทศต่อ”

เอไอ-คลาวด์’ ยกระดับบริการ

จตุภัทร์  ตั้งคารวคุณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หนึ่งในพันธมิตรหลัก กล่าวว่า ในยุคที่ทุกๆ สิ่งมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทกับทั้งในชีวิตประจำวันและการทำงาน

การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการเผยแผ่และสืบทอดพระพุทธศาสนาจะมีส่วนสำคัญช่วยทำให้ผู้คนเข้าถึงชีวิตประจำวันได้ง่ายขึ้น อีกทางหนึ่งศาสนาพุทธอันเป็นศาสนาประจำชาติจะยังคงเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชนได้ต่อไป

สำหรับทีโอเอ ที่ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการนี้ เนื่องจากบริษัทให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีควบคู่การดูแลชุมชนและสังคม ถือเป็นโอกาสที่ดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการประวัติศาสตร์ครั้งนี้ซึ่งสอดคล้องตามเจตนารมณ์ขององค์กรที่มุ่งพัฒนาธุรกิจควบคู่ไปกับการสร้างสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน

นันทพล บุญเหลือ ผู้อำนวยการสายงานการตลาด ทีโอเอ เสริมว่า ที่ผ่านมาทางทีโอเอมีประสบการณ์ได้เข้าไปช่วยเหลือ แก้ปัญหาด้านการก่อสร้าง ทาสี รวมถึงรั่วซึมให้กับวัดต่างๆ ซึ่งทำให้มีโอกาสได้พบปะใกล้ชิดและเข้าใจปัญหาได้เป็นอย่างดี

สำหรับโครงการดังกล่าว นับว่าเหมาะกับสภาวะการณ์ปัจจุบัน ทั้งช่วยส่งเสริมให้วัดอยู่ได้ดีขึ้น เข้าถึงคนได้ดีขึ้น และต่อไปเป็นไปได้ที่จะนำไปต่อยอดด้านการท่องเที่ยวซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

แดเนียล โจว ประธานกลุ่มธุรกิจคลาวด์และปัญญาประดิษฐ์ หัวเว่ยภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า หัวเว่ยมีส่วนเข้ามาสนับสนุนโครงการเพื่อการกุศลดังกล่าวโดยใช้คลาวด์เทคโนโลยีและเอไอมาให้บริการ เพื่อรองรับปริมาณการใช้งานที่อาจเกิดขึ้นจำนวนมากจากผู้ที่สนใจซึ่งอาจมีหลายล้านคน