Thailand Strategy (26 มีค.64)

Thailand Strategy (26 มีค.64)

การเก็บค่าใช้น้ำ ผลกระทบไม่มีนัยสำคัญ

พรบ. ทรัพยากรน้ำ 2561 ตั้งเป้าจะเก็บค่าน้ำจากผู้ใช้น้ำเชิงพาณิชย์และผู้ใช้น้ำปริมาณมาก อัตราค่าน้ำจะได้ข้อสรุปภายในสิ้นปี เราทำการวิเคราะห์ sensitivity และพบว่าผลกระทบไม่มีนัยสำคัญ (<1% ของกำไรสุทธิ) ของกำไรของหุ้นใน coverage ของเรา และมองว่าประเด็นนี้จะไม่กดดันราคาหุ้น 

คาดการเก็บค่าน้ำกับผู้ใช้น้ำปริมาณมาก 0.5-0.85บาทต่อลบ.ม.

พรบ. ทรัพยากรน้ำ 2561 (2018) สำหรับการจัดสรรและใช้น้ำเริ่มมีผลบังคับใช้ใน วันที่ 27 ม.ค. 2021 วัตถุประสงค์เพื่อการเก็บค่าใช้น้ำจากแหล่งน้ำสาธารณะจาก 22 ลุ่มน้ำหลักและ 353 ลุ่มน้ำสาขา (Figure 2) โดยสรุปการใช้น้ำประเภทที่หนึ่ง ไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตและไม่ต้องจ่ายค่าใช้นำ; ประเภทที่สอง จำเป็นต้องมีใบอนุญาต แต่ได้รับยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าใช้น้ำ; และประเภทที่สามต้องมีใบอนุญาตใช้น้ำและมีการจัดเก็บค่าใช้น้ำ (Figure 1) อัตราและวันจัดเก็บค่าใช้น้ำจะได้ข้อสรุปจากคณะกรรมการลุ่มน้ำภายในสิ้นปีนี้ โดยเบื้องต้นค่าใช้น้ำอาจจะอยู่ที่ 0.50บาท/ลบ.ม. หรือ 0.80-0.85บาท/ลบ.ม.

 

การวิเคราะห์ sensitivity สะท้อนผลกระทบไม่มีนัยสำคัญ

เราทำการวิเคราะห์ sensitivity ของหุ้นใน coverage ของเราและพบว่าผลกระทบที่เกิดจากพรบ.นี้ไม่มีนัยสำคัญต่อกำไรสุทธิ 

• ผู้ใช้น้ำปริมาณมาก (โรงไฟฟ้า, พลังงาน, ปิโตรเคมี, อาหาร, ท่องเที่ยว):  เช่oโตรเคมีใช้น้ำ >10,000 ลบ.ม.ต่อวัน แต่ผลกระทบ <1% ของกำไรสุทธิ

• เครื่องดื่ม: น้ำเป็นต้นทุนการผลิตหลัก แต่ผลกระทบน้อยกว่า <1% เนื่องจากต้นทุนน้ำเพิ่มขึ้นเพียง 2-3%  ICHI และ OSP (บางส่วน) ใช้น้ำจากนิคมอุตสาหกรรมโรจนะอยุธยา ซึ่งจ่ายค่าใช้น้ำในอัตรา 0.5บาท/ลบ.ม. อยู่แล้ว

• ผู้ผลิตน้ำประปา/อุตสาหกรรม WHAUP, ROJNA และ AMATA ซื้อน้ำบางส่วนจาก EASTW และที่เหลือจากผู้ประกอบการอื่นและแหล่งน้ำของบริษัท โดยบริษัทเหล่านี้จะส่งต่อต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไปยังผู้ใช้ ดังนั้น จะไม่มีผลกระทบต่อผลประกอบการ สำหรับ TTW กปภ.จะรับผิดชอบต้นทุนน้ำดิบ จึงไม่มีผลกระทบ

• อื่นๆ (ยานยนต์, ธุรกิจการเกษตร, พาณิชย์, ก่อสร้าง, โรงพยาบาล, ICT, สื่อ, บรรจุภัณฑ์, เภสัข, ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์, ขนส่ง): จะไม่มีผลกระทบเนื่องจากเป็นการใช้นน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคของพนักงาน