จีนคุมโควิดได้หนุนยอดขายเครื่องดื่มแซงหน้าบะหมี่

จีนคุมโควิดได้หนุนยอดขายเครื่องดื่มแซงหน้าบะหมี่

รายงานวิจัยทางการตลาดล่าสุดสะท้อนว่ารสนิยมผู้บริโภคชาวจีนเปลี่ยนไป ในช่วงที่การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ลดความรุนแรงลง โดยชาวจีนหันมาบริโภคเครื่องดื่มมากกว่าบะหมี่ ทำให้เซคเมนท์ธุรกิจเครื่องดื่มโตแซงหน้ายอดขายบะหมี่

วามสะดวกสบายและรวดเร็วอย่างบะหมี่ก็ลดลง

“ติงยี โฮลดิงส์” ผู้ผลิตบะหมี่สำเร็จรูปรายใหญ่สุดของจีนเจ้าของแบรนด์มาสเตอร์คัง รายงานยอดขายบะหมี่สำเร็จรูปเพิ่มขึ้น 29% ในครึ่งแรกของปี2563เทียบกับปีก่อนหน้านี้ แต่รายงานรายได้ตลอดทั้งปีเมื่อวันจันทร์(22มี.ค.)แสดงให้เห็นว่ายอดขายบะหมี่เติบโตน้อยลงเหลือ 6.1% ในช่วงครึ่งหลังของปี

สวนทางกับคู่แข่งหลักอย่างยูนิ-เพรสซิเดนท์ ไชนา โฮลดิลส์ ที่รายงานผลประกอบการเมื่อวันศุกร์(19มี.ค.) โดยในเซคเมนท์อาหารของบริษัท ซึ่งประกอบด้วยบะหมี่สำเร็จรูปเป็นส่วนใหญ่เติบโตปีต่อปีเป็นตัวเลขสองหลัก แต่รายได้ในช่วงครึ่งปีหลังร่วงลง 0.4% หลังจากทะยาน 22% ในช่วงครึ่งแรกของปี

ผู้ผลิตอาหารชั้นนำทั้งสองแห่งรายงานต่างตัวเลขผลกำไรสำหรับปี2563สดใสขณะที่บริษัทอื่นๆทั่วโลกผลกำไรหดหายเพราะผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ติงยี่ รายงานรายได้ของกลุ่มบริษัทเพิ่มขึ้น 9.1% เป็น 67,610 ล้านหยวน (10,380 ล้านดอลลาร์)ขณะที่กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 22% เป็น 4,060 ล้านหยวน ยอดขายโดยรวมของยูนิ-เพรสซิเดนท์ขยายตัว 3.4% เป็น 22,760 ล้านหยวนและกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 19% เป็น 1,620 ล้านหยวน

ถือเป็นโชคดีสำหรับบริษัททั้งสองแห่งที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง อีกครึ่งที่เหลือของธุรกิจหลักของทั้งสองบริษัทคือเครื่องดื่มบรรจุกระป๋องและบรรจุขวด รวมทั้งชากระป๋อง กาแฟ น้ำผลไม้และน้ำดื่ม ขณะที่แฟรนไชส์เป็ปซี่ของติงยีฟื้นตัวอย่างรวดเร็วในช่วงครึ่งหลังของปีที่แล้วช่วยชดเชยความต้องการบะหมี่ที่หดหายไปได้

การบริโภคเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ลดลงอย่างมากในปีที่แล้วที่มีการล็อกดาวน์แต่ตอนนี้ผู้คนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ ความต้องการเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ก็เพิ่มขึ้น

ขณะที่ทั้งติงยีและยูนิ-เพรสซิเดนท์ ซึ่งต่างก็เป็นบริษัทสัญชาติไต้หวัน มองแนวโน้มธุรกิจในลักษณะคล้ายๆกัน

“ช่วงครึ่งหลังของปี2563ที่ยอดขายของธุรกิจบะหมี่สำเร็จรูปกลับมาอยู่ที่ระดับปกติและเซคเมนท์เครื่องดื่มก็คึกคักหลังจากปรับตัวร่วงลงเล็กน้อยในช่วงครึ่งแรกของปี2563” เว่ย หง-หมิง ประธานบริษัทติงยี กล่าว

ด้าน“โล ซี-เชียน” ประธานของยูนิ-เพรสซิเดนท์ ไชนา โฮลดิง อธิบายว่า ความกังวลเรื่องโรคระบาดทำให้ผู้บริโภคตระหนักถึงจุดเด่นด้านความปลอดภัยของบะหมี่สำเร็จรูป เมื่อรวมกับรสชาติที่อร่อยก็ช่วยให้ทุกแบรนด์เติบโตกันอย่างพร้อมเพรียง

ขณะที่ข้อมูลของบริษัทวิจัยนีลเส็น ระบุว่า ช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 ตลาดบะหมี่สำเร็จรูปในจีนขยายตัว 11.5%

แต่รูปแบบการบริโภคในจีนที่เปลี่ยนแปลงไปสะท้อนให้เห็นในผลประกอบการของบริษัทชั้นนำอื่นๆด้วยเช่นกันเช่นบริษัทนงชิม โฮลดิงส์ ของเกาหลีใต้ ซึ่งผลิตบะหมี่ชิน ราเมียน โดยสามารถทำยอดขายในจีนเพิ่มขึ้นกว่า 30% ในช่วงครึ่งแรกของปี แต่พอมาถึงช่วงครึ่งหลังของปีกลับลดลงเหลือโตแค่ 6% ส่วนนิชชิน ฟู้ดส์ ของญี่ปุ่นเติบโตลดลงในช่วงครึ่งหลัง โดยทั้งสองบริษัทมียอดขายในแต่ละปีในจีนแ่ผ่นดินใหญ่อยู่ที่ประมาณ 300 ล้านดอลลาร์

ขณะที่ธุรกิจแฟรนไชส์โคคา-โคลาของสไวร์ แปซิฟิกในจีนแผ่นดินใหญ่กลับมีการเติบโตตรงกันข้ามกับบริษัทบะหมี่ โดยยอดขายร่วงลง 1% ในช่วงครึ่งแรกของปีจากนั้นยอดขายช่วงเดือนก.ค.-ธ.ค.เพิ่มขึ้น 9%

การฟื้นตัวดังกล่าวเป็นสิ่งดีๆท่ามกลางวิกฤตสำหรับกลุ่มบริษัทฮ่องกงซึ่งบอบช้ำอย่างหนักจากการขาดทุนสุทธิเป็นเงิน 11,000 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง(1,420 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)ในปี 2563 สืบเนื่องจากผลประกอบการของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิกและธุรกิจให้บริการทางทะเลไม่เป็นไปตามเป้า

"แผนกเครื่องดื่มของสไวร์ แปซิฟิกแม้จะได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของโรคโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงต้นปี แต่ก็ฟื้นตัวได้เร็ว โดยเฉพาะในจีนแผ่นดินใหญ่"เมอร์ลิน สไวร์ ประธานบริษัทกล่าว

บริษัทยังบริหารจัดการธุรกิจโคคา-โคลาใน11 มณฑลและนครเซี่ยงไฮ้ ซึ่งมียอดขายประมาณครึ่งหนึ่งของยอดขายในธุรกิจเครื่องดื่มที่เมื่อปีที่แล้ว ทำรายได้กว่า 2,000 ล้านดอลลาร์ฮ่องกงและบริษัทยังมีธุรกิจในฮ่องกง ไต้หวััน กับบางส่วนในสหรัฐ