สร้างศักยภาพการแข่งขัน  จาก circular economy

การกีดกันทางการค้าแบบภาษีและแบบไม่ใช่ภาษี ไม่ใช่เรื่องใหม่ของการค้าระหว่างประเทศ เพื่อลดการแข่งขันของคู่แข่งหรือผู้ที่ต้องการจะส่งสินค้าเข้าไปในประเทศ

การกีดกันทางการค้าแบบภาษีและแบบไม่ใช่ภาษี ไม่ใช่เรื่องใหม่ของการค้าระหว่างประเทศ เพื่อลดการแข่งขันของคู่แข่งหรือผู้ที่ต้องการจะส่งสินค้าเข้าไปในประเทศ ในระยะหลังการกีดกันทางการค้าที่ถูกนำมาใช้นั้นคือ มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (non-tariff barrier) การกีดการทางการค้านั้น มีหลายประเภท แต่ระยะหลังมีการกีดกันทางการค้าแบบไม่ใช่ภาษีมาใช้ เพื่อลดการต่อต้านการแข่งที่ไม่เป็นธรรม โดยการนำเรื่อง มนุษยธรรม ความปลอดภัย และ สิ่งแวดล้อม และอื่นๆ มาเป็นประเด็นในการกีดกันทางการค้า โดยมาตรฐานที่มีแนวโน้มที่จะนำมาใช้คือ มาตรฐานที่จะนำมาใช้นั้นที่เกี่ยวโยงต่อการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายใต้หลักความคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy)

ประเด็นสำคัญ คือ ไทยจะเตรียมความพร้อมประเทศอย่างไรเพื่อก้าวเข้าสู่ Circular Economy รัฐบาลได้มีเตรียมความพร้อมด้วยการบูรณาการพัฒนาเศรษฐกิจแบบ 3 มิติ ภายใต้ BCG Model ซึ่งประกอบไปด้วย เศรษฐกิจชีวภาพ(Bioeconomy) เศรษฐกิจสีเขียว(Green Economy) และ เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ และมีนโยบายเพื่อก้าวเข้าสู่ Circular Economy

สกพอ. มุ่งเน้นแนวทางการกำจัดขยะแบบครบวงจร การจัดการน้ำ การลดก๊าซเรือนกระจก ดังนั้น นโยบายของ สกพอ. จึงกำหนดการทำงานไว้ 86 โครงการ งบประมาณอยู่ที่ 13,572 ล้านบาท และโครงการส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนเกี่ยวกับศูนย์กำจัดขยะ การเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสีย

แต่นโยบายการตั้งรับเชิงรุกเพื่อเตรียมความพร้อมศักยภาพอุตสหกรรมที่สามารถส่งออกได้นั้น เรามีมากน้อยเพียงใด เราได้ตรียมความพร้อมเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศมากน้อยเพียงได้ เรามีการสนับเพิ่มศักยภาพของธุรกิจเศรษฐกิจหมุนเวียนมากน้อยเพียงได้ เรามีการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อธุรกิจเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างไร แล้วเศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy) เชิงนโยบายเชิงรุกคืออะไร เศรษฐกิจหมุนเวียนไม่ใช่หลักการของการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่เป็นหลักการที่สามารถนำทรัพยากรกลับเวียนใช้ซ้ำให้คุ้มค่าอย่างสูงสุด ซึ่งเป็นหลักที่เป็นประโยชน์ที่สามารถตอบโจทย์ปัญหาของสิ่งแวดล้อมได้ด้านหนึ่ง

การเกิดของธุรกิจเศรษฐกิจหมุนเวียนจะไม่เพียงลดขยะ แต่ยังสร้างมูลค่าของขยะ และยังเป็นมิตรดีต่อสิ่งแวดล้อมต่อประเทศและโลก แต่ก็ยังมีอีกแง่มุมหนึ่ง ที่บางประเทศอาจจะหยิบขึ้นมาใช้เป็นเครื่องกีดกันทางการค้าที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ ภายด้านหลักการของสิ่งแวดล้อม เช่น ถ้าหากเกิดมีมาตรการกำหนดสัดส่วนของวัสดุที่ใช้ในการผลิตสินค้าต้องเป็นวัสดุที่กลับมาใช้ที่ 20% หรือ 40% 

หากอุตสาหกรรมในประเทศไทยไม่สามารถทำได้ตามมาตรการที่กำหนดไว้ ก็หมายถึงไม่สามารถส่งออกสินค้านั้นได้ ดังนั้นการให้ความสำคัญของพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียนคือการเพิ่มขีดความสามารถของประเทศและตอบโจทย์การพัฒนาแบบยั่งยืน การพิจารณาให้ความสำคัญของวัตถุดิบ (raw material) เพื่อตั้งรับการกำหนดมาตรฐานสินค้าเพื่อความยั่งยืน ดังนั้นเราควรพิจารณนโยบายเชิงรุกและการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีธุรกิจเศรษฐกิจหมุนเวียน และสิ่งที่สำคัญคือพิจารณาส่งเสริมการบริโภคสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมพร้อมกับส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเศรษฐกิจหวุนเวียน เพื่อให้เป็น smart EEC ที่เพื่อ people planet and prosperity for All