รู้จัก'พิศาล-เนาวรัตน์' 2ส.ว.ผู้โหวตหนุน'ร่างรธน'

รู้จัก'พิศาล-เนาวรัตน์'  2ส.ว.ผู้โหวตหนุน'ร่างรธน'

รู้จัก"2ส.ว." ผู้ฝ่าดง "ตระกูลป." โหวตลงมติเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ สวนทางสมาชิก "สภาสูง" ส่วนใหญ่

ควันหลงหลังการ “โหวตคว่ำ” ร่างรัฐธรรมนูญในวาระ3 ของสมาชิกรัฐสภา เมื่อกลางดึกของวันที่17มี.ค.ที่ผ่านมา ส่งผลให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญซึ่งผ่านชั้นรับหลักการ วาระแรก และการลงมติเป็นรายมาตราในวาระ2 เป็นอันต้องตกไป และจะต้องกลับไป “เริ่มนับหนึ่ง”กระบวนการแก้ไขใหม่ทั้งหมด

คะแนนโหวตที่ออกมา นอกเหนือจากเสียงสนับสนุนจากส.ส.ที่ไม่ถึงกึ่งหนึ่งแล้ว ยังไร้ซึ่ง 84เสียงส.ว.” ตามที่กฎหมายกำหนด

แต่ที่น่าสนใจคือ จำนวนนี้มี2เสียงส.ว.” ที่โหวต”เห็นชอบ” ในวาระ3 สวนทางกับส.ว.อีก248คนที่ “ไม่แสดงตัว” หรือ “ไม่ประสงค์ลงคะแนน”

“กรุงเทพธุรกิจ” พาไปทำความรู้จักกับวุฒิสมาชิกทั้ง2คน

คนแรกคือ “เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์”  ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปีพุทธศักราช 2536 กวีรางวัลซีไรต์ และยังเป็นเจ้าของฉายา "กวีรัตนโกสินทร์"

สำหรับบทบาทการเมืองของ “กวีรัตนโกสินทร์” ผู้นี้ เริ่มมีบทบาทตั้งแต่ปี 2553 สมัยสมัชชาปฏิรูปประเทศที่มีนายปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี และนพ.ประเวศ วะสี  เป็นประธาน ถูกชักชวนให้เข้ามาทำเรื่องปฏิรูปงานศิลปวัฒนธรรม

ขณะที่การชุมนุมกลุ่มกปปส.ในช่วงปี2556-2557 “อ.เนาวรัตน์”  ยังร่วมขึ้นเวลาปราศัยอยู่บ่อยครั้ง

ก่อนที่จะสวมสูทเข้าสภาฯในฐานะสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และได้รับการแต่งตั้งเป็นส.ว.ชุด2562 ภายหลังจากการจัดตั้งรัฐบาลพรรคพลังประชารัฐ ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี

 และแม้ในช่วงที่ผ่านมาจะถูกกล่าวหาด้วยถ้อยคำที่ค่อนข้างรุนแรงว่าเป็น “กวีรับใช้เผด็จการ” อันมีผลมาจากอุดมการณ์เปลี่ยนไป จากเคยต่อสู้กับเผด็จการทหารยุค 6 ตุลาฯ 2519

แต่ “อ.เนาวรัตน์” ก็ตอบเรื่องนี้ในทำนองที่ว่า บริทการเมืองในยุค2519 ต่างไปจากบริบทการเมืองยุคนี้ ที่ไม่ได้มีแต่ “เผด็จการทหาร” แต่รวมไปถึง “เผด็จการเลือกตั้ง” จนกลายเป็นเผด็จการรัฐสภา

หากยังจำได้ ในการโหวตร่างรัฐธรรมนูญในวาระแรก เมื่อช่วงปลายปี2563 “อ.เนาวรัตน์” ผู้นี้ยังเป็น1ใน3 ส.ว.ที่ลงมติสวนทางกับแนวทางของวุฒิสมาชิกส่วนใหญ่ โดยลงมติ “รับหลักการ” ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง7ฉบับ

โดยเฉพาะร่างแก้ไข ฉบับประชาชนที่เสนอโดยโครงการอินเทอร์เนตกฎหมายเพื่อประชาชนหรือร่างไอลอว์

โดยครั้งนั้นส.ว.ผู้นี้ระบุว่า "ต้องการให้ทุกคนเห็นว่า ส.ว.มีเอกสิทธิ ไม่อยู่ใต้อำนาจใคร"

อีกทั้งต้องการให้เกียรติและเปิดโอกาสให้ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ที่มีการเข้าชื่อจากประชาชนเกือบ 1 แสนรายชื่อ และมีประชาชนเป็นผู้ชี้แจงต่อการอภิปรายรัฐสภา  ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีร่างฉบับประชาชนเสนอเข้าสู่สภา

161606328718

ไม่ต่างไปจาก “พิศาล มาณวพัฒน์”  อีกหนึ่งส.ว.ที่ลงติ “เห็นชอบ” ร่างรัฐธรรมนูญที่ถูกตีตกไป

โดยเส้นทางก่อนมาเป็นสมาชิกวุฒิสภา “ส.ว.พิศาล” ผู้นี้ เคยรับราชการ และเป็นลูกหม้อกระทรวงบัวแก้ว (กระทรวงการต่างประเทศ) เริ่มรับราชการที่สำนักงานเลขาธิการอาเซียน หรือกรมอาเซียนในปัจจุบัน

 ต่อมาย้ายไปกรมการเมืองดำรงตะแหน่งสำคัญอาทิ เลขานุการปลัดกระทรวงฯ ก่อนออกประจำการครั้งแรกที่ กรุงวอชิงตัน ดีซี ( 2529-2533)

ในปี 2534-2535 เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายอาสา สารสิน) ก่อนไปประจำการที่สถานทูตไทยประจำประเทศมาเลเซียในปี 2538 ได้เป็นผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่และฝึกอบรม

จากนั้นได้เลื่อนเป็นรองอธิบดีกรมเอเซียตะวันออก ประจำการเป็นอัครราชทูต ที่กรุงโตเกียว (2542-2545)

ในปี 2545  ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเอกอัครราชทูตประจำกระทรวงฯ  ดูแลการปฏิรูประบบราชการไทยในต่างประเทศ

ก่อนดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ในช่วง 2547- 2550 ดูแลความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยกับทุกประเทศ

161606313199

กระทั่งปี2558 ในยุครัฐบาลคสช..ส.ว.พิศาลผู้นี้พ้นจากตําแหน่ง เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอํานาจเต็มประจําแคนาดา และแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอํานาจเต็มประจําสหรัฐอเมริกา ตำแหน่งสุดท้ายในชีวิตราชการ  ก่อนได้รับการแต่งตั้งเป็นส.ว.ในท้ายที่สุด

อย่างไรก็ดีในการโหวตร่างรัฐธรรมนูญในวาระแรก นอกเหนือจากอ.เนาวรัตน์ และส.ว.พีรศักดิ์ พอจิต แล้ว “ส.ว.พิศาล” ผู้นี้ยังเป็น1ใน3 ส.ว.ที่ลงมติ “รับหลักการ” 7ร่างแก้ไข สวนทางกับแนวทางของวุฒิสมาชิกส่วนใหญ่เช่นเดียวกัน

อาจด้วยอุปนิสัยส่วนตัวที่คนหนึ่งเป็น “ศิลปิน” และยังผ่านห้วงการเมืองมาหลายุคหลายสมัย ขณะที่อีกคนเป็น “นักการทูต” ซึ่งผ่านงานที่ต้องพบปะเจรจากลุ่มคนกลายกลุ่มหลายขั้ว

จากบุคคลิกที่เชื่อมั่นในความคิด เป็นตัวของตัวเอง หรือบางคนอาจจะใช้คำว่า”อีโก้”นี้เอง

จึงไม่แปลกที่เขาทั้ง2คนจะเลือกที่จะฝ่าดง”ตระกูลป.” โหวต “เห็นชอบ” ร่างรัฐธรรมนูญสวนทางกับท่าทีสว.ส่วนใหญ่!!