สำรวจ 'หุ้นไทย' เปิดขาย 'IPO' ท่ามกลางวิกฤติโควิด-19

สำรวจ 'หุ้นไทย' เปิดขาย 'IPO' ท่ามกลางวิกฤติโควิด-19

กางบัญชีบริษัทเปิด IPO ในตลาดหุ้นไทย ทั้ง SET และ mai ท่ามกลางวิกฤติโควิด-19 ในปี 2563 และที่กำลังเตรียมเปิด IPO ของในปี 2564 นี้

ท่ามกลางวิกฤติ โควิด-19 การแพร่ระบาดของโรคระบาดครั้งนี้เกิดขึ้นยาวนานต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2563 ยาวเรื่อยมาถึงปัจจุบันปี 2564 แม้บางช่วงสถานการณ์เริ่มคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ยังพบคลัสเตอร์แพร่ระบาดใหม่ๆ ซึ่งส่งผลให้รัฐต้องออกมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด ภาคธุรกิจและเศรษฐกิจต่างได้รับผลพวง บางส่วนต้องปิดกิจการเป็นการชั่วคราว หรือบางส่วนต้องล้มหายตายจากระบบเศรษฐกิจไป

ขณะเดียวกันนั้น บางธุรกิจกลับเติบโตขึ้น หรือยังคงดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง จากการปรับตัวที่ทันต่อวิกฤติ เช่นเดียวกับ 32 บริษัท ที่ในช่วงวิกฤติได้เปิดเสนอขายหุ้น IPO (Initial Public Offering) หรือการเปิดขายหุ้นให้ประชาชนเป็นครั้งแรก และยังมีอีกกว่า 20 บริษัทที่เตรียมพิจารณาการเปิดเสนอขายหุ้น IPO นับว่าในวงการตลาดหุ้นไทยยังคงคึกคัก

ข้อมูลของ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) หากไล่เรียงตั้งแต่ต้นปี 2563 ที่ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่เริ่มระบาดหลายพื้นที่ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย บริษัทที่เริ่ม IPO เป็นรายแรก คือ บริษัท อิ๊กดราชิล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ YGG บริษัทออกแบบและจัดทำคอมพิวเตอร์กราฟฟิกเกี่ยวกับงานโฆษณา ภาพยนตร์ และเกม ที่เริ่มเปิดเสนอขายหุ้นตั้งแต่ช่วงปลายเดือนธันวาคม 2562 ในราคาหุ้นละ 5 บาท ทั้งหมด 180 ล้านหุ้น และเริ่มซื้อขายวันที่ 7 มกราคม 2563 ซึ่งทำราคาเหนือจอง อยู่ที่ 6.10 บาทต่อหุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วนเพิ่มขึ้น 22%

หลังจากนั้นก็มีบริษัทที่เปิด IPO เสนอขายหุ้นเป็นครั้งแรกอีกหลายบริษัทไล่เรียงมาต่อเนื่องจนถึงล่าสุด คือ บริษัท โรจูคิส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ KISS บริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการพัฒนา จ้างผลิต และจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ฯลฯ โดยเปิดราคาเสนอขายหุ้นละ 9 บาท และเริ่มเปิดซื้อขาย 19 ..2564 โดยทำราคาเหนือจองที่ 14 บาทต่อหุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วนเพิ่มขึ้น 55.56%

นอกจากนี้ยังมีการเสนอขายหุ้นของบริษัทอื่นๆ ทั้งบริษัที่ระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ซึ่งเป็นแหล่งระดมทุนของบริษัทที่มีขนาดใหญ่ โดยจะมีทุนชำระแล้วหลัง IPO ตั้งแต่ 300 ล้านบาทขึ้นไป และใน mai ซึ่งเป็นแหล่งระดมทุนของธุรกิจที่มีศักยภาพขนาดกลางและเล็ก ซึ่งมีทุนชำระแล้วหลัง IPO ตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป โดยมีบริษัทที่น่าสนใจ (ไม่ใช่หุ้น IPO ทั้งหมดที่เข้าตลาดฯ ช่วงโควิด-19) ดังต่อไปนี้

  

  • บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CRC

CRC เป็นบริษัทที่หลายคนคุ้นเคยเป็นอย่างดี บริษัท เซ็นทรัล รีเทลฯ นั้นประกอบธุรกิจโดยการเข้าไปถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ซึ่งประกอบธุรกิจค้าปลีกทั้งในและต่างประเทศ โดยดำเนินธุรกิจใน 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ 

  • กลุ่มแฟชั่น ภายใต้แบรนด์ค้าปลีกต่างๆ เช่น ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล 23 สาขา, ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน และโรบินสันไลฟ์สไตล์ เซ็นเตอร์ 50 สาขา รวมถึงซูเปอร์สปอร์ต 232 สาขา, Central Marketing Group 276 สาขา และรีนาเซนเต 9 สาขา 
  • กลุ่มฮาร์ดไลน์ กลุ่มนี้จะมุ่งเน้นการจำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ สินค้าตกแต่งและปรับปรุงบ้าน ภายใต้แบรนด์ค้าปลีกต่างๆ เช่น ไทวัสดุ และบ้าน แอนด์ บียอนด์ รวม 59 สาขา , เพาเวอร์บาย 114 สาขา และเหงียนคิม 59 สาขา 
  • กลุ่มฟู้ด จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค ภายใต้แบรนด์ค้าปลีกต่างๆ เช่น ท็อปส์, เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์, แฟมิลี่มาร์ท, บิ๊กซี เวียดนาม, และลานซี มาร์ท 

ในช่วงปี 2563 ที่ผ่านมา CRC ได้เปิด IPO โดยกำหนดราคาไว้ที่หุ้นละ 42 บาท ทั้งหมด 1,691 ล้านหุ้น และเริ่มมีการซื้อขายวันที่ 20 ..2564 ปิดตลาดวันแรกที่ 41.75 บาทต่อหุ้น ต่ำกว่าราคาจอง 0.60%

ซึ่งหากกางบัญชีช่วง 9 เดือนของปี 2563 บริษัทมีรายได้รวมอยู่ที่ 1.43 แสนล้านบาท แต่ขาดทุนสุทธิ 760 ล้านบาท ซึ่งเป็นทิศทางรายได้ที่ลดลงนั้นเนื่องจากปัจจัยลบมาจากสถานการณ์โควิด-19 โดยปี 2562 บริษัทมีรายได้รวม 1.59 แสนล้านบาท ทำกำไรสุทธิไป 5,860 ล้านบาท 

แต่ในช่วงเดียวกันบริษัทยังเดินหน้าลงทุนอย่างต่อเนื่อง เช่น การเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัท ซีโอแอล จำกัด (มหาชน) หรือ COL ประกอบด้วย ออฟฟิศเมท บีทูเอส และเมพ ช่วงเดือนกันยายน 2563 เข้ามาเสริมพอร์ตธุรกิจกลุ่มฮาร์ดไลน์ของ CRC การเปิด GO! Mall เพิ่ม 4 สาขา ในเวียดนาม เป็นต้น

    

  •  บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR 

อีกหนึ่งบริษัทที่เมื่อมีกระแสข่าวว่าเตรียมเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้รับการกระจายหุ้นอย่างทั่วถึง หรือใช้วิธีการจัดสรรหุ้นแบบ Small Lot First ก็ได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างดี จนทำให้ระบบการจองหุ้นล่มทั้ง 3 ธนาคาร

คำถามคือ ทำไมหุ้น OR ถึงน่าสนใจและใครๆ ก็อยากซื้อ?

อย่างแรกคงต้องยอมรับว่าเป็นธุรกิจที่ผู้คนมีความคุ้นเคยกันมานาน ทั้งธุรกิจหลักอย่างค้าปลีกน้ำมันภายใต้แบรนด์ PTT Station ที่มีมากถึง 1,988 สาขา (ข้อมูล ณ 30 ก.ย.63) ดำเนินธุรกิจมานานถึง 26 ปี ขณะที่ธุรกิจค้าปลีก โดยเฉพาะร้าน Cafe Amazon ที่มียอดเฉลี่ยของการเข้ามาใช้บริการราวๆ 3 ล้านคนต่อวัน ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ 30 ก.ย.63) มีสาขา 3,168 แห่ง นอกจากนี้ยังมีธุรกิจในต่างประเทศด้วย

ในแง่ของรายได้ผลประกอบการนั้น แม้เป็นปีที่ต้องเผชิญวิกฤติโควิด-19 หากย้อนดูตัวเองในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2563 จะพบว่าทำยอดขายไปได้ 319,308 ล้านบาท ขณะที่กำไรในรูปแบบ Ebitda หรือกำไรก่อนหักภาษี ค่าเสื่อมราคา และดอกเบี้ยนั้น อยู่ที่ 12,523 ล้านบาท แบ่งเป็นสัดส่วนจากกลุ่มธุรกิจน้ำมัน 68% กลุ่มค้าปลีก 25% ในต่างประเทศ 5.8% ในส่วนของกำไรสุทธิอยู่ที่ 5,869 ล้านบาท

    

  •  บริษัท ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ STGT 

บริษัท ศรีตรังโกลฟส์ฯ 1 ใน 5 เสือยางพาราของไทย และเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับอานิสงส์จากวิกฤติโรคระบาด เนื่องจากศรีตรังเป็น "ผู้ผลิตถุงมือยาง" อันดับ 1 ของประเทศไทย และส่งออกไปมากกว่า 145 ประเทศ โดยผลิตภัณฑ์ถุงมือยางตอบอุตสาหกรรมที่หลากหลาย เช่น อุตสาหกรรมด้านอาหาร ทางการแพทย์ เป็นต้น 

โดย STGT เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่เปิดเสนอขายหุ้น IPO ช่วงวันที่ 23-25 มิ..2564 โดยเสนอขายในราคาหุ้นละ 34 บาท ทั้งหมด 438.78 ล้านหุ้น โดยเริ่มมีการซื้อขายในวันที่ 2 ..2563 ปิดตลาดวันแรกที่ราคา 60.50 บาทต่อหุ้น เพิ่มขึ้นจากราคาไอพีโอ กว่า 77.94% 

โดยระบุถึงวัตถุประสงค์ขยายกำลังการผลิตการปรับปรุงประสิทธิภาพและการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตถุงมือยาง และเพื่อลงทุนในโครงการต่างๆ ซึ่งข้อมูล วันที่ 31 มี..2564 บริษัทมีกำลังการผลิตรวมทั้งหมด 32,619 ล้านชิ้นต่อปี 

ทั้งนี้ในแง่ของรายได้รวมปี 2563 บริษัทมีรายได้ราว 30,853.73 ล้านบาท ทำกำไรสุทธิไป 14,400.87 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2562 

   

  

  •  บริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEX

อีกหนึ่งบริษัทที่น่าจับตามองไม่น้อย เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาอุตสาหกรรมโลจิสติกส์เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะช่วงโควิด-19 ที่กิจการและกิจกรรมต่างๆ ไม่สามารถดำเนินการได้ ผู้คนเปลี่ยนพฤติกรรมสู่การซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น ซึ่ง เคอรี่ (KERRY) เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่เติบโตเช่นกัน โดยภาพรวมรายได้ของเคอรี่ปี 2563 อยู่ที่ 19,010.05 ล้านบาท ทำกำไรสุทธิ 1,405.02 ล้านบาท 

โดย KEX ได้เปิด IPO เป็นครั้งแรกในปี 2563 ในราคา 28 บาท จำนวนทั้งหมด 300 ล้านหุ้น และได้รับความสนใจอย่างมากจากนักลงทุนประชาชนทั่วไปและสถาบัน โดยในวันเปิดเทรดวันแรก 24 ..2563 ราคาเปิดสูงเหนือจองอยู่ที่ 51.25 บาทต่อหุ้น หรือเพิ่มขึ้น 83.04% 

ทั้งนี้ KEX มีแผนสำหรับการเปิด IPO ในการขยายเครือข่ายจัดส่งพัสดุด่วน รวมถึงนำไปลงทุนในระบบการขนส่งเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มูลค่า 4,370 ล้านบาท ช่วงปี 2564-2566 ขณะที่อีก 800 ล้านบาท นำไปคืนหนี้สถาบันการเงินในช่วงปี 2564-2565 และส่วนที่เหลือจะใช้เป็นเงินหมุนเวียนในธุรกิจ 

อย่างไรก็ตามข้อมูลเว็บไซต์ settrade ยังระบุถึงหุ้น IPO บริษัทที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคำขอจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  (Upcoming IPO) ข้อมูล วันที่ 14 เม.ย. 2564 ได้แก่

  

  SET  

1. ASW: บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) 

ประเภทธุรกิจ : ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ซึ่งบริษัทย่อยประกอบธุรกิจหลักได้แก่ธุรกิจพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์เพื่ออยู่อาศัย ทั้งโครงการอาคารชุดที่พักอาศัยประเภทคอนโดมิเนียม และโครงการอสังหาริมทรัพย์ประเภทแนวราบ รวมไปถึงธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัย

ระยะเวลาเสนอขายหุ้น : 19 – 21 เมษายน 2564

ราคา IPO : 9.82 บาท

 

2. DMT ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน)

ประเภทธุรกิจ :  ประกอบธุรกิจบริหารโครงการสัมปทานทางยกระดับดอนเมืองช่วงดินแดงจนถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ระยะทางประมาณ 21.9 กิโลเมตร

ระยะเวลาเสนอขายหุ้น : n/a

ราคา IPO : n/a

 

3. MENA บริษัท มีนาทรานสปอร์ต จำกัด (มหาชน)

ประเภทธุรกิจ :  ประกอบธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าด้วยรถลากจูงหรือรถเทรลเลอร์ (Trailer) ให้บริการขนส่งคอนกรีตผสมเสร็จด้วยรถผสมคอนกรีตหรือรถมิกเซอร์ (Mixer) และการขายสินค้าวัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์ และเครื่องมือเครื่องใช้ในการก่อสร้าง

ระยะเวลาเสนอขายหุ้น : n/a

ราคา : IPO n/a

 

4. NSL บริษัท เอ็นเอสแอล ฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) 

ประเภทธุรกิจ : ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายสินค้าเบเกอรี่และอาหารรองท้อง, ขนมขบเคี้ยวหรือ “Snack” และธุรกิจ Food Services (การแปรรูปเนื้อสัตว์)

ระยะเวลาเสนอขายหุ้น : n/a

ราคา IPO : n/a

 

5. TIDLOR บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน)

ประเภทธุรกิจ : ให้บริการสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกันแบบครบวงจร (รถจักรยานยนต์ รถยนต์ รถบรรทุก รถไถ และรถแทรกเตอร์) สินเชื่อเช่าซื้อรถบรรทุกมือสอง และบริการนายหน้าประกันภัยและประกันชีวิต ภายใต้ชื่อแบรนด์ “เงินติดล้อ” ซึ่งเป็น Non-bank ที่ ธปท. กำกับดูแล

ระยะเวลาเสนอขายหุ้น : n/a

ราคา IPO : n/a

  

6. AMR : บริษัท  เอเอ็มอาร์ เอเซีย จำกัด (มหาชน)

ประเภทธุรกิจ : บริษัทดำเนินธุรกิจด้านวิศวกรรมออกแบบ วางระบบเดินรถไฟฟ้าและระบบขนส่งมวลชนสมัยใหม่ และเชื่อมต่อระบบไอทีโซลูชั่น (System Integrator: SI) รวมถึงให้บริการงานดูแลรักษาและซ่อมบำรุงระบบเทคโนโลยีแบบครบวงจร

ระยะเวลาเสนอขายหุ้น : n/a

ราคา IPO : n/a

  

7. CIVIL บริษัท ซีวิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน)

ประเภทธุรกิจ : บริษัทประกอบธุรกิจหลัก 3 ประเภท ได้แก่ (1) ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างงานโครงการในแนวราบ เช่น งานทาง งานท่าอากาศยาน งานทางรถไฟ และงานเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ (2) ธุรกิจจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง เช่น ชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปและวัสดุก่อสร้างต่างๆ และ (3) ธุรกิจให้เช่าและบริการอสังหาริมทรัพย์ เครื่องจักรและอุปกรณ์ก่อสร้าง

ระยะเวลาเสนอขายหุ้น :  n/a

ราคา IPO : n/a

8. SNNP บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน)

ประเภทธุรกิจ :  ธุรกิจผลิต จำหน่ายเครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยว เช่น เยลลี่พร้อมดื่ม เครื่องดื่ม ปลาหมึก ปลาเส้น ขนมปังขาไก่

ระยะเวลาเสนอขายหุ้น : n/a

ราคา IPO : n/a

  

9. STECH : บริษัท สยามเทคนิคคอนกรีต จำกัด (มหาชน) 

ประเภทธุรกิจ : 

1. ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์คอนกรีตอัดแรงภายใต้เครื่องหมายการค้า “STEC” ได้แก่  เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง เสาไฟฟ้าคอนกรีตอัดแรง และผลิตภัณฑ์คอนกรีตอัดแรงต่างๆ ให้แก่ภาครัฐบาลและเอกชน ตลอดจนให้บริการขนส่งผลิตภัณฑ์และบริการตอกเสาเข็ม

2. ให้บริการรับเหมาก่อสร้างเฉพาะกรณีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักของบริษัทฯ หรืองานก่อสร้างที่บริษัทฯ มีผลงานและประสบการณ์ ได้แก่ งานติดตั้งระบบสายส่งไฟฟ้าแรงสูง และงานออกแบบ จัดหาพร้อมติดตั้งเคเบิลใยแก้วนำแสง

ระยะเวลาเสนอขายหุ้น : n/a

ราคา IPO : n/a

   

  mai  

10.  NFSC บริษัท เอ็นฟอร์ซ ซีเคียว จำกัด (มหาชน)

ประเภทธุรกิจ : ตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์โซลูชั่นด้านการรักษาความปลอดภัยทางเทคโนโลยีไซเบอร์ (Cybersecurity) และให้บริการที่เกี่ยวข้อง

ผลิตภัณฑ์ที่บริษัทเป็นตัวแทนจำหน่ายแบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่

1. ระบบรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์ผู้ใช้งานโดยตรง (End Point Security)
2. ระบบรักษาความปลอดภัยบนเครือข่าย (Network Security)  
3. ระบบการบริหารจัดการประสิทธิภาพ (Network Performance and Monitoring)
4. ระบบหรือซอฟต์แวร์อื่นๆ ได้แก่ ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสข้อมูล (Encryption Solution) ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการยืนยันและระบุตัวตน (Authentication) และซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บข้อมูล (Archiving) เป็นต้น 

ระยะเวลาเสนอขายหุ้น : n/a 

ราคา IPO : n/a

    

11. PROEN บริษัท โปรเอ็น คอร์ป จำกัด (มหาชน)

ประเภทธุรกิจ : 

1) ธุรกิจเทคโนโลยีและการสื่อสาร (Information Communication and Technolgy: ICT) และให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศด้านศูนย์ข้อมูล Data Center และบริการอินเทอร์เน็ต ISP และบริการคลาวด์ (Could service)
2) ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างสำหรับงานโทรคมนาคมและสาธารณูปโภคพื้นฐาน (Telecommunication and Infrastructure Service)

ระยะเวลาเสนอขายหุ้น : n/a 

ราคา IPO : n/a

   

12. PROS บริษัท พรอสเพอร์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน)

ประเภทธุรกิจ : บริการรับเหมาติดตั้งงานระบบวิศวกรรมประกอบอาคาร

ระยะเวลาเสนอขายหุ้น : n/a 

ราคา IPO : n/a

13. ADD บริษัท แอดเทค ฮับ จำกัด (มหาชน)

ประเภทธุรกิจ : ให้บริการระบบสนับสนุนบริการดิจิทัลคอนเทนต์  พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ แก่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่  และประกอบธุรกิจสื่อและโฆษณาออนไลน์บนแพลตฟอร์มของกลุ่มบริษัทเอง

ระยะเวลาเสนอขายหุ้น : n/a 

ราคา IPO : n/a

14. DITTO บริษัท ดิทโต้ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน)

ประเภทธุรกิจ : 

1) จำหน่ายและให้บริการด้านระบบบริหารจัดการเอกสาร เครื่องถ่ายเอกสาร และเครื่องพิมพ์ อย่างครบวงจร (Document Management Solution) 

2) รับเหมาวิศวกรรมด้านเทคโนโลยีสำหรับโครงการของหน่วยงานราชการต่างๆ

ระยะเวลาเสนอขายหุ้น : n/a 

ราคา IPO : n/a

15. SMD บริษัท เซนต์เมด จำกัด (มหาชน)

ประเภทธุรกิจ : จำหน่ายเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยบริษัทนำเข้าเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์จากผู้ผลิตต่างประเทศ เพื่อจัดจำหน่ายให้แก่บุคคลทั่วไปและสถานพยาบาลชั้นนำในประเทศ มีกลุ่มสินค้าที่เป็นตัวแทนจำหน่าย 6 ประเภท ได้แก่ กลุ่มสินค้าด้านเวชบำบัดวิกฤต กลุ่มสินค้าด้านการช่วยหายใจและเวชศาสตร์การนอนหลับ กลุ่มสินค้าด้านหทัยวิทยา กลุ่มเครื่องมือแพทย์ทั่วไป กลุ่มสินค้าสมาร์ทฮอสพิทอล และกลุ่มอื่นๆ

ระยะเวลาเสนอขายหุ้น : n/a 

ราคา IPO : n/a

  

16. WINMED บริษัท วินเนอร์ยี่ เมดิคอล จำกัด (มหาชน)

ประเภทธุรกิจ : จำหน่ายเครื่องและชุดอุปกรณ์สำหรับการเก็บ การตรวจวิเคราะห์ วินิจฉัย และการบำบัดรักษาทางการแพทย์ที่นำเข้าจากผู้ผลิตชั้นนำในต่างประเทศ และเป็นตัวแทนของบริษัทผู้ให้บริการตรวจวินิจฉัยด้านพันธุศาสตร์จากต่างประเทศ สำหรับการให้บริการตรวจสารพันธุกรรมและความผิดปกติของทารกในครรภ์ รวมถึงมีบริษัทย่อยประกอบธุรกิจจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ที่เกี่ยวกับสุขภาพและสุขอนามัย

ระยะเวลาเสนอขายหุ้น : n/a 

ราคา IPO : n/a

 

  REIT  

17. BGREIT ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ บี แอนด์ จี

สินทรัพย์ลงทุน : สิทธิการเช่าในพื้นที่อาคาร พื้นที่ส่วนกลาง พื้นที่จอดรถ และงานระบบของโครงการอินเตอร์เชนจ 21 ซึ่งเป็นโครงการอาคารสำนักงานและร้านค้าปลีกให้เช่า และกรรมสิทธิ์ในสังหาริมทรัพย์และอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินกิจการโครงการอินเตอร์เชนจ 21 ทั้งหมดเป็นระยะเวลา 25 ปี นับจากวันที่กองทรัสต์เข้าลงทุน

ระยะเวลาเสนอขาย : n/a

ราคาเสนอขายหน่วยทรัสต์ : n/a

18. KTBSTMR : ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ เคทีบีเอสที มิกซ์ 

สินทรัพย์ลงทุน : สิทธิการเช่าช่วงที่ดินและอาคาร 5 โครงการ ได้แก่ โครงการริช แอสเซ็ท โครงการเอสที บางบ่อ โครงการเอสที บางปะอิน โครงการซัมเมอร์ฮับ และโครงการซัมเมอร์ฮิลล์

ระยะเวลาเสนอขาย : 17 – 21 พฤษภาคม 2564

ราคาเสนอขายหน่วยทรัสต์ : 10 บาท

  

19. SPALIRT ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ศุภาลัย

สินทรัพย์ลงทุน : กรรมสิทธิ์ในที่ดิน อาคารและส่วนควบ รวมถึงสังหาริมทรัพย์อื่นๆ ของโครงการศุภาลัย แกรนด์ ทาวเวอร์

ระยะเวลาเสนอขาย : n/a

ราคาเสนอขายหน่วยทรัสต์ : n/a

20. GROREIT : ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ แกรนด์ รอยัล ออคิด โฮสพีทาลิตี้ ที่มีข้อตกลงในการซื้อคืน

สินทรัพย์ลงทุน : ลงทุนในกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์โครงการโรงแรมรอยัล ออคิด เชอราตัน โฮเทล แอนด์ ทาวเวอร์ส โดยมีข้อกำหนดให้เจ้าของเดิมหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันซื้อสินทรัพย์ลงทุนคืน และกองทรัสต์จัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าวโดยการให้เช่า 

ระยะเวลาเสนอขาย : n/a

ราคาเสนอขายหน่วยทรัสต์ : n/a

  

21. IETREIT ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ไอเน็ต

สินทรัพย์ลงทุน : ลงทุนในกรรมสิทธิ์อาคารศูนย์ปฏิบัติการข้อมูล (Data Center) อาคารควบคุมสถานีไฟฟ้าย่อย (Substation) รวมถึงอาคารและอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับการดำเนินงานโครงการ INET-IDC3 เฟส 1 และสิทธิการเช่าที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคาร Substation

ระยะเวลาเสนอขาย : n/a

ราคาเสนอขายหน่วยทรัสต์ : n/a

   

อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าจับตามองทิศทางตลาดหุ้นไทยและทิศทางบริษัทไทยที่ยังคงมีการเติบโตท่ามกลางวิกฤติโควิด-19

ที่มาsetsettradeset2centralretailset3