'มนัญญา' หารือ พม.สานต่อ 'ทับเบิกโมเดล' ใช้วิชาการเกษตรปั้นชุมชนยั่งยืนลดทำลายป่า

'มนัญญา' หารือ พม.สานต่อ 'ทับเบิกโมเดล' ใช้วิชาการเกษตรปั้นชุมชนยั่งยืนลดทำลายป่า

"มนัญญา" หารือ พม.สานต่อ "ทับเบิกโมเดล" ลดการใช้สารเคมี เพื่อนำความยั่งยืนกลับคืนให้ คน - น้ำ -  ป่า สามารถอยู่ร่วมกันได้

เมื่อวันที่ 10 มี.ค.64 นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ  อธิบดีกรมวิชาการเกษตร(กวก.) ลงพื้นที่โครงการพัฒนาระบบการผลิตพืชอย่างยั่งยืนบนพื้นที่สูงเขาหัวโล้นภูทับเบิก เพื่อติดตามความก้าวหน้า "ทับเบิกโมเดล" ที่อยู่ในการดูแลของกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โครงการ 3 ปี (ต.ค.60-มี.ค. 64 ) กวก.ตั้งงบประมาณ 30 ล้านบาท ดำเนินการโครงการ ในพื้นที่นิคมสร้างตนเองสงเคราะห์ชาวเขา ภูทับเบิก อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นเขตจัดสรรที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและการอยู่อาศัยตามแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาพื้นที่ภูทับเบิกจำนวน 13,477  ไร่  เพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตร  ลดการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ลดการใช้สารเคมี และเพื่อเพิ่มป่าต้นน้ำ

"โครงการจะครบกำหนดมี.ค.64  นี้ตามแผนงานของกวก. ซึ่งกรมได้วางฐานงานพัฒนาพื้นที่ต้นแบบระบบการผลิตพืชทั้งการส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัยลดการใช้สารเคมี การพัฒนาพื้นที่ปลูกไม้ยืนต้นที่เป็นพืชหลัก การศึกษาสมุนไพรพื้นบ้านที่มีศักยภาพ ผลงาน3 ปีก้าวหน้าตามแผน ควรที่จะต้องมีการทำโครงการขยายผลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของโครงการคือลดการทำลายป่า ลดการใช้สารเคมีและชาวบ้านอยู่ได้อย่างยั่งยืน แต่ทั้งนี้ด้วยข้อจำกัดด้านระบบจัดทำงบประมาณหากจะทำโครงการขยายผล จะต้องความความอนุเคราะห์จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) เป็นเจ้าภาพในการตั้งบประมาณเพื่อช่วยสานต่อโครงการที่กวก.ทำ 3ปีให้สามารถนำไปช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่เพื่อให้มีการปรับระบบการผลิตทางการเกษตรนำไปสู่ความยั่งยืนทั้งระบบ ซึ่งดิฉันและกวก. พร้อมช่วยเหลือเต็มที่"

161537446030

นายพิเชษฐ์ กล่าวว่า 3 ปี ของกรมได้มีการพัฒนาใน 3 กิจกรรม โดยใช้การพัฒนาระบบแปลงให้เข้าสู่มาตรฐานการผลิตการเกษตรที่ดี(จีเอพี) เป็นต้นทางที่นำไปสู่การใช้สารเคมีที่ปลอดภัย เป้าหมายคือการลด ละเลิกการใช้สารเคมีในที่สุด ในขณะที่ด้านการพื้นฟูสภาพพื้นที่ ได้ส่งเสริมให้มีการทำแปลงต้นแบบการผลิตพืชแบบผสมผสาน การพัฒนาระบบวนเกษตรหรือการสร้างไม้ผลที่เหมาะกับพื้นที่ ที่จะเป็นพืชอนาคตสร้างรายได้ ขณะเดียวกันช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียว เช่น กาแฟทับเบิกที่เป็นกาแฟอราบิกาที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตัว เนื่องจากพื้นที่มีความสูงถึง 1,400 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล พร้อมกันนี้กรมได้มีการพัฒนาต่อเนื่องในการส่งเสริมการแปรรูปกาแฟ

161537447178

นอกจากนั้นเริ่มส่งเสริมปลูกอโวคาโดที่เริ่มส่งเสริม และทดลองปลูกพันธุ์แฮสส์ Hass ในพื้นที่ของเกษตรกร เป็นต้น ร่วมถึงกิจกรรมการพัฒนาพันธุ์พืชเศรษฐกิจที่น่าสนใจหลายตัวให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด เช่นผักสลัด ผักสวนครัว ที่สามารถสร้างรายได้ในระยะสั้น

ทั้งนี้ การทำโครงการขยายผลจะเป็นการนำเอางานที่กรมตั้งต้นไว้ มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับประชาชนในการสร้างอาชีพและสร้างความยั่งยืนให้กับเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ตามแผนทับเบิกโมเดล

161537448375

ดร.สมชาย บุญประดับ  ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบการผลิตพืช กล่าวว่า 3 กิจกรรมที่กวก.ดำเนินการในพื้นที่ 13,477 ไร่แยกเป็น

1. การพัฒนาต้นแบบระบบการผลิตพืชที่มีไม้ยืนต้นเป็นพืชหลักอย่างยั่งยืนบนพื้นที่ทับเบิกเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าที่กวก.ได้ทำแปลงต้นแบบ 4 ระบบ คือ ระบบการปลูกพืชที่มีไม้ผลเป็นหลัก ระบบวนเกษตร ระบบการฟื้นฟูและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไม้ผล และระบบการฟื้นฟูและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตกาแฟ จำนวน 20 แปลง พื้นที่  57 ไร่ ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ผลและกาแฟอราบิกา

2. การพัฒนาต้นแบบระบบการผลิตผักปลอดภัยและพืชผักอินทรีย์ ภายใต้ระบบการรับรองแหล่งผลิจพืชGAP  และเกษตรอินทรีย์เพื่อลดการใช้สารเคมีบนพื้นที่สูงภูทับเบิก เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่ามีการใช้สารเคมีและสารพิษตกค้างเกินค่า MRL ในกลุ่มผักกาดขาวปลี  กะหล่ำปลี ผักสลัด สตอเบอร์รี่ โดยกวก. ได้เข้าริเริ่มทำแปลงGAP ในกลุ่มพืชดังกล่าว ปัจจุบันเกษตรกรได้ใบรับรอวการผลิตพืชอินทรีย์ 7 ราย อยู่ระหว่างการรับรอง 1 ราย และได้ใบรับรอง GAP  7 รายอยู่ระหว่างการขอใบรับรอง 5 ราย สามารถช่วยเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรที่เข้าโครงการได้ร้อยละ 20-30 

3. การศึกษาสมุนไพรพื้นที่บ้านที่มีศักยภาพ และพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกาแฟทับเบิก เพิ่มมูลค่า และเป็นอัตลักษณ์ชุมชน ขณะที่กลุ่มสมุนไพรพื้นบ้านที่มีศักยภาพปลูกเป็นการค้าในระบบเกษตร 12 ชนิด เช่น กระชายดำ  กระชายม่วง เปราะหอม  กลุ่มสมุนไพรที่เป็นอาหาร 13 ชนิด เช่น ดอกไม้จีน แป๊ะตำปึง จิงจูฉ่าย ฯลฯ ทั้งหมดสามารถต่อยอดเชิงการค้าได้ สำหรับบัวหิมะที่ปลูกมาก นอกจากรับประทานสดยังมีการสกัดเครื่องดื่ม เป็นไซรัป  เป็นครีม ทำขนม สบู่ เป็นต้น ขณะที่ใบสามารถสกัดเป็นสารสกัดป้องกันเชื้อราได้ในพืชได้