เปิดจดหมาย 'คีรี' ถึงนายกฯ ร้องระงับประมูล 'สายสีส้ม' แนะยึดหลักนิติรัฐ-นิติธรรม

เปิดจดหมาย 'คีรี' ถึงนายกฯ ร้องระงับประมูล 'สายสีส้ม' แนะยึดหลักนิติรัฐ-นิติธรรม

เมื่อ 8 มี.ค. 2564 บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด(มหาชน) หรือBTS ได้มีหนังสือด่วนที่สุดลงนามโดยคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร บีทีเอส ถึง นายกรัฐมนตรี เรื่องขอให้ตรวจสอบการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ

เมื่อ 8 มี.ค. 2564 บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด(มหาชน) หรือBTS ได้มีหนังสือด่วนที่สุดลงนามโดย คีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร บีทีเอส ถึง นายกรัฐมนตรี เรื่องขอให้ตรวจสอบการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี(สุวินทวงศ์) โดยถือเป็นหนังสือร้องเรียนโดยมีข้อมูลและสาระตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีพ.ศ.2546 ม.41 ประกอบมาตรา 38จึงข้อให้แจ้งผลการดำเนินการให้บริษัทฯทราบตามกรอบเวลา

สำหรับสาระสำคัญบางส่วนของหนังสือดังกล่าวระบุว่า สืบเนื่องจากที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพ.ร.บ.ร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 (คณะกรรมการคัดเลือกฯ) ได้ร่วมกันเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน เล่มที่ 1 ข้อแนะนำผู้ยื่นข้อเสนอของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) (โครงการฯ) โดยการออกเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติมครั้งที่1 

นเป็นเหตุให้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (บริษัท) มีหนังสือสอบถามและขอความเป็นธรรมถึงบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ จำนวน 5ฉบับ ปรากฎว่าบริษัทฯมิได้รับการชี้แจงในผลการตรวจสอบเกี่ยวกับความไม่เป็นธรรมในการดำเนินโครงการฯแต่อย่างใด 

จนกระทั่งเมื่อ 17ก.ย.2563 บริษัทฯได้ฟ้องรฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกฯเป็นคดีปกครอง คดีหมายเลขดำที่ 2280/2563 เพื่อให้ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนการกระทำทางปกครองและหรือคำสั่งทางปกครองทั่วไป และขอให้ศาลปกครองกลางมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามมติที่เห็นชอบเปลี่ยนแปลงแก้ไขวิธีการประเมินข้อเสนอของคณะกรรมการคัดเลือกฯด้วย ซึ่งศาลปกครองกลางไต่สวนแล้วมีคำสั่งในคดีปกครองดังกล่าว เมื่อ 19 ต.ค. 2563 โดยศาลปกครองกลางได้พิจารณาแล้วเห็นว่า การแก้ไขวิธีการประเมินข้อเสนอน่าจะเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงมีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับตามหลักเกณฑ์การร่วมลงทุนของรฟม.ที่แก้ไขเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนเพิ่มครั้งที่1 ไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น

อย่างไรก็ตาม ในหนังสือฯยังระบุอีกว่า เมื่อ 4 พ.ย. 2563 ที่ผ่านมา รฟม. มีหนังสือที่ รฟม. 007(คกก)สม/ว32 ถึงกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บีทีเอส โดยแจ้งว่า “คดีปกครองดังกล่าวอยู่ระหว่างอุทธรณ์คำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษา และยังคงกำหนดการยื่นข้อเสนอการร่วมลงทุนตามที่กำหนดไว้ในเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติมครั้งที่ 1 คือ วันที่ 9 พ.ย. 2563 ตั้งแต่ 9.00 น.-15.00 น.และมีกำหนดการเปิดซองข้อเสนอซองที่ 1 ในวันที่ 23 พ.ย.2563 ตามเดิม” ซึ่งบริษัทฯ รวมกับบริษัทบีทีเอส กรุ๊ป โอลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ชิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ยื่นข้อเสนอการร่วมลงทุนในโครงการฯในนามกิจการร่วมการค้า บีเอสอาร์ (BSR Join Venture) ตามวันเวลาดังกล่าว

161529561557

ต่อมาเมื่อ 3 ก.พ. 2564 รฟม. ได้ประกาศในเว็บไซด์ www.mrta.co.th ว่า “เพื่อให้การคัดเลือกเอกชนร่วมทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ภาครัฐ รฟม.จึงขอยกเลิกประกาศเชิญชวนฯและยกเลิกการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนตามประกาศเชิญชวนดังกล่าว...” 

จากนั้ันเมื่อ11 ก.พ. 2564 ศาลปกครองสูงสุดได้มีหมายแจ้งว่า รฟม.ได้ขอถอนอุทธรณ์คำสั่งทุเลาฯ และศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งอนุญาตให้ถอนอุทธรณ์ เท่ากับว่าคำสั่งทุเลาฯ ที่ศาลปกครองกลางวินิจฉัยไว้ รฟม.ไม่ขอโต้แย้ง 

โดยขณะนี้คดีอยู่ระหว่างรอฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองกลาง เนื่องจากประเด็นข้อคิดเห็นที่แตกต่างกันระหว่าง รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกฯ กับบริษัทฯ ยังอยู่ในการพิจารณาของศาลปกครองกลาง ซึ่งทุกฝ่ายที่เป็นคู่ความที่เกี่ยวข้องจะต้องรอคำวินิจฉัยของศาลปกครองที่เป็นที่สุดเสียก่อนเพื่อนำมาเป็นแนวทางปฎิบัติให้ถูกต้องต่อไป

ดังนั้นเมื่อ 22 ก.พ.2564 บริษัทฯจึงจำเป็นต้องยื่นฟ้อง ผู้ว่าการรฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกฯ เป็นคดีอาญา ต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ในฐานความผิดปฎิบัติหรือละเว้นปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฎิบัติหรือละเว้นปฎิบัติหน้าที่โดยทุจริตเป็นคดีหมายเลขดำที่ อท.30/2564 

หนังสือยังระบุอีกว่า ข้อเท็จจริงกลับปรากฎว่าในวันที่ 1มี.ค.2564 ระหว่างรอฟังคำพิพากษาของศาลปกครองกลางและการดำเนินกระบวนการทางอาญาของศาลอาญาฯที่บริษัทฯฟ้องรฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกฯ ว่าได้กระทำผิด รฟม.โดยภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการรฟม.ได้เริ่มกระบวนการคัดเลือกเอกชนด้วยการประกาศรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนใหม่ โดยกรอกความเห็นในเอกสารตามแบบสอบถามและจัดส่งให้รฟม.ผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ของรฟม.ตั้งแต่ 17มี.ค.2564-19 มี.ค.2564 ซึ่งปรากฎว่าข้อมูลสำหรับการรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนฯมีสาระสำคัญของวิธีการประเมินข้อเสนอ 

กล่าวคือ “การพิจารณาข้อเสนอซองที่ 2 และซองที่3 โดยรฟม.จะประเมินข้อเสนอซองที่ 2 และซองที่ 3เป็นคะแนน โดยมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน แบ่งสัดส่วนเป็นคะแนนข้อเสนอซองที่ 2 ข้อเสนอด้านเทคนิค 30 คะแนน และคะแนนข้อเสนอซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน 70 คะแนน และนำคะแนนซองที่ 2และซองที่ 3 ของผู้ยื่นข้อเสนอแต่ละรายมารวมกัน และผู้ยื่นข้อเสนอที่ได้คะแนนรวมสูงที่สุดจะเป็นผู้ผ่านการประเมินสูงสุด..” 

ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอในข้างต้น เป็นหลักเกณฑ์เดียวกับหลักเกณฑ์ที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่ให้ รฟม.นำมาใช้บังคับในการคัดเลือกเอกชน โดยสารปกครองกลางชี้ว่า “...การเปลี่ยนแปลงวิธีการประเมินข้อเสนอในเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน เล่มที่ 1 ข้อแนะนำผู้ยื่นข้อเสนอ และการออกเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติมครั้งที่ 1 น่าจะเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

หนังสือยังระบุอีกว่า จากข้อเท็จจริงข้างต้น จะเห็นได้ว่า พ.ร.บ.ร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชนพ.ศ.2562 การเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนเล่มที่1ข้อแนะนำผู้ยื่นข้อเสนอ ,การยกเลิกประกาศเชิญชวนฯ, ยกเลิกการคัดเลือกเอกชน, การเปิดให้รับฟังความเห็นจากภาคเอกชนเพ่ื่อจัดทำร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนใหม่ที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ก็ดี มิอาจกระทำได้เช่นที่รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกฯกำลังดำเนินการอยู่

 ส่วนปัญหาของโครงการฯและความล่าช้าที่เกิดขึ้น ล้วนเกิดจากการกระทำของรฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกฯที่ไม่ปฎฺิบัติตามที่กฎหมายกำหนด โดยมีมูลเหตุจูงใจที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การคัดเลือกเอกชนทั้งๆที่กรรมการผู้แทนสำนักงบประมาณในคณะกรรมการคัดเลือกฯที่ร่วมประชุมด้วยได้ทักท้วงแล้วว่า เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่เป็นสาระสำคัญ ต้องเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีก่อน แต่คณะกรรมการคัดเลือกฯกลับไม่รับฟัง และยิ่งปรากฎหลักฐานชัดเจน 

เมื่อรฟม.ได้เริ่มกระบวนการคัดเลือกขึ้นใหม่

การที่รฟม.เริ่มกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากเอกชนเพื่อนำไปจัดทำร่างประกาศเชิญชวนฯร่างเอกสารสำหรับการคัดเอลือกเอกชนและร่างสัญญาร่วมลงทุน เพื่อส่งให้คณะกรรมการคัดเลือกฯให้ความเห็นชอบตามพ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562ม.39 โดยไม่เสนอปัญหาที่เกิดขึ้นต่อคณะกรรมการนโยบายการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชนและคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามกฎหมายก่อนว่า กระทำได้หรือไม่ ถูกต้องกระทำได้หรือไม่ ถูกต้องตามกฎหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ ทั้งๆที่เรื่องนี้มีขั้นตอนตามกฎหมายและประกาศคณะกรรมการร่วมทุนฯกำหนดไว้อย่างชัดเจน 

บริษัทฯได้พยายามอย่างที่สุดตามกฎหมาย และประกาศที่บัญญัติไว้ เพื่อระงับยับยั้งการกระทำที่ไม่ชอบของกลุ่มบุคคลดังกล่าวจนไปสู่การฟ้องร้องฯเพียงเพื่อต้องการให้การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของรัฐเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายตามหลักนิติรัฐและนิติธรรม และเพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรมตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี แต่ปรากฎว่า กลุ่มบุคคลดังกล่าวยังไม่มีท่าทีที่จะสำนึกและแก้ไขให้ถูกต้อง ทั้งไม่ปรากฎว่าหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการกำกับ ควบคุมดูแล การกระทำของรฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกฯจะออกมาดำเนินการตามกฎหมาย เพื่อยังยั้งต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น”

อนึ่ง การที่ รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้แก้ไขหลักเกณฑ์การประเมินหลังจากที่ออกหลักเกณฑ์ดังกล่าวฯ เป็นการทำลายกระบวนการประกวดราคาครั้งประวัติศาสตร์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน รวมถึงโครงการนี้ถือเป็นโครงการร่วมลงทุนขนาดใหญ่ที่ใช้การประกวดราคาแบบ International Bidding อีกทั้งการที่ รฟม.ใช้หลักเกณฑ์การประเมินข้อเสนอตามที่ปรากฎในข้อมูลสำหรับการับฟังความเห็นของภาคเอกชนฯมีการชี้นำในหัวข้อวิธีการประเมินข้อเสนอที่ระบุถึงการใช้คะแนนด้านเทคนิคที่สอดรับกับการแก้ไขหลักเกณฑ์ที่ศาลปกครองกลางวินิจฉัยเบื้องต้นว่าน่าจะเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากปล่อยให้หน่วยงานรัฐดำเนินการโดยไม่ถูกต้องในลักษณะนี้ จะส่งผลต่อความเชื่อมั่นภาคเอกชนผู้ลงทุนภายในและโดยเฉพาะผู้ลงทุนจากต่างประทเศ จนอาจให้ประเทศได้รับความเสื่อมเสียและขาดความน่าเชื่อถือ

บริษัทจึงขอเรียนมายึงนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลซึ่งมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ได้โปรดตรวจสอบการกระทำของผู้ว่าการรฟม.คณะกรรมการคัดเลือกฯและผู้เกี่ยวข้องตามข้อเท็จจริงรายละเอียดที่นำเสนอข้างต้น และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากปรากฎผลทางการพิจารณาคดีว่า การกระทำที่ผ่านมาเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามฟ้อง 

“จึงขอให้นายกรัฐมนตีได้โปรดสั่งการไปยังรฟม.ให้หยุดการกระทำใดๆที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มที่เป็นกรณีพิพานี้จนกว่าศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาต่อไป”