'เราชนะ' รู้จัก 4 เมนู 4 สี บน www.เราชนะ.com แต่ละปุ่มใช้ทำอะไร

'เราชนะ' รู้จัก 4 เมนู 4 สี บน www.เราชนะ.com แต่ละปุ่มใช้ทำอะไร

www.เราชนะ.com ส่อง 4 เมนูที่แสดงบนหน้าเว็บ 'เราชนะ' ตรวจสอบสถานะ "สีน้ำเงิน-สีแดง-สีเหลือง-สีชมพู" แต่ละเมนูมีหน้าที่อะไรบ้าง? พร้อมเผยขั้นตอนอย่างละเอียด ทั้งเมนูลงทะเบียน ตรวจสอบสิทธิ ทบทวนสิทธิ และสละสิทธิ

ชวนดูรายละเอียดต่างๆ ของโครงการ "เราชนะ" บนเว็บไซต์ www.เราชนะ.com ที่ผู้อยากได้สิทธิเราชนะต้องรู้ พร้อมอธิบายขั้นตอนการใช้งานของแต่ละปุ่มอย่างละเอียด โดยหลักๆ บนหน้าเว็บไซต์นี้ประกอบไปด้วย 4 เมนู ได้แก่ ประชาชนลงทะเบียนใหม่ (ลงทะเบียนกลุ่มพิเศษ) , ตรวจสอบสถานะผู้ได้รับสิทธิ, ทบทวนสิทธิ, สละสิทธิ โดยแต่ละเมนูมีหน้าที่และการใช้งานเพื่อรับสิทธิเงินเยียวยา 7,000 บาท ดังนี้

1. ประชาชนลงทะเบียนใหม่ (แถบสีแดง)

เมนูนี้ เป็นเมนูที่ใช้ได้เฉพาะประชาชนที่เข้าข่าย "กลุ่ม3" สำหรับการลงทะเบียนเท่านั้น (กลุ่ม 1-2 ไม่ต้องลงทะเบียน) โดยประชาชน "กลุ่ม3" หมายถึง กลุ่มผู้ที่ไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และไม่เคยอยู่ในฐานระบบของ G-Wallet (แอพฯ เป๋าตัง) ในโครงการ คนละครึ่ง/เราเที่ยวด้วยกัน มาก่อน ซึ่งหากมีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์ ก็สามารถมาลงทะเบียนผ่าน www.เราชนะ.com ได้ตั้งแต่วันที่ 29 ม.ค. - 12 ก.พ. 2564 ที่ผ่านมา

แต่เนื่องจากขณะนี้ โครงการ "เราชนะ" หมดเขตการลงทะเบียนไปแล้ว ดังนั้นหากผู้ใช้งานลองคลิกที่เมนูนี้ จะปรากฏข้อความว่า "ปิดรับลงทะเบียนประชาชนเข้าร่วมโครงการเราชนะ วันที่ 12 ก.พ.64 เวลา 23.00 น." ปัจจุบันปุ่มเมนูดังกล่าวได้เปลี่ยนชื่อเป็น ลงทะเบียนกลุ่มพิเศษ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับ กลุ่มพิเศษหรือผู้ที่ "ไม่มีสมาร์ทโฟน" เพื่อให้ได้รับสิทธิเงินเยียวยาอย่างทั่วถึง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

สำหรับปุ่ม "ลงทะเบียนกลุ่มพิเศษ" ตามหลักการแล้วเป็นปุ่มที่เปิดให้เจ้าหน้าที่ธนาคาร ใช้สำหรับลงทะเบียนเราชนะให้กับกลุ่มพิเศษ (ผู้สูงอายุ, ผู้พิการ, ผู้ป่วยติดเตียง) แต่ทั้งนี้ ญาติหรือลูกหลานของกลุ่มพิเศษก็สามารถเป็นตัวแทนลงทะเบียนให้ได้เช่นกัน โดยมีวิธีการลงทะเบียนคร่าวๆ ดังนี้

  • เข้าเว็บ แล้วคลิกที่ “ลงทะเบียนกลุ่มพิเศษ” ปุ่มสีแดง
  • คลิกถูกหน้าข้อความ “ข้าพเจ้าได้อ่านและตกลงยินยอมตามรายละเอียดฯ ข้างต้น” แล้วกดปุ่ม “ยืนยัน”
  • กรอกข้อมูลส่วนตัวของ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ หรือ ผู้ป่วยติดเตียง ที่ต้องการสิทธิ “เราชนะ” ได้แก่ ชื่อ นามสกุล เลขบัตรประชาชน เลขหลังบัตรประชาชน วันเดือนปีเกิด
  • ใส่รายละเอียดของผู้แทน ที่กรอกข้อมูลให้ประชาชนกลุ่มพิเศษ นั่นคือ เบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ (เบอร์ของตัวแทน) , ชื่อ นามสกุล, บุคคลที่สามารถติดต่อได้, ความสัมพันธ์กับบุคคลที่ติดต่อได้

อ่านเพิ่ม : ลงทะเบียน 'เราชนะ' เปิดเมนูใหม่ 'ลงทะเบียนกลุ่มพิเศษ' ใช้ทำอะไร มีเงื่อนไขอย่างไร?

161493050045

2. ตรวจสอบสถานะผู้ได้รับสิทธิ (แถบสีน้ำเงิน)

ปุ่มถัดมา "ตรวจสอบสถานะผู้ได้รับสิทธิ" ใช้สำหรับผู้ที่เข้าข่าย "กลุ่ม3" ที่ลงทะเบียน "เราชนะ" สำเร็จแล้ว และผู้ที่เข้าข่าย "กลุ่ม2" คือกลุ่มที่เคยมีชื่อในฐานข้อมูลโครงการคนละครึ่ง/เราเที่ยวด้วยกัน ให้เข้ามากดเช็คสิทธิเราชนะ เพื่อดูว่าคุณ "ได้รับสิทธิ" หรือ "ไม่ได้รับสิทธิ"  ซึ่งมีวิธีการตรวจสอบสิทธิดังนี้ 

1. เข้าไปที่เว็บไซต์ www.เราชนะ.com

2. เลือกเมนู "ตรวจสอบสถานะผู้รับสิทธิ"

3. กรอกข้อมูลเพื่อ "เช็คสิทธิเราชนะ" ได้แก่ เลขบัตรประชาชน ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด

4. คลิกที่ "ตรวจสอบสถานะ"

อ่านเพิ่ม : www.เราชนะ.com เช็คสิทธิ 'เราชนะ' ลงทะเบียน กลุ่ม 3 เริ่ม 8 ก.พ.นี้

161493052033

หาก ตรวจสอบสถานะ เราชนะ แล้วพบว่าคุณ "ได้รับสิทธิเราชนะ" ขั้นตอนต่อไปคือ ต้องไปกด "ยืนยันตัวตน" ยืนยันสิทธิ์ ในแอพฯ เป๋าตัง อีกครั้ง โดยมีวิธีและขั้นตอนการยืนยันตัวตน ดังนี้ 

- เปิดแอพฯ "เป๋าตัง" ใส่รหัส PIN 6 หลัก แล้วกดไปที่ G-Wallet จะเห็นแถบเมนู "เราชนะ" และให้กดไปที่คำว่า "ใช้สิทธิ"

- ถัดมาเป็นรายละเอียดข้อตกลงและเงื่อนไข ให้กดคลิกหน้าข้อความ "ยอมรับเงื่อนไขการใช้บริการ" 

- จากนั้นให้ระบุ "จังหวัด" ที่ท่านพักอาศัยในปัจจุบัน พร้อมกด "ยืนยัน" จังหวัดที่เลือกไปอีกครั้ง แค่นี้ก็เสร็จสิ้น พร้อมใช้งาน "เราชนะ"

อ่านเพิ่ม : 'เราชนะ' ยืนยันสิทธิ ผ่าน 'เป๋าตัง' ก่อนรับ 7,000 เช็ควิธีที่นี่

3. ทบทวนสิทธิ (แถบสีส้ม)

ส่วนปุ่มเมนูนี้ ใช้สำหรับประชาชน "กลุ่ม3" และ "กลุ่ม2" ที่เมื่อตรวจสอบสิทธิแล้วพบว่าตนเอง "ไม่ได้รับสิทธิเราชนะ" เนื่องจากเหตุผลว่า "ไม่ผ่านเกณฑ์รายได้พึงประเมิน" ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการใช้ข้อมูลรายได้พึงประเมิน ตามปีภาษี 2562 มาพิจารณา โดยเรื่องนี้ภาครัฐได้รับพิจารณาและแก้ไขให้แล้ว โดยให้ประชาชนสามารถยื่นขอ "ทบทวนสิทธิ" ได้ 2 รอบ พร้อมกำหนดให้ผู้ที่ต้องการทบทวนสิทธิใหม่ ให้ยื่นแบบภาษีปี 2563 ให้สรรพากร ไม่เกินวันที่ 8 มี.ค.64

  • ทบทวนสิทธิเราชนะ รอบ 1 

1. ขอทบทวนสิทธิเราชนะ วันที่ 8 ก.พ.-21 ก.พ.64 
2. ประกาศผล วันที่ 4 มี.ค.64
3. ได้เงินเข้าแอพฯ เป๋าตัง วันที่ 11 มี.ค.64

161493051792

  • ทบทวนสิทธิเราชนะ รอบ 2 

1. ขอทบทวนสิทธิเราชนะ วันที่ 22 ก.พ. - 8 มี.ค.64
2. ประกาศผล วันที่ 19 มี.ค.64
3. ได้เงินเข้าแอพฯ เป๋าตัง ในวันที่ 25 มี.ค.64

  •  การทบทวนสิทธิสำหรับกลุ่มที่ "ไม่ผ่านเกณฑ์รายได้พึงประเมิน" 

กลุ่มที่ "เช็คสิทธิเราชนะ" แล้วระบบแจ้งเหตุผลว่า "ไม่ได้สิทธิเราชนะ เนื่องจากมีรายได้พึงประเมินเกิน 300,000 บาท ปีภาษี 2562" จะต้องทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

1. กดยื่นทบทวนสิทธิผ่าน www.เราชนะ.com ภายในวันที่ 8 ก.พ. - 8 มี.ค.64
2. ยื่นแบบแสดงรายได้ภาษีปี 2563 ทางออนไลน์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ขอยื่นทบทวนสิทธิ แต่ไม่เกิน 8 มี.ค.64

อ่านเพิ่ม : 'เราชนะ' ตรวจสอบสถานะ ยืนยันตัวตน ขอทบทวนสิทธิ์ เช็คที่นี่วันประกาศผลฯ

              ทบทวนสิทธิ 'เราชนะ' ยื่นได้ตั้งแต่วันไหน แล้วจะได้เงินเมื่อไหร่?

4. สละสิทธิ (แถบสีชมพู)

ปุ่มเมนูสุดท้ายเป็นเมนูสำหรับกลุ่มข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ที่เป็นผู้ไม่มีสิทธิในโครงการ "เราชนะ" แต่เกิดความผิดพลาดของระบบ และพบว่ามีการโอนเงินเยียวยาก้อนนี้ไปยังกลุ่มข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจดังกล่าว ซึ่งเรื่องนี้ภาครัฐได้ออกมาแก้ไขปัญหาด้วยการเพิ่มปุ่มเมนู "สละสิทธิ" บนเว็บไซต์ โดยมีวิธีและขั้นตอน ดังนี้

1. เข้าไปที่เว็บไซต์ www.เราชนะ.com คลิกเลือกปุ่ม "สละสิทธิ"

2. หน้าถัดมาเข้าสู่การยื่นขอสละสิทธิ กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ได้แก่ เลขบัตรประจำตัวประชาชน, ชื่อ นามสกุล, วันเดือนปีเกิด

3. แล้วกด "ขอสละสิทธิการเข้าร่วมโครงการเราชนะ"

161493051678

หลังจากนั้น พนักงานรัฐวิสาหกิจหรือข้าราชการที่บังเอิญได้สิทธินี้ (จากความผิดพลาดของระบบ) จะต้องไปกดยกเลิกสิทธิในแอพฯ "เป๋าตัง" ในวันที่ 18 ก.พ.2564 นี้ด้วย โดยมีวิธีการคือ ในวันดังกล่าว แอพฯ เป๋าตัง จะมีแถบข้อความขึ้นมาถามว่า "ท่านยืนยันจะเข้าร่วมโครงการหรือไม่" ให้ผู้ที่เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ/ข้าราชการ ที่เข้าเกณฑ์ไม่ได้รับเงินในโครงการนี้ ต้องกด "ไม่เข้าร่วมมาตรการเราชนะ" ด้วยตนเอง ไม่เช่นนั้นจะถูกเรียกเงินคืนในภายหลัง 

อ่านเพิ่ม : 'เราชนะ' เปิดปุ่ม 'สละสิทธิ' แล้ว ข้าราชการ-รัฐวิสาหกิจ รีบกด ก่อนผิดวินัย

----------------------

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลังเราชนะ , กระทรวงการคลัง