นักธุรกิจร่วมทุน "พัฒนากัญชาเชิงพาณิชย์"

นักธุรกิจร่วมทุน "พัฒนากัญชาเชิงพาณิชย์"

แนวโน้มธุรกิจผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ และเชิงพาณิชย์มีอัตราการเติบโตอย่างก้าวกระโดด ส่งผลให้ภาคธุรกิจ กลุ่มอาหาร เครื่องดื่ม และเครื่องสำอางให้ความสนใจนำกัญชามาใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์

โดยเฉพาะตลาดเครื่องดื่มกัญชาเพื่อสุขภาพได้รับความสนใจจากนักธุรกิจแวดวงเครื่องดื่มอย่างมาก

วานนี้ (2 มี..) บริษัท ที.เอ.ซี. คอนซูเมอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ TACC ลงนามกับ บริษัท ไทย ดานาเทค อินโนเวชั่น จำกัด (TCI) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.)พระนคร ได้ลงนามร่วมมือกันเพื่อศึกษาวิจัยพัฒนากัญชา อันนำไปสู่การต่อยอดทางการแพทย์ และธุรกิจด้านอาหารและเครื่องดื่มในอนาคต ก่อนจะขยายไปสู่ธุรกิจด้านอื่นๆ ต่อไป      

ทั้งนี้ จากรายงาน The Global Cannabis Report ของ Prohibition Partners คาดว่า มูลค่าตลาดกัญชาทั่วโลกจะมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 103.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2567ตลาดกัญชาเพื่อการแพทย์มีสัดส่วนราวร้อยละ 60 ของมูลค่าตลาดกัญชาทั้งหมด และอีกร้อยละ 40 เป็นตลาดกัญชาเพื่อการสันทนาการ สำหรับประเทศไทย ก็มีรายงาน The Asian Cannabis Report ที่ระบุว่า ภายในอีก 4 ปีข้างหน้า ตลาดกัญชาไทยจะมีมูลค่าสูงถึง 21,000 ล้านบาทโดยแบ่งออกเป็นกัญชาเพื่อการแพทย์ 7,000 ล้านบาท และอีกกว่า 14,000 ล้านบาทคือตัวเลขของตลาดกัญชาเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ

เพ็ชร ชินบุตรหัวหน้าคณะที่ปรึกษา บริษัท ไทย คานาเทค อินโนเวชั่น จำกัด (TCI) กล่าวว่าTCI ได้ร่วมมือกับมทร.พระนคร ในการศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อนำมาใช้ทางการแพทย์มาก่อนหน้านี้แล้ว และเมื่อกัญชาได้รับการปลดล็อกจากสารเสพติด ได้ร่วมกับมทร.พระนคร และวิสาหกิจชุมชน เพื่อดำเนินการปลูกกัญชาที่ได้มาตรฐาน และนำไปสร้างผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ เป็นโอกาสที่จะได้ช่วยเหลือเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน โดยเน้นการยกระดับภูมิปัญญาไทย  

 “ที่ผ่านมาเป็นความร่วมมือในระดับต้นน้ำ คือ มีมหาวิทยาลัย มีวิสาหกิจชุมชน และร่วมมือกับ บริษัท TACC ครั้งนี้จะเป็นการนำงานวิจัยไปสู่เชิงพาณิชย์มากขึ้น ซึ่ง TACC สนใจเรื่องกัญชาจึงได้ลงนามร่วมกันเพื่อสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์อาหารเครื่องดื่มเชิงพาณิชย์ เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่คนไทยที่จะได้ใช้ผลิตภัณฑ์จากกัญชาที่มีมาตรฐาน ใช้สารสกัด CBD สารบริสุทธิ์โดยไม่มีส่วนผสมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภคเพ็ชร กล่าว

ชัชชวี วัฒนสุขประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ที.เอ.ซี.คอนซูเมอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ TACC กล่าวว่า TACC เป็นบริษัทที่ผลิตเครื่องดื่ม ซึ่งการนำกัญชามาเป็นส่วนผสมของเครื่องดื่ม อาหาร ต้องมีคุณภาพ ปลอดภัย ดังนั้น เมื่อได้มาเห็นการทำงานวิจัยร่วมกันระหว่างบริษัท TCI และมทร.พระนคร ทำให้เห็นถึงการควบคุมคุณภาพ การศึกษาพัฒนาวิจัย ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในการปลูก การสกัด การเก็บเกี่ยว สอดคล้องกับเป้าหมายของบริษัท จึงได้ร่วมมือกัน ทำให้ TACC เข้าสู่ตลาด Health and Wellness ได้

161469332866

 “เรามองเรื่องอาหารและเครื่องดื่ม อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ ซึ่งกัญชา เป็นพืชที่มีสรรพคุณป้องกัน รักษาโรค ถ้าวันนี้รัฐบาลหรือประชาชนได้มองกัญชาว่าเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพและผู้บริโภคบริษัทจึงเลือกกัญชามาใช้ เพื่อให้เกษตรกรได้มีงานทำ เศรษฐกิจไทยดีขึ้น และคุณภาพของผู้ป่วยดีขึ้นในราคาจ่ายที่ถูกลง สำหรับผลิตภัณฑ์แรกที่จะนำกัญชามาใช้ คงต้องมองถึงข้อกฎหมายต่างๆ และต้องดูถึงโอกาสที่ดีที่สุดที่ผลิตภัณฑ์จะช่วยดูแลสุขภาพของผู้บริโภคได้ชัชวีร์ กล่าว

ดร.ณัฐนรี ศิริวันนักวิจัยกัญชา จากมทร.พระนคร กล่าวว่าทีมวิจัยมทร.พระนคร ได้พัฒนาการปลูกกัญชาเพื่อการแพทย์ โดยใช้โรงเรือนระบบปิด เพื่อให้ได้ผลผลิตกัญชาที่มีมาตรฐาน มีคุณภาพสูง รวมถึงมีการสกัดกลั่น CBD สารบริสุทธิ์ ที่จะไปสู่การพัฒนาทางการแพทย์ การรักษาโรคต่างๆ และนำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ รวมถึงได้มีการทำแพลตฟอร์มถ่ายทอดความรู้ให้แก่ประชาชน วิสาหกิจชุมชน และนำเทคโนโลยี Piant Tssue Cultre เพื่อควบคุมคุณภาพและผลิตผลิตภัณฑ์จากสารสกัดกัญชาได้ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ

"Dr. Richard Fong”  ที่ปรึกษาด้านเทศโนโลยี Genomics and DNA นักวิจัยจากประเทศนิวซีแลนด์ กล่าวว่า การพัฒนาสายพันธุ์กัญชาเชิงอุตสาหกรรมที่ได้มาร่วมมือกับบริษัททั้ง 2 แห่ง และมทร.พระนคร จะเป็นการพัฒนาและวิเคราะห์พันธุกรรมของกัญชาที่นำมาใช้ในการปลูกได้ทั้งโรงเรือนระบบปิดและโรงเรือนระบบเปิด รวมถึงช่วยเพิ่มสาร CBD ในปริมาณที่มากเพื่อลดต้นทุนในการปลูกกัญชา

"การปรับปรุงพันธุกรรมของกัญชา เป็นวิธีการปรับแต่งตั้งแต่ระบบพันธุกรรมที่ควบคุมการเจริญเติบโตของพืชระบบปฐมภูมิ เพื่อให้ต้นพืชกัญชาสามารถดูดแสง UVA ได้มากขึ้น เพิ่มสารสกัดได้มากขึ้น ลดค่าไฟฟ้า และไม่ให้มีผลต่อผู้บริโภค ซึ่งเมื่อสายพันธุ์กัญชา สามารถช่วยลดต้นทุนได้มากขึ้น ก็จะนำไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์กัญชาในราคาต้นทุนไม่สูง ราคาขายในเชิงพาณิชย์ก็จะไม่สูงตาม นอกจากนั้น การทำ DNA แต่ละสายพันธุ์ของกัญชา จะทำให้รู้ว่ามีสารสกัดใดบ้าง เพราะนอกจากสาร CBD แล้ว กัญชายังมีสารสกัดที่นำมาใช้ประโยชน์ได้อีกมาก เช่น สารเทอราพีที่มีกลิ่นต่างๆ นำมาใช้ช่วยลดการอักเสบ ต้านแบคทีเรีย และช่วยการผ่อนคลาย ทำให้มีทางเลือกในการผลิตเชิงพาณิชย์มากขึ้นDr. Richard กล่าว

อย่างไรก็ตามกัญชาสามารถใช้เปลี่ยนเศรษฐกิจ เปลี่ยนโลกได้ แต่ทั้งนี้ การปลูก การสกัด การเก็บเกี่ยว และการนำมาใช้ในการทางแพทย์และเชิงพาณิชย์ ต้องดำเนินการกับผู้เชี่ยวชาญ ผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ เพื่อให้กัญชาเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีมาตรฐาน

Attachment.png