หุ้น “คอมเซเว่น” ทำนิวไฮ ลุ้นเพิ่มธุรกิจใหม่ในกลุ่ม 

 หุ้น “คอมเซเว่น” ทำนิวไฮ   ลุ้นเพิ่มธุรกิจใหม่ในกลุ่ม 

ธุรกิจค้าปลีกสินค้าไอทีมาแรงในยุคโควิดจริง สะท้อนได้จากการเติบโตของรายได้หลายบริษัทแม้จะเผชิญการล็อกดาวน์ ปิดเมือง กำลังซื้อผู้บริโภคลดลง

แต่ธุรกิจดังกล่าวกลับสามารถตอบสนองการทำงานจากที่บ้าน (Work from home ) การเข้าสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ของประชาชนเพื่อลดการใช้ชีวิตนอกบ้าน จนทำให้ราคาปรับตัวต่อเนื่อง

ความเคลื่อนไหวของราคาหุ้น บริษัท คอมเซเว่น จำกัด (มหาชน) หรือ COM7 ทำสถิตินิว ไฮอย่างต่อเนื่อง จากสิ้นปี 2563ราคาปิดที่ 39 บาท เดือนม.ค. 2564 ราคาหุ้นอยู่ที่ 43.50 บาท เดือนก.พ . ราคาขึ้นมาอยู่ที่ 51 บาท

และวานนี้ (2 มี.ค.) ราคาหุ้นขยับตัวขึ้นมาบวกตลอดทั้งวันปิดที่ 54.50 บาทเพิ่มขึ้น 9.55 % ขึ้นไปทำราคาสูงสุด 57.25 บาท จนทำให้เริ่มมองว่าอาจจะมีข่าวดีออกมาจากธุรกิจ COM7 และบริษัทลูกที่เข้าตลาดหุ้นไม่นาน บริษัท เน็คซ์ แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ NCAP

COM 7 ดำเนินธุรกิจขายอุปกรณ์ไอที โดยมีร้านค้าปลีกหลักคือ Banana จำหน่ายคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะคอมพิวเตอร์แบบพกพาโทรศัพท์เคลื่อนที่ แท็บเล็ตและอุปกรณ์เสริมต่างๆ สิ้นปี 2563 บริษัทสามารขยายสาขาได้เป็น 911 สาขา จากปี 2562 อยู่ที่ 787 สาขา

นอกจากแบรนด์ Banana ที่มี 303 สาขาแล้ว มี Istudio7 106 สาขา, Kingkong Phone 94 สาขา , True shop by Com7 122 สาขา, แฟรนไซส์ 114 สาขา ,BKK 51 สาขา , Icare 28 สาขา และ อื่น ๆ 63 แห่ง

สิ้นปี 2563 บริษัทมีรายได้ 37,453 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.80 % มีกำไรสุทธิ 1,494.90 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22 % บริษัทระบุว่าตั้งแต่ช่วงไตรมาส 1 บริษัทกลับได้ผลดีจากการทํางานอยู่ที่บ้านและการเรียนนผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้น รวมทั้งการเปิดธุรกิจใหม่ ให้เช่าโน๊ต บุค สำหรับลูกค้าองค์กร จนมียอดขายออนไลน์เติบโตเพิ่มขึ้น 400% จากลูกค้าที่หันมาซื้อคอมพิวเตอร์ แล๊บท๊อป และแท๊ปเลท

จนทำให้บริษัทขยายช่องทางการขายอื่นนอกเหนือจากสาขา หลังเผชิญการให้บริการชั่วตราวตามห้างสรรพสินค้า Click & Collect แบบ Drive Thru, เปิดร้าน Pop-Up Store ทีสำนักงานใหญ่และยังวางแผนการเปิดร้านแบบ Stand-Alone

บวกกับช่วงปลายปีมีการเปิดตัวไอโฟน 12 ซึ่งมีกระแสตอบรับดีทั่วโลก หลังจากเปิดจองซื้อตั้งแต่วันที่ 20-26 พ.ย. 2563 ที่ผ่านมา ปรากฎยอดจองล่วงหน้าไอโฟนทุกรุ่น ทุกสีมากกว่า ช่วงไอโฟน 11 ประกอบกับมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อของภาครัฐ “ช้อปดีมีคืน” สูงสุด 30,000 บาท จึงทำให้มีประชาชนซื้อสินค้าไอทีเพื่อรองทำงานจากบ้านและเรียนออนไลน์ไปด้วย

หลังจากงบปี 2563 ออกมาดีกว่าคาดบริษัทยังประกาศจ่ายปันผลอัตรา 1 บาทเป็นเม็ดเงินถึง 1,200 ล้านบาท กระแสความต้องการสินค้าไอทียังไม่แผ่ว ทำให้ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เคทีบีเอสที (ประเทศไทย) ยังมองว่าเป็นก้าวสู่ช่วงขาขึ้นของความต้องการสินค้าไอที

จากการปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 2564-2565 เพิ่มขึ้นปีละ 18% และ 17% อยู่ที่ 1.79 พันล้านบาท (+24% YoY) และ 2.17 พันล้านบาท (+21% YoY) ตามลำดับ จากการปรับเพิ่มอัตราการขยายตัวของรายได้ และลด SG&A/sale ลง และคงคำแนะนำ ซื้อ แต่ปรับราคาเป้าหมายเพิ่มขึ้นเป็น 60 บาท อิง 2021E PER ที่ 40.3 เท่า และมีโอกาสที่จะ Synergy ร่วมกับ NCAP (กิจการร่วมค้า) คาดว่าจะเห็นความชัดเจนภายในปีนี้ เช่น การผ่อนสินค้า ซึ่งปัจจุบันบริษัทมียอดขายผ่านการผ่อนชำระมากกว่า 25% หรือ ให้สาขาเป็นจุดรับชำระเงินของลูกหนี้ NCAP ซึ่งจะช่วยเพิ่ม brand recognition และโอกาสในการ cross-selling