ประชุมรัฐสภา วุ่น !! วุฒิสภา ขู่ไม่ผ่าน ร่างแก้รัฐธรรมนูญ หากไม่เพิ่มเนื้อหา ห้ามเตะ "พระราชอำนาจ” 

ประชุมรัฐสภา วุ่น !! วุฒิสภา ขู่ไม่ผ่าน ร่างแก้รัฐธรรมนูญ หากไม่เพิ่มเนื้อหา ห้ามเตะ "พระราชอำนาจ” 

ประชุมรัฐสภา วาระแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระสองที่เร่ิมต้นมาด้วยดี จนมาถึงมาตราที่ห้ามแก้ไขหมวด 1 และหมวด 2 ที่ส.ว.ต้องการบัญญัติห้ามแก้ไขมาตราพระราชอำนาจ แต่ส.ส.ก้าวไกลไม่ยอม จนต้องพักประชุม

        ในการประชุมรัฐสภา ซึ่งพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ.... วาระสอง วันที่สอง  เมื่อเวลา 15.30 น. ได้เข้าสู่การพิจารณาเนื้อหาสำคัญ​ว่าด้วยการวางกรอบเวลาทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ของสภาร่างรัฐธรรมนูญ​(ส.ส.ร.)  ซึ่งกรรมาธิการพิจารณาฯ ปรับแก้ไข ในถ้อยคำเล็กน้อย แต่คงสาระสำคัญเดิมไว้ คือ ส.ส.ร. จัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายใน 240 วัน  และต้องรับฟังความเห็นประชาชนทั่วไป และประชาชนทุกจังหวัดอย่างทั่วถึง พร้อมกับเผยแพร่เนื้อหาสาระและความคืบหน้าร่างรัฐธรรมนูญผ่านสื่อมวลชนแะลเวทีแสดงความเห็นต่างๆ  พร้อมกับให้รับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะจาก ครม. ส.ส. ส.ว. องค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้นวางกรอบห้ามแก้ไขเพิ่มเติม หมวด 1 บททั่วไป และ หมวด2 พระมหากษัตริย์ พร้อมกำหนดบทบาทให้รัฐสภาเป็นผู้วินิจฉัยกรณีดังกล่าว และหากร่างรัฐธรรมนูญพบว่าได้แก้ไข หมวด 1 และหมวด 2 ให้ร่างรัฐธรรมนูญนั้นตกไป 
 
        ทั้งนี้มีสมาชิกรัฐสภา อภิปรายแสดงความเห็นและถกเถียง ต่อประเด็นข้อห้ามแก้ไขหมวด 1 บททั่วไป และ หมวด 2 สถาบันพระมหากษัตริย์ โดย นายสมชาย แสวงการ ส.ว.​ฐานะกมธ.​เสียงข้างน้อย อภิปรายให้เพิ่มบทบัญญัติ ห้ามแก้ไขมาตราของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 อีก 38 มาตรา ที่ว่าด้วยพระราชอำนาจเพื่อป้องกันไม่ให้ส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้ง 200 คน ทำนอกลู่นอกทาง และนำไปสู่ความขัดแย้ง
        “ขณะนี้มีกระแส พยายามชักจูงให้หลงผิด เกี่ยวกับการปฏิรูปสถาบันพระะมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นกระแสของคนรุ่นใหม่ที่ผิดและไม่เข้าใจ  สำหรับการยก 10 ข้อเสนออ้างว่าปฏิรูปสถาบันนั้น ทำให้ส.ว.บางส่วนไม่สบายใจ ดังนั้น กมธ. ต้องวางกรอบเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้ง และได้รับความไว้วางใจส.ส.ร.ต่อหน้าที่ทำรัฐธรรมนูญ”   นายสมชาย อภิปราย
      ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ประเด็นดังกล่าว มี ส.ส.พรรคก้าวไกล  อาทิ นายจิรัฎฐ์ ทองสุวรรณ์ ส.ส.ฉะเชิงเทรา , นายรังสิมันต์ โรมส.ส.บัญชีรายชื่อ,​นายธีรัจชัย พันธุมาศ ส.ส.บัญชีรายชื่อ, พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายเห็นแย้ง และเสนอให้ตัดข้อห้ามแก้ไข หมวดสถาบันพระมหากษัตริย์  เนื่องจากอดีตที่ผ่านมาหมวดดังกล่าวสามารถแก้ไขได้ อีกทั้งเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ไม่ได้ปิดทางให้แก้ไข อย่างไรก็ดีการพิจารณาจะแก้หรือไม่ เป็นอำนาจของส.ส.ร. ดังนั้นรัฐสภาไม่ควรขีดกรอบจำกัดไว้ 
        โดย นายธีรัจชัย อภิปรายว่าเนื้อหาที่กำหนดให้รัฐสภามีอำนาจวินิจฉัยให้ร่างรัฐธรรมนูญตกไปหรือไม่ หากมีเนื้อหาแก้ไข หมวด. 1 บททั่วไป และหมวด 2 สถาบันพระมหากษัตริย์  คือการหมกเม็ดสำคัญ ที่จะทำให้ผู้มีอำนาจจะอนุญาติหรือไม่อนุญาตให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ และให้ประชาชนเปลี่ยนผ่านรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ต้องยอมรับว่ารัฐสภาปัจจุบันมีส่วน ส.ว. จากการแต่งตั้งโดยคสช. ดังนั้นส.ว.จึงต้องปกป้องรัฐธรรมนูญ ที่ออกแบบเพื่อพวกเรา ดังนั้นตนมองว่าควรตัดออก เพราะเป็นขวากหมาย ที่ทำให้ผู้มีอำนาจพิจารณาว่าจะอนุมัติหรือไม่
 
      ทั้งนี้นายรังสิมันต์ อภิปรายว่าควรให้ ส.ส.ร. ทำรัฐธรรมนูญที่เหมาะสมกับกาลสมัย สิ่งที่ระบุว่าห้ามแก้ไข ไม่เป็นผลดี เหมือนยิ่งห้ามยิ่งเป็นผลเสียต่อสถาบัน ทั้งนี้การห้าม เพราะไม่ต้องการให้นำสถาบันดึงสู่การเมือง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นพบว่าอยู่ในกระบวนการพูดถึงตลอดเวลาดังนั้นต้องตัดข้อห้ามดังกล่าวออก 
        อย่างไรก็ดีในช่วงท้ายนายสมชาย อภิปรายย้ำว่าเชื่อว่า ส.ว.ต้องการให้เติมบทบัญญัติเกี่ยวกับพระราชอำนาจ  จำนวน 38 มาตรา ทั้งนี้ตนไม่ต้องการให้รัฐสภาตีเช็คเปล่า เพราะที่ผ่านมาพบการกล่าวถ้อยคำเหยียดหยามสถาบัน  ตนขอร้องให้เพิ่มบทบัญญัติ 38 มาตราในรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับพระราชอำนาจ ทั้งนี้ไม่ต้องยกเลขมาตรา แต่ขอให้นำถ้อยคำที่เกี่ยวข้องบัญญัติไว้ ทั้งนี้กมธ.ฯ​ไม่ควรปล่อยให้เป็นแบบนี้ อีกทั้งตนไม่สบายใจ 
        ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรรมาธิการเสียงข้างมาก อภิปรายเพื่อแสดงให้เห็น่วา ได้พิจารณาอย่างรอบคอบและการบัญญัติห้ามแก้ไขหมวด 1 และหมวด 2 นั้นเหมาะสม 
       ขณะที่ นายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ว. ฐานะกมธ. อภิปราย ว่า  วุฒิสภา ให้ความสำคัญต่อการปกป้องสถาบัน  หากเขียรัฐธรรมนูญในช่วงสถานการ์ปัจจุบันที่ไม่ไว้ใจว่า รัฐธรรมนูญให้อำนาจส.ส.ร. เขียนได้ทุกเรื่อง ดังนั้นรัฐสภาย่อมมีอำนาจพิจารณาว่าจะวางกรอบอย่างไรให้เหมาะสม 
       “มีสมาชิก พูดว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ สำเร็จ หรือไม่อยู่ที่ผู้มีอำนาจ แต่คนที่มีอำนาจคือ สมาชิกรัฐสภา อำนาจอื่นไม่มี มีแต่สมาชิกรัฐสภา จะตัดสินใจให้รัฐธรรมนูญ สำเร็จหรือไม่ หากพวกเรากันเอง พูดเสียดสี ให้ร้าย ตลอดเวลาก่อให้ความรู้สกไม่ดี ดูหมิ่น ต่อกันเหตุผลอหล่านี้ คือ ทำให้รัฐะรรมนูญผ่านหรือไม่ ผ่านไม่เกี่ยวรับมอบอำนาจ สุดท้ายผ่านหรือไม่ อยู่ทีเ่หตุผล ที่ได้พิจารรณาในห้องประชุม วุฒิสภายืนยันทำหน้าที่ปกป้องสถาบันอย่างเต็มที่ไม่เปิดช่องทาให้มีรัฐธรรมนูยใหม่ ก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการวิจารณ์ แสดงออกสถาบันของเรานั้นเสื่อมศรัทธาและไม่มั่นคง” นายเสรี กล่าว
         ผู้สื่อข่าวรายงานว่าข้อถกเถียงดังกล่าวไม่สามารถได้ข้อยุติ และอาจทำให้กลายเป็นปัญหาขึ้นได้ ทำให้นายพรเพชร วิชิตชลชัย รองประธานรัฐสภาจึงขอให้พักการประชุม เมื่อเวลา 17.42 น.