ดัขนีเชื่อมั่นผู้ประกอบการฟื้นขานรับโควิด-19คลี่คลาย

ดัขนีเชื่อมั่นผู้ประกอบการฟื้นขานรับโควิด-19คลี่คลาย

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง เปิดผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในอีก 6 เดือนข้างหน้า เริ่มปรับตัวดีขึ้น หลังจากปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจในเดือนก.พ.ยังชะลอตัว

วุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นต่ออนาคตเศรษฐกิจไทยในเดือนก.พ.ที่ผ่านมา ที่สำรวจผ่านสำนักงานคลังจังหวัดทั่วประเทศ, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นดังกล่าวชี้แนวโน้มความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากคาดการณ์ว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่มีแนวโน้มคลี่คลายลง อย่างไรก็ตามแนวโน้มความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลยังชะลอตัว

จากการสำรวจในทุกภูมิภาคในเดือนก.พ.ที่ผ่านมาพบว่า ในทุกภาค ดัชนีความเชื่อมั่นดังกล่าวสูงเกินกว่า 50 โดยมีภาคใต้ มีดัชนีสูงสุดที่ 58.3 ซึ่งการที่ดัชนีสูงเกิน 50 นั้นแสดงว่ามีแนวโน้มความเชื่อมั่นคาดการณ์ 6 เดือนข้างหน้า จะอยู่ในระดับที่ดีกว่าปัจจุบัน

ทั้งนี้ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคใต้อยู่ที่ระดับ 58.3 แสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตร เนื่องจากความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับยางพาราเพิ่มสูงขึ้น อาทิ ถุงมือแพทย์ ถุงยางอนามัย ยางยืด ยางรถยนต์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากนโยบายของรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางอย่างต่อเนื่อง

สำหรับการปรับประมาณการการขยายตัวเศรษฐกิจในปีนี้อีกครั้ง จะมีขึ้นในเดือนเม.ย.นี้ โดยมีปัจจัยที่สำคัญต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจคือ ผลของการฉีดวัคซีนโควิด-19,จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ สามารถเข้ามาได้ตามเป้าหมาย 5 ล้านคนหรือไม่,การส่งออกจะขยายตัวได้ตามเป้าหมายหรือไม่ รวมถึงปัญหาภัยแล้งภายในประเทศที่ส่งผลต่อภาคการเกษตร

ส่วนภาวะเศรษฐกิจในเดือนม.ค.2564 ส่งสัญญาณชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้า ทั้งในด้านการใช้จ่ายภายในประเทศ และในด้านการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นผลจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นตั้งแต่กลางเดือนธ.ค.ที่ผ่านมา อย่างไรก็ดีการส่งออกสินค้ายังขยายตัวได้ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า

สำหรับการปรับประมาณการการขยายตัวเศรษฐกิจในปีนี้อีกครั้ง จะมีขึ้นในเดือนเม.ย.นี้ โดยมีปัจจัยที่สำคัญต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจคือ ผลของการฉีดวัคซีนโควิด-19,จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ สามารถเข้ามาได้ตามเป้าหมาย 5 ล้านคนหรือไม่,การส่งออกจะขยายตัวได้ตามเป้าหมายหรือไม่ รวมถึงปัญหาภัยแล้งภายในประเทศที่ส่งผลต่อภาคการเกษตร

ส่วนภาวะเศรษฐกิจในเดือนม.ค.2564 ส่งสัญญาณชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้า ทั้งในด้านการใช้จ่ายภายในประเทศ และในด้านการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นผลจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นตั้งแต่กลางเดือนธ.ค.ที่ผ่านมา อย่างไรก็ดีการส่งออกสินค้ายังขยายตัวได้ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า