ไขปัจจัย “บอนด์ ยิลด์” ตัวชี้วัดทิศทางหุ้นขาขึ้น

 ไขปัจจัย “บอนด์ ยิลด์”   ตัวชี้วัดทิศทางหุ้นขาขึ้น

ช่วงนี้ดัชนีหุ้นไทยมีแรงขับเคลื่อนจากหุ้นขนาดใหญ่ ตามปัจจัยที่กลับมาโฟกัสเศรษฐทั่วโลกสามารถฟื้นตัวได้เต็มที หลังมีการส่งมอบและประกาศฉีดวัคซีนในประเทศต่างๆ รวมทั้งไทยที่เร่งการส่งมอบล็อตแรกเร็วขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในประเทศกลับมา

ช่วงนี้ดัชนีหุ้นไทยมีแรงขับเคลื่อนจากหุ้นขนาดใหญ่   ตามปัจจัยที่กลับมาโฟกัสเศรษฐทั่วโลกสามารถฟื้นตัวได้เต็มที หลังมีการส่งมอบและประกาศฉีดวัคซีนในประเทศต่างๆ รวมทั้งไทยที่เร่งการส่งมอบล็อตแรกเร็วขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในประเทศกลับมากล้าใช้จ่ายมากขึ้น

ประเด็นดังกล่าวจึงพลักดันทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนการลงทุน ด้วยการย้ายเม็ดเงินลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยเพื่อรอเข้าลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง    จนจึงทำให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตร หรือ บอนด์ ยิลด์ (Bond yield) สหรัฐอายุ 10 ปี ขึ้นมาทำสถิติสูงสุดในรอบ 1 ปี

โดยตัวเลขขึ้นมาแตะที่ระดับ  1.53 %  เช่นเดียวกันกับพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 10 ปี ขึ้นมาอยู่ที่ 1.32 % เกิดจากการเทขายตราสารหนี้ออกมาจนทำให้ราคาลดลงและดันผลตอบแทนเพิ่มสูงขึ้น

ก่อนหน้านี้ปรากฎการณ์หุ้น “GameStop”  ได้สร้างความกังวลใจทางการสหรัฐอาจออกกฎระเบียบเพิ่มเติมในตลาดการเงิน     หลังสภาคองเกรสได้ไต่สวนกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในกรณีดังกล่าวจนเกิดแรงขายทำกำไรระยะสั้นในกลุ่มเทคโนโลยี จนกดดันตลาดหุ้นโดยรวมให้เพิ่มขึ้นอย่างจำกัดและเข้าไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่น คือพันธบัตร แทนรวมทั้งเงินดิจิทัล

อย่างไรก็ตามเมื่อพอร์ตลงทุนในพันธบัตรลดลงมักจะเห็นราคาหุ้นปรับตัวขึ้นทันที แต่ด้วยปัจจุบันสินทรัพย์ดิจิทัลมีบทบาทมากขึ้น   จึงทำให้ในช่วงที่ผ่านมาเห็นราคาสินทรัพย์ในกลุ่มนี้ปรับตัวสูงขึ้นมาแทน

ทั้ง  “บิทคอนย์  ที่ราคาทะลุ 50,000 ดอลลาร์  อีเธอร์เลียมแตะ 2,000 ดอลลาร์   หรือโดชคอนย์หรือเหรียญหน้าหมาชิบะที่ราคาขึ้นไปถึง 0.08 ดอลลาร์  จากการมีผู้เล่นทั้งรายใหญ่  เศรษฐีระดับโลก และสถาบันเข้ามาลงทุนจำนวนไม่น้อย  และเมื่อมาดูราคาของสกุลเงินดิจิทัลที่ว่ามาในตอนนี้ราคาล้วนปรับตัวลงมาแล้วเช่นกันเหมือนกับราคาพันธบัตร

ส่วนการลงทุนในตลาดหุ้นย่อมมองไปที่ตลาดพัฒนาแล้วจากเม็ดเงินมหาศาลที่เตรียมจะออกมากระตุ้นเศรษฐกิจหลังโควิดคลี่คลาย  ซึ่งตลาดสำคัญยกให้สหรัฐที่มีอีเวนใหญ่ให้ต้องปรับทิศทางลงทุนหลังคณะกรรมาธิการวุฒิสภาเห็นชอบงบลงทุนกระตุ้นเศรษฐกิจที่ประธานาธิบดีสหรัฐ “โจ ไบเดน เสนอ 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งคิวต่อไปต้องผ่านสภาครองเกสต่อ

สอดคล้องกับการเข้าชี้แจงต่อสภาครองเกรสของประธานธนาคารกลางสหรัฐ หรือ  FED  ในวันที่ 23-24 ก.พ. 2564    ซึ่งมีการจับตามองถ้อยแถลงจะออกมาโทนที่ผ่อนคลาย และให้ความมั่นใจถึงแนวนโยบายการเงินที่สนับสนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจต่อเนื่อง และนั้นจะมีผลต่อทิศทางของ Bond yield  ย่อตัวลงชั่วคราวได้ และอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกรีบาวด์อีกครั้ง

ขณะที่ตลาดหุ้นไทยเผชิญการปรับดัชนีเข้ามามีผลต่อการลงทุนจากดัชนีหลัก MSCI Rebalancing จะลดน้ำหนักหุ้นไทยลง -0.01% ใช้ราคาปิด 25 ก.พ. นี้ หรือคิดเป็นเม็ดเงินราว -41 ล้านดอลลาร์   และดัชนี  FTSE Rebalancing  ในวันที่ 19 มี.ค.หุ้นไทยถูกลดน้ำหนักเช่นกัน คิดเป็นเม็ดเงินราว -120 ล้านดอลลาร์

บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ทรีนีตี้ มองการย่อตัวลงของตลาดหุ้นในช่วงนี้เป็นเพียงปรากฏการณ์ชั่วคราว ที่เกิดขึ้นระหว่าง Period ของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งมักนำมาสู่การไต่ระดับขึ้นของ Bond yield  ทั่วโลก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด  

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะที่ผู้กำหนดนโยบายต่างๆยังคงมีแนวนโยบายที่ต้องการจะกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และในตัวนโยบายยังเอื้อให้เงินเฟ้อปรับตัวเกินระดับเป้าหมายได้บางเวลาอีกด้วย

เมื่อดูการปรับตัวของ Bond  yield  และคาดการณ์เงินเฟ้อของสหรัฐในรอบนี้ไม่กังวลมากนัก และกลับมองเป็นสิ่งที่ดีต่อตลาดหุ้น โดยหากBond  yield   สหรัฐรุ่น 10 ปียังปรับขึ้นไม่ถึง Threshold ที่ 2.0% และ Breakeven 10 ปีของสหรัฐยังไม่แตะระดับ 2.5% มองว่าการลงทุนในหุ้นยังเป็นสิ่งที่ดำเนินต่อไปได้ และยังสามารถโฟกัสไปกับธีม Reflation trade ได้ตามเดิม

รวมทั้งยังเป็นการตอกย้ำเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มกลับมาขยายตัวอย่างโดดเด่นตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป ซึ่งมักเป็นภาวะที่หุ้นในกลุ่ม Value stocks เริ่มที่จะ Outperform หุ้นในกลุ่ม Growth จากการที่ Discount rate ในตลาดจะเริ่มปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้หุ้น Value ที่มี Valuation ต่ำไม่ได้รับผลกระทบ ผิดกับหุ้นในกลุ่มเติบโตที่จะได้รับผลกระทบจากการตีมูลค่าในอนาคตกลับมา ณ ปัจจุบัน