กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ (22 ก.พ.64)

กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ (22 ก.พ.64)

22-25 กุมภาพันธ์: ไซด์เวย์ต่อ ฟันด์โฟลว์ยังดูอ่อนแอ

แนวโน้มตลาดหุ้นยังคง sideways... ฟันด์โฟลว์ดูอ่อนแอในระยะสั้น

เมื่อสัปดาห์ก่อน (15-19 กุมภาพันธ์) ตลาดหุ้นไทยพักตัวเนื่องจากเม็ดเงินจากต่างชาติชะลอตัวลงท่ามกลางสภาวะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุยาวขยับสูงขึ้น และดัชนี US Dollar Index ผันผวน นอกจากนี้ ตลาดหุ้นจีนก็ไม่ได้ขยับขึ้นเมื่อกลับมาเปิดตลาดหลังตรุษจีนอย่างที่นักกลยุทธ์หลายแห่งเก็งไว้ เนื่องจากเกิดกระแสความกังวลเกี่ยวกับภาวะหนี้และอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินของจีน ซึ่งปัจจัยภายนอกดังกล่าวมีน้ำหนักมากกว่าตัวเลข GDP 4Q63 ซึ่งออกมาดีเกินคาด โดยหดตัวแค่ 4.2% YoY ดีกว่า consensus ที่คาดว่าจะหดตัวถึง 5.4% YoY อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบยังคงอยู่ใระดับสูง และนักลงทุนทั่วโลกยังให้ความสนใจกับภาวะเงินเฟ้ อโลก ดังนั้น หุ้นพลังงานของไทย ซึ่งถือเป็นหุ้นที่นักลงทุนใช้ป้ องกันความเสี่ยงเงินเฟ้ อจึงยังคง outperform และช่วยพยุงดัชนีเอาไว้ไม่ให้ลงลึก โดยสรุปแล้ว ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยพักฐานตามที่เราคาดเอาไว้ล่วงหน้าแล้ว

สำหรับในสัปดาห์นี้ ซึ่งมีจำนวนวันซื้อขายแค่ 4 วัน (22-25 กุมภาพันธ์) เรายังคงมองกลาง ๆ กับ

แนวโน้มดัชนี SET และคาดว่าตลาดน่าจะพักฐานต่อเนื่องจากเหตุผลดังต่อไปนี้ ข้อแรก เราเชื่อว่ารัฐสภาสหรัฐจะอนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งจะมีผลประมาณกลางเดือนมีนาคม หมายความว่าในระยะสั้นจะยังคงมีความไม่แน่นอนทางด้านนโยบายอยู่ ข้อสอง มุมมองของนักลงทุนเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ บวกกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้น จะยังคงหนุนให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐให้สูงขึ้น และจะทำให้ตลาดหุ้นโลกซึ่งมีราคาค่อนข้างแพงแล้วยิ่งผันผวนหนักขึ้น ถึงแม้ว่าหลักฐานทางสถิติจะชี้ว่าในระยะยาวผลตอบแทนของหุ้นมีสหสัมพันธ์เชิงบวกกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรจากการที่เศรษฐกิจ และกำไรของบริษัทจดทะเบียนฟื้นตัวขึ้น แต่ราคาหุ้นในระยะสั้นอาจจะถูกกดดัน โดยเฉพาะเมื่อผู้เล่นในตลาดได้ discount กระแสข่าวบวกไปบ้างแล้ว อย่างไร
ก็ตาม สำหรับการลงทุนในระยะยาว เรายังคงมองว่าน่าซื้อเมื่อตลาดย่อลง

ติดตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ และกระแสข่าวเรื่องมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

       (0/-) อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐจะเป็นตัวกำหนดสภาวะความเสี่ยงของตลาด ถึงแม้ว่าข้อมูลตลาดแรงงานในสหรัฐจะยังคงอ่อนแอและขาดเสถียรภาพ แต่การที่ราคาสินค้านำเข้าของสหรัฐและ อัตราเงินเฟ้อฝั่งผู้ผลิต (PPI) ขยับสูงขึ้น บวกกับการที่ตลาดหวังไว้มากว่าสภาของสหรัฐจะผ่านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาได้ จะยังคงขับเคลื่อนให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐสูงขึ้นอีก ทั้งนี้ จากเหตุผลดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น เราจึงมองว่ากระแสการลงทุนจากต่างชาติน่าจะชะลอตัวลงในระยะสั้น เนื่องจากผลกระทบหลายทอดของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่สูงขึ้น นอกจากนี้ เมื่ออิงจากจากวิเคราะห์ earnings yield gap เราพบว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอายุ 10 ปีที่ 1.50% และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยอายุ 10 ปีที่ 1.70% จะกดให้ forward P/E ของตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ 17.1x คิดเป็นดัชนี SET ที่ประมาณ 1,450 จุดโดยอิงจาก EPS กลางปี 2565

       (+) ศบค. จะตัดสินใจว่าจะผ่อนคลายมาตรการเว้นระยะทางสังคมเพิ่มอีกหรือไม่ ในวันนี้ (22 กุมภาพันธ์) ศบค. น่าจะประกาศผ่อนคลายกิจกรรมทางธุรกิจเพิ่มเติมอีก ซึ่งรวมถึงส่วนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจร้านอาหาร และสถานบันเทิงด้วย เราเชื่อว่าความคืบหน้าด้านบวกในเรื่องนี้จะทำให้การบริโภคภาคเอกชน และสภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น และช่วยจำกัดความรุนแรงของการหดตัวของ GDP YoY ใน 1Q64

ยังคงเน้นหุ้น mid-cap ที่กำไรมีแนวโน้มแข็งแกร่ง และหุ้นในธีมของการกลับมาเปิดเศรษฐกิจอีกรอบ

เนื่องจากเรามองว่าดัชนี SET น่าจะพักฐานต่อ เราจึงมองว่าหุ้น large-cap ส่วนใหญ่น่าจะขยับอยู่ในช่วงแคบ ๆ และยังคงเน้นธีมการคัดหุ้นเหมือนกับช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ธีมแรกคือหุ้นกลุ่มที่ผลประกอบการ 4Q63 น่าจะออกมาแข็งแกร่ง และจะยังคงแข็งแกร่งต่อเนื่องในปี 2564 ได้แก่ JMART*, JMT*, RS* และ COM7* ธีมที่สอง คือกลุ่มที่จะได้อานิสงส์จากการกลับมาเปิดเศรษฐกิจแบบมีเงื่อนไขตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ และน่าจะมีการเปิดเพิ่มต่ออีกในสัปดาห์นี้ โดยเราคาดว่าในวันนี้ศบค. จะประกาศผ่อนคลายเกณฑ์การเว้นระยะห่างทางสังคมเพิ่มเติมอีก ซึ่งเรามองว่า CPN*, SPA และ AU จะเป็นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นในกรุงเทพ