เจโทร-บีโอไอ หนุนดิจิทัล ลงทุนยกระดับการผลิต

เจโทร-บีโอไอ หนุนดิจิทัล ลงทุนยกระดับการผลิต

เจโทร จับมือ บีโอไอ เพื่อสนุบสนุนผู้ประกอบการไทยและญี่ปุ่น ดิจิทัลยกระดับการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่มขีดความสามารถรับการแข่งขันเดือด หลังโลกเร่งปรับแผนไลน์การผลิต สอดรับการเปลี่ยนแปลงหลังโควิด

อัทสึชิ ทาเคทานิ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทรกรุงเทพฯ) เปิดเผยในสัมมนาออนไลน์ เรื่อง Thailand-Japan Collaboration on JETRO Manufacturing Digital ว่า ที่ผ่านมาการลงทุนของผู้ประกอบการญี่ปุ่นได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) มาตลอด แต่การนำระบบดิจิทัลมาใช้ในระบบการผลิตเป็นเรื่องใหม่ที่รัฐบาลไทยสนใจ เพราะสอดคล้องนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่ช่วยผลักดันนักลงทุนหลายประเทศมาลงทุนไทย

ทั้งนี้ การสนับสนุนให้นำระบบดิจิทัลมาใช้ในระบบการผลิตมากขึ้นจะสร้างมูลค่าเพิ่ม และเพิ่มขีดความสามารถขึ้น โดยเฉพาะช่วงโควิด-19 ที่ทั่วโลกมีแผนปรับไลน์การผลิตที่เป็นเรื่องสำคัญที่ส่งผลต่อการแข่งขัน

ในขณะที่การสำรวจความต้องลงทุนด้านดิจิทัลของผู้ประกอบการในไทย พบว่า กว่า 40 ประเทศยังไม่คำนึงเรื่องนี้ ดังนั้น เจโทรจึงพร้อมร่วมกับรัฐบาลไทยผลักดันให้บริษัทไทย และบริษัทญี่ปุ่นในไทยใช้ระบบดิจิทัล

ดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการบีโอไอ กล่าวว่า บีโอไอต้องการสนับสนุนผู้ประกอบการให้ใช้ดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งการสัมมนาครั้งนี้มีการจับคู่ธุรกิจทางออนไลน์ด้วย โดยเป็นประโยชน์กับเอสเอ็มอีไทยและญี่ปุ่น เพราะไทยอยู่ช่วงเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจ รัฐบาลจึงยกระดับการเศรษฐกิจของประเทศ บีโอไอจึงต้องดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่อการแข่งขัน

ทั้งนี้ ที่ผ่านมามีมาตรการที่หลากหลาย เพื่อสนับสนุนการลงทุนดิจิทัล รวมทั้งมีบทบาทในการพัฒนาผู้ประกอบการไทยเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการรายใหญ่ทั้งในและต่างประเทศเพื่อลดต้นทุน ลดสัดส่วนการนำเข้าในห่วงโซ่การผลิต และยกระดับในอุตสาหกรรมที่ไทยมีจุดแข็ง เช่น อุตสาหกรรม ยางรถยนต์ อุตสาหกรรมการเกษตร เพื่อดึงการลงทุนจากต่างประเทศ

161356751585

161355893573

อิสริยา เฉลิมศิริ นักวิชาการส่งเสริมการลงทุนระดับชำนาญการ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน บีโอไอ กล่าวว่า บีโอไอออกมาตรการที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมให้นำดิจิทัลใช้ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ

สำหรับมาตรการที่น่าสนใจกรณีการปรับปรุงประสิทธิภาพดิจิทัลที่มีอยู่เดิม แต่มีเป้าหมายประหยัดพลังงาน สร้างพลังงานทดแทน รักษาสิ่งแวดล้อม โดยต้องปรับปรุงเครื่องจักรเป็นระบบอัตโนมัติ รวมถึงการลงทุนวิจัยพัฒนาและยกระดับมาตรฐานการผลิตได้มาตรฐานสากลจะนำค่าใช้จ่ายทั้งหมดนำมาขอรับสิทธิประโยชน์ คือ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% ของวงเงินลงทุนเป็นเวลา 3 ปี

รวมทั้งมาตรการล่าสุด คือ การลงทุนด้านดิจิทัลเทคโนโลยี ซึ่งต้องลงทุนเพื่อพัฒนาวงเงิน 1 ล้านบาท ขึ้นไป โดยมีเงื่อนไขนำซอฟแวร์มาเชื่อมโยงระบบ เช่น การผลิตรถยนต์ที่มีระบบดิจิทัลอยู่แล้ว แต่ต้องการสร้างระบบคลาวด์เก็บข้อมูลติดตามรถที่ผลิตทุกคัน รวมถึงการนำซอฟแวร์มาเชื่อมบริการออนไลน์ ซึ่งบริษัทไทยจะได้รับยกเว้นนิติบุคคล 100% กรณีบริษัทต่างประเทศจะนำค่าใช้จ่ายมาพิจารณาลดภาษี 50% แต่ต้องดำเนินการเสนอแผนภายในปี 2565

ไพฑูรย์ จิรานันตรัตน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทเอสซีจี โลจิสติกส์ แมเนจเม้นท์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทต้องมีดิจิทัลทรานฟอเมชั่น เพราะการแข่งขันในธุรกิจโลจิสติกส์สูงมาก กำไรน้อยจึงต้องดิสทรัปชั่นตัวเองก่อนเทคโนโลยีจะมาดิสทรัปชั่นจนตั้งรับไม่ได้

ส่วนประโยชน์ที่ได้ คือ ลูกค้าได้ต้นทุนที่ถูกลง รับสินค้าเร็วและได้สินค้าที่มีคุณภาพ โดยการนำดิจิทัลเข้ามาใช้ในโลจิสติกส์มีหลากหลายรูปแบบ เช่น รถบรรทุก หุ่นยนต์ โดรน แต่การใช้โดรนยังมีปัญหากฎระเบียบการห้ามบินในพื้นที่หวงห้าม

ทั้งนี้ตามแผน NEW SCG logistics-digitalization ซึ่งใช้เทคโนโลยีตั้งแต่การรับออเดอร์ กำหนดวันส่งสินค้า การจัดเรียงสินค้า ตรวจเช็คความพร้อมของรถ มีระบบวางแผนการจัดส่งออโตเมติก ระบุขนาดน้ำหนักสินค้า รถขนส่ง รายละเอียดการติดตามที่คำนวณแม่นยำ

ทุกขั้นตอนใช้หุ่นยนต์มาช่วยจะลดคนงานได้ 18-20 คน ทำให้ต้นทุนลดลงและทำงานไม่พลาด มีประสิทธิภาพและเทียบกับการใช้คนรับออเดอร์ในระบบเอ็กเซล ซึ่งที่ผ่านมามีปัญหาส่งสินค้าสลับกันจึงตัดสินใจลงทุนดิจิทัลที่ตรวจเช็คได้ทั้งสินค้าและผู้ส่งสินค้า ในขณะที่ลูกค้าโต้ตอบได้ผ่านระบบ AI ซึ่งเริ่มแล้วในไทยและอยู่ระหว่างดำเนินการในอาเซียน

161355907411

กิตติ ชั้นเชิงกิจ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอส.พี.เมทัลพาร์ท จำกัด กล่าวว่า เดิมการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์จะควบคุมด้วยระบอนาล็อก ซึ่งได้ข้อมูลที่ไม่เรียลไทม์จึงใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลมาควบคุม ซึ่งได้ศึกษาหลายระบบแต่ไม่ตอบโจทย์ ดังนั้นจึงให้ฝ่ายไอทีพัฒนาคิดแพลตฟอร์มที่เหมาะสมกับระบบการผลิตของบริษัท ซึ่งใช้เวลาเพียง 1 ปี ก็สำเร็จและผลน่าพอใจ แม้จะใช้เงินลงทุนไปมาก แต่ต้องพัฒนาเพื่อก้าวให้ทันการแข่งขัน

ทั้งนี้ S.P.พร้อมสนับสนุนองค์การที่ต้องการนำแพลตฟอร์มของบริษัทไปต่อยอด มาตรการของบีโอไอจะเป็นประโยชน์ต่อพัฒนาดิจิทัลของเอสเอ็มอีได้เร็วขึ้น

โยชิฮิโระ สุมิ ผู้จัดการสายการผลิต ระบบวิชันของสายผลิตภัณฑ์ บริษัทคีย์เอ็นซ์ (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวว่า การนำดิจิทัลมาวิเคราะห์และสร้างข้อมูลจะช่วยให้แม่นยำขึ้น แต่ปัญหาที่พบ คือ ความไม่เข้าใจของผู้ประกอบการ ทำให้การเชื่อมต่อทำได้ยาก ช่วงการการเปลี่ยนผ่าน บริษัทจึงต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์หลายกลุ่มเพื่อรองรับ

ทาคาโอะ โทมิตะ รองประธานอาวุโส บริษัท โตโยต้าทูโช (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวว่า โตโยต้าฯ เข้าทำธุรกิจในไทย 63 ปีแล้ว โดยมองตลาดไทยต้องการอะไรที่เรียบง่าย ต้นทุนไม่สูง การนำดิจิทัลมาใช้จึงค่อยปรับแล้งฟังผลตอบรับ เพื่อนำมาพัฒนาและสร้างโซลูชั่น ให้ตอบสนองได้ดียิ่งขึ้น