'เอ็นไอเอ' แจ้งเกิดนวัตกรรมแแพทย์ ส่ง'ห้องแรงดันลบ-เครื่องวัดสัญญาณชีพฯ' สู้โควิด

'เอ็นไอเอ' แจ้งเกิดนวัตกรรมแแพทย์ ส่ง'ห้องแรงดันลบ-เครื่องวัดสัญญาณชีพฯ' สู้โควิด

“เอ็นไอเอ” เผยปี 63 แจ้งเกิดนวัตกรรมแพทย์ - บรรเทาโควิดกว่า 20 โครงการ โชว์ 2 นวัตกรรมสุดเจ๋ง “ห้องแรงดันลบแยกผู้ป่วยอาการหนักแบบถอดประกอบได้ – เครื่องวัดสัญญาณชีพระยะไกล” อาวุธป้องกันความปลอดภัยเพื่อแพทย์และพยาบาล

พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวว่า ตั้งแต่สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในปีที่ผ่านมา NIA ได้สนับสนุนนวัตกรรมทางการแพทย์เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการระบาดไปแล้วกว่า 20 โครงการ ภายใต้วงเงินสนับสนุนกว่า 50 ล้านบาท ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีศักยภาพด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ ซึ่งในปี 2564 นี้ NIA ยังคงให้ความสำคัญและผลักดันธุรกิจนวัตกรรมทางการแพทย์ และสตาร์ทอัพในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง โดยวางแผนพัฒนา “นวัตกรรมการแพทย์โยธี(YMID)” ให้เป็นพื้นที่ต้นแบบในการพัฒนานวัตกรรมการแพทย์ของประเทศ เพื่อขับเคลื่อนเศษฐกิจและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการบริการ เทคโนโลยีการแพทย์ที่ทันสมัยของประชาชน

161304741449

ซึ่งจะร่วมมือกับสตาร์ทอัพ นักลงทุนในสาขาต่าง ๆ นักพัฒนาด้านเทคโนโลยีและเครื่องมือแพทย์ เพื่อลดต้นทุนในการนำเข้ายาและเครื่องมือทางการแพทย์จากต่างประเทศ พร้อมปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์และยกระดับมุมมองของมาตรฐานการแพทย์ไทยสู่มาตรฐานโลก สร้างเครือข่ายผู้ประกอบการและวิสาหกิจเริ่มต้นภายในย่าน พัฒนาระบบแรงจูงใจเพื่อเป็นตัวกระตุ้น ดึงดูดให้เกิดการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ และพัฒนาที่ดินรวมทั้งการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ใน 3 ด้านได้แก่ 1.ธุรกิจนวัตกรรมการดูแลสุขภาพ (Healthcare Business) เป็นการพัฒนานวัตกรรมทั้งรูปแบบผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อมุ่งเน้นการลดค่าใช้จ่ายระบบสาธารณสุขของประเทศ ทำให้ปัญหาการเข้าถึงการรักษา ความผิดพลาดในการวินิจฉัย และการขาดการติดตามสุขภาวะ

2.ธุรกิจอาหารทางการแพทย์และผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ (Novel Food & Natural product) เป็นการพัฒนาอาหารและสารสกัดธรรมชาติที่ปรุงขึ้นมาเฉพาะและมีสูตรที่แน่นอน เพื่อการบำบัดโรค/ลดความเสี่ยงเป็นโรค โดยสามารถพิสูจน์และผ่านการรับรองความปลอดภัย ที่มีผลการทดสอบทางคลินิกยืนยันประสิทธิภาพ และ 3.ธุรกิจนวัตกรรมการบริการทางการแพทย์ (Service platform) เป็นการพัฒนาระบบเชื่อมต่อข้อมูลด้านการแพทย์ รวมถึงระบบบริหารจัดการสถานพยาบาล ที่จำเป็นต้องพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ภายใต้ข้อจำกัดด้านกำลังคน และงบประมาณด้วยผลิตภัณฑ์หรือระบบทางการแพทย์และสุขภาพ ลดความแออัดของสถานพยาบาล เพิ่มความสะดวกรวดเร็วและการเข้าถึงการให้บริการ

 

         

ด้านนพ.ณัฐวุฒิ ตันฑเทอดธรรม หุ้นส่วนผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เมดิออท ผู้คิดค้นนวัตกรรม Smart Pulz เครื่องมือวัดสัญญาณชีพ อัตราการเต้นของหัวใจระยะไกล ส่งข้อมูลถึงมือคุณหมอด้วยระบบ IoT บนสมาร์ทโฟน กล่าวว่า เครื่องวัดสัญญาชีพ “Smart Pulz” มีจุดเริ่มต้นจากกรณีที่คนไข้มีอาการแย่ลงในช่วงที่แพทย์หรือพยาบาลไม่ได้ตรวจวัดสัญญาณชีพ ทำให้คนไข้บางรายอาจถึงขั้นเสียชีวิต ดังนั้น จึงเริ่มคิดค้นนวัตกรรมที่จะช่วยให้พยาบาลสามารถติดตามสัญญาณชีพของคนไข้ได้ตลอด 24 ชั่วโมงโดยที่ไม่ต้องนั่งเฝ้า ในช่วงแรกได้มีการใช้นวัตกรรม Smart Pulz กับผู้ในห้อง ICU ทั่วไปเท่านั้น แต่ในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทางบริษัทเห็นว่าสามารถนำมาใช้เพื่อลดความเสี่ยงในการสัมผัสผู้ป่วยติดเชื้อให้แก่แพทย์ และพยาบาลได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นการทำงานผ่านระบบ IOT พยาบาลไม่ต้องเข้าไปสัมผัสผู้ป่วยโควิด-19 โดยตรง และยังช่วยประหยัดชุด PPE ได้อีกด้วย แต่ปัจจุบันระบบยังมีข้อจำกัดในเรื่องของการเชื่อมต่อไวไฟ และในขณะที่ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวตัวบ่อย ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบได้ดียิ่งขึ้น

  161304743578

ด้านนายวรเสน ลีวัฒนกิจ กรรมการผู้จัดการบริษัท วินด์ชิลล์ จำกัด  ผู้ผลิตห้องแยกผู้ป่วยติดเชื้อ โควิด-19 อาการหนักแบบถอดประกอบได้ กล่าวว่า ช่วงที่ประเทศไทยเกิดการระบาดของเชื้อโควิด-19 อย่างหนัก  ส่งผลให้โรงพยาบาลขาดแคลนห้องแยกผู้ป่วยอาการหนัก (ICU) ซึ่งมีจำนวน 5% ของผู้ป่วยทั้งหมด ดังนั้นจึงต้องเร่งก่อสร้างให้ทันท่วงที โดย NIA ได้ให้การสนับสนุนเงินทุนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยี ที่สามารถผลิตได้อย่างรวดเร็ว และเป็นไปตามมาตรฐานสากลเพื่อส่งมอบให้แก่โรงพยาบาลต่าง ๆ ได้ทันต่อสถาณการณ์ ดังนั้นบริษัทจึงได้ออกแบบและผลิต ห้องแยกผู้ป่วยโควิด-19 อาการหนักที่ได้มาตรฐาน ANSI/ASHRAE 170 และผลิตได้อย่างรวดเร็วใช้เวลาเพียง 1-3 เดือนเท่านั้น  โดยใช้เทคโนโลยี Building Information Modeling (BIM) ในการออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง 

161304745513

ซึ่งเป็นการออกแบบ 3 มิติ ร่วมกับการใช้เทคโนโลยี Modular Design และ การผลิตแบบ Pre-Fabrication ซึ่งสามารถทำให้ผลิตได้อย่างรวดเร็ว ส่วนการควบคุมการติดเชื้อทางอากาศเพื่อป้องกันไม่ให้คนไข้โควิด-19 แพร่เชื้อโรคไปยังผู้ป่วยอื่นรวมทั้งบุคลกรทางการแพทย์  ทำโดยใช้เกณฑ์การออกแบบตามมาตรฐาน ANSI/ASHRAE Standard 170 ใช้มาตรฐานเครื่องมือแพทย์ISO 13485 รวมทั้งใช้วิศวกรออกแบบที่ได้รับรอง ASHRAE Certified Professional เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งมีหลักการทางวิศวกรรมที่สำคัญคือ ควบคุมแรงดันห้องให้เป็นลบ และควบคุมทิศทางการไหลของอากาศภายในห้องผู้ป่วยไม่ให้แพร่กระจายใช้การกรองผ่าน HEPA Filter ใช้การเติมอากาศใหม่ในปริมาณที่เหมาะสม  รวมทั้งจัดการอากาศเสียจากผู้ป่วย ไม่ให้แพร่กระจายไปยังที่อื่น ซึ่งขณะนี้บริษัทได้ติดตั้งห้องแยกผู้ป่วยอาการหนักแบบถอดประกอบได้ ไปแล้วหลายโรงพยาบาล  โดยเฉพาะโรงเรียนแพทย์ต่าง ๆ  เช่น โรงพบาบาลรามาธิบดี  โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า  โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  สถาบันการแทพย์จักรีนฤบดินทร์ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทย์ศิริราชพยาบาล โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นต้น