‘เฟซบุ๊ค’ เปิด 4 ข้อ หนุน ‘เยาวชน’ ท่องเน็ตอย่างชาญฉลาด 

‘เฟซบุ๊ค’ เปิด 4 ข้อ หนุน ‘เยาวชน’ ท่องเน็ตอย่างชาญฉลาด 

ช่วงปีที่ผ่านมา ผู้คนใช้เวลาบนโลกออนไลน์มากขึ้นอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยเฉพาะเด็กๆ และเยาวชนที่ไม่ได้ใช้อินเทอร์เน็ตเพียงเพื่อการติดต่อพูดคุยกับเพื่อนหรือหาข้อมูลทำรายงาน แต่ยังรวมไปถึงการเรียนออนไลน์กันแบบเต็มเวลา

ตั้งคำถามก่อนแชร์

เคล็ดลับที่ 3.สอนให้เด็กๆ รับผิดชอบต่อสิ่งที่พวกเขาทำบนโลกออนไลน์ พ่อแม่หลายคนต้องการปกป้องลูกๆ จากอันตราย และคิดว่าพฤติกรรมบนโลกออนไลน์ของลูกๆ เป็นความรับผิดชอบของพ่อแม่ แต่ที่จริงแล้ว พ่อแม่ควรพูดคุยกับลูกให้เข้าใจว่าพวกเขาจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองบนโลกอินเทอร์เน็ต

เช่นเดียวกับที่พวกเขาจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองในชีวิตจริง โดยก่อนที่พวกเขาจะแชร์ข้อมูลใดบนโซเชียลมีเดีย พ่อแม่ควรตั้งคำถามเพื่อให้พวกเขาได้ไตร่ตรองว่าผู้อื่นจะตีความเนื้อหานั้นว่าอย่างไร

โดย คำถามที่สามารถใช้ถามได้ เช่น เนื้อหานี้สามารถทำให้คนอื่นเข้าใจผิดได้หรือไม่ คนอื่นจะมองลูกว่าอย่างไร เนื้อหานี้เป็นการดูถูก รังแก หรือทำร้ายผู้อื่นหรือไม่ สิ่งที่เลวร้ายที่สุดที่อาจเกิดขึ้นจากการแชร์เนื้อหานี้คืออะไร

สุดท้าย 4.แสดงให้เห็นถึงวิธีการควบคุมการใช้งาน พ่อแม่ควรรู้วิธีการที่จะปกป้องความเป็นส่วนตัว และสอนวิธีการที่ง่ายและมีประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัยให้แก่ลูกๆ เช่น บนเฟซบุ๊คควรใช้การยืนยันตัวตนแบบสองชั้น (two-factor authentication) เพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับบัญชีออนไลน์ และสอนให้พวกเขาควบคุมสิ่งที่เห็นในฟีดข่าวด้วยการคลิกไปที่สัญลักษณ์จุดสามจุดที่อยู่ด้านบนขวาของโพสต์

ทั้งนี้ หากพวกเขาไม่ชอบเรื่องราวใดก็ตามที่ปรากฏอยู่บนฟีดข่าว พวกเขาสามารถซ่อนเนื้อหานั้นได้ หากพวกเขาไม่ต้องการเห็นโพสต์จากผู้ใช้คนใดคนหนึ่ง พวกเขาสามารถเลิกติดตามหรือซ่อนผู้ใช้คนนั้นๆ ได้ ขณะเดียวกันพวกเขายังสามารถแสดงความคิดเห็นหรือรายงานโพสต์ที่มีเนื้อหารังแกผู้อื่นได้ 

“แน่นอนว่าการเป็นพ่อแม่เป็นประสบการณ์ที่ท้าทาย และในยุคดิจิทัลพ่อแม่ยังมีหน้าที่รับผิดชอบเพิ่มขึ้นในการดูแลลูกๆ ให้ปลอดภัยบนโลกออนไลน์”