เช็คราคาทอง! ย้อนรอย 'ทองคำ' แพงขึ้นแค่ไหนช่วง 'ตรุษจีน' 5 ปีล่าสุด

เช็คราคาทอง! ย้อนรอย 'ทองคำ' แพงขึ้นแค่ไหนช่วง 'ตรุษจีน' 5 ปีล่าสุด

ช่วงเทศกาล "ตรุษจีน" หนึ่งในรูปแบบ "แต๊ะเอีย" ที่นิยมมอบให้กัน นั่นคือ "ทองคำ" ทั้งทองรูปพรรณ และ ทองคำแท่ง แล้วปีนี้ "ราคาทอง" มีการปรับตัวสูงขึ้นมากน้อยแค่ไหน? พร้อมเปรียบเทียบ 5 ปีย้อนหลัง

"ตรุษจีน" นับเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามปฏิทินจีน ซึ่ง "ตรุษจีน 2564" ปีนี้ตรงกับวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564 และยังเป็นวันรวมญาติพี่น้องอีกด้วย ที่จะเดินทางไปหาญาติผู้ใหญ่เพื่ออวยพรเนื่องในวันขึ้นปีใหม่จีน โดยตามธรรมเนียมแล้ว ผู้ที่มีอายุมากกว่าและทำงานแล้ว จะให้ แต๊ะเอียหรืออั่งเปากับเด็กหรือผู้ที่มีอายุน้อยกว่า ไม่เพียงแต่เป็นเงินสดเท่านั้น อีกหนึ่งสิ่งที่นิยมมอบให้แก่กัน คือ ทองคำ ไม่ว่าจะเป็น "ทองรูปพรรณ" หรือ "ทองแท่ง" 

สำหรับปีนี้เนื่องด้วยสถานการณ์ทั่วโลกที่ต้องเผชิญสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก หนึ่งในเรื่องที่หลายคนสังเกตเห็นคือ ราคาทองคำ ที่สูงขึ้น จากการเป็นสินทรัพย์หลบภัย (Safe Heaven) เพราะสินทรัพย์ประเภทหุ้นมีความผันผวนสูง ทำให้ช่วงปี 2563 ที่ผ่านมา ราคาทองได้ทำสถิติพุ่งทะลุ 30,000 บาท 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :  

"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" จะพาไปส่องราคาทองช่วงตรุษจีนปีนี้กันว่าราคาจะอยู่ที่เท่าไร? พร้อมเปรียบเทียบกับราคาทองคำย้อนหลัง 5 ปี ต่างกันมาแค่ไหน สูงขึ้นเท่าไร?

โดยในปี 2564 นับเป็นปีที่ 2 ที่ประเทศไทยและทั่วโลกต้องเผชิญกับวิกฤติโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของประชาชน ทำให้บรรดากูรูทองคำฟันธงว่า บรรยากาศการซื้อทองคำในช่วงตรุษจีนในสัปดาห์หน้าจะไม่กลับมาไม่คึกคัก

ด้าน "จิตติ ตั้งสิทธิ์ภักดี" ประธานกรรมการ บริษัท ห้างขายทอง จินฮั้วเฮง และนายกสมาคมค้าทองคำ เปิดเผยว่า บรรยากกาศการซื้อทองคำช่วงตรุษจีนในสัปดาห์นี้คงไม่คึกคักเหมือนในอดีต แม้ปิดตลาดสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาทองร่วงลงมาค่อนข้างมาก พอทำให้บรรยากาศการซื้อทองคำอาจดีกว่าช่วงปกติ แต่ด้วยผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ กำลังซื้อยังไม่ฟื้นตัวทำให้การใช้จ่ายสินค้าฟุ่มเฟือยยังลดลง อีกทั้งความนิยมซื้อทองเพื่อของกำนัลหรือโบนัสลดลง และส่วนใหญ่นิยมซื้อไปแล้วในช่วงเทศกาลปีใหม่

ตอกย้ำภาพบรรยากาศการซื้อขายทองที่ค่อนข้างจะเงียบเหงาในปีนี้ "ณัฐพงศ์ หิรัณยศิริ" ประธานฝ่ายบริหาร บริษัท MTS GOLD GROUP กล่าวว่า แม้ราคาทองคำลดลงในสัปดาห์ที่ผ่าน และหลายๆ สัปดาห์ราคาทองคำเริ่มปรับฐานลง

แต่บรรยากาศในการซื้อทองคำช่วงตรุษจีนในปีนี้ยังไม่คึกคักเช่นเดียวกับจีน เนื่องจากผลกระทบการเดินทางที่ไม่สามารถทำได้ในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ และการบริโภคเพื่อการลงทุนทองคำแท่งซึ่งเคลื่อนไหวตรงข้ามกับการลงทุนในสกุลเงินดอลลาร์  พร้อมทิศทางราคาโลหะเงินรอบนี้กลับเป็นตัวนำราคาทองคำ แต่เมื่อราคาโลหะเงินปรับตัวลงจะเป็นปัจจัยกดดันให้ราคาทองปรับลงได้

161304013817

อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ :   ‘ราคาทอง’ ช่วงตรุษจีน ปรับตัวลงแต่ตลาดยังซบ

โดยราคาช่วงก่อนวันตรุษจีน วันที่ 11 ก.พ.2564 ราคาขายออกของทองรูปพรรณ (เปิดตลาด) อยู่ที่บาทละ 26,550 บาท ส่วนราคาทองแท่งอยู่ที่บาทละ 26,050 บาท

ทั้งนี้หากเปรียบเทียบกับราคาทองช่วงวันตรุษจีน ปี 2563 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 มี.ค.2563 จะเห็นว่าราคาขายออกทองในปี 2564 ทั้งทองรูปพรรณและทองแท่งสูงกว่ามาก สูงกว่าบาทละ 3,350 บาท 

ขณะที่เปรียบเทียบปี 2563 กับปี 2562 พบว่า ราคาขายออกทองปี 2563 สูงกว่า โดยทั้งทองรูปพรรณและทองแท่งสูงกว่าบาทละ 3,200 บาท 

ส่วนถ้าเปรียบเทียบปี 2562 กับปี 2561 พบว่าราคาขายออกทองที่สูงขึ้นนั้น ไม่ได้สูงขึ้นกว่ามากเท่าใด ยังอยู่ในหลักร้อยบาท โดยสูงกว่าบาทละ 150 บาทเท่านั้น และในปี 2559 พบว่าราคาขายออกทองต่ำกว่าปี 2560 โดยทองรูปพรรณราคาขายออกต่ำกว่าบาทละ 300 บาท ส่วนทองแท่งต่ำกว่าบาทละ 250 บาท 

ที่มา :  ทองคำราคา.com