เปิดคู่มือ ปชช.ต้องรู้ ไทม์ไลน์เลือกตั้ง 'เทศบาล'

เปิดคู่มือ ปชช.ต้องรู้ ไทม์ไลน์เลือกตั้ง 'เทศบาล'

อำนาจหน้าที่ที่ประชาชนควรรับรู้ต่อการใช้ 1 สิทธิ 1 เสียงเลือก "ตัวแทน" เข้าไปทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาท้องถิ่น

ถึงแม้สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย จะออกมาเรียกร้องให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) เลื่อนการเลือกตั้งเทศบาลออกไปจากวันที่ 28 มี..2564 จากสถานการณ์ไวรัสโควิดกลับมาระบาดระลอกใหม่ จนอาจกระทบกับจำนวนผู้มาเลือกตั้งนั้น

แต่จากคำสั่ง "ฉัตรชัย พรหมเลิศ" ปลัดกระทรวงมหาดไทย ลงนามหนังสือ "ด่วนที่สุด" ไปถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกแห่งลงวันที่ 25 ..ที่ผ่านมา เรื่อง "แผนการจัดเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรี" ภายหลัง กกต.กำหนด "ไทม์ไลน์" เลือกตั้งเทศบาลตั้งแต่วันที่ 12 ..ไปจนถึงวันที่ 27 ..นั้น กลายเป็นข้อกำหนดที่ขัดเจนว่าการเลือกตั้งเทศบาลจะไม่มีถูกเลื่อนออกไปจากวันที่ 28 มี..แน่นอน

เมื่อปฏิทินจัดการเลือกตั้งเทศบาล 2,472 แห่ง ประกอบด้วยเทศบาลนคร 30 แห่ง เทศบาลเมือง 195 แห่ง และเทศบาลตำบล 2,247 แห่ง ที่ส่งไปถึงท้องถิ่นทั่วประเทศนั้น "กรุงเทพธุรกิจ" ตรวจสอบพบว่า ตารางปฏิทินได้เริ่มภายหลังคณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติเห็นชอบให้มีการเลือกตั้งระดับ "เทศบาล" จากนั้นวันที่ 1 .. กกต.จะประกาศวันเลือกตั้ง 28 มี..อย่างเป็นทางการ จากนั้นวันที่ 2 .. ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เสนอร่างประกาศให้มีการเลือกตั้ง วันที่ 3 ..ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ให้ความห็นชอบร่างประกาศให้มีการเลือกตั้ง วันที่ 4 .. ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประกาศให้มีการเลือกตั้ง

ต่อมาระหว่างวันที่ 8-12 ..ให้เป็นวันรับสมัครรับเลือกตั้ง วันที่ 19 ..จะประกาศบัญชีรายชื่อผู้สมัคร จากนั้นวันที่ 22 ..จะกำหนดเป็นวันสุดท้ายในการยื่นคำร้องต่อ กกต.กรณีไม่รับสมัครผู้สมัคร ส่วนวันที่ 25 .. เป็นวันสุดท้ายจัดทำร่างประกาศกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้ง รวมถึงเป็นวันสุดท้ายจัดทำร่างประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

ถัดมาวันที่ 2 มี.. เป็นวันประกาศกำหนดหน่วยเลือกตั้งที่เลือกตั้ง พร้อมประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง วันที่ 7 มี..เป็นวันสุดท้ายแต่งตั้งเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้ง และเป็นวันสุดท้ายการยื่นคำร้องคัดค้านการรับสมัคร ก่อนวันเลือกตั้ง 20 วัน จากนั้นวันที่ 12 มี.. จะเป็นวันสุดท้ายส่งหนังสือแจ้งเจ้าบ้าน และวันที่ 17 มี.. เป็นวันสุดท้ายเปลี่ยนแปลงหน่วยเลือกตั้งที่เลือกตั้ง และเป็นวันสุดท้ายเพิ่มชื่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งถอนซื่อผู้ไม่มีสิทธิเลือกตั้ง รวมถึงเป็นวันสุดท้ายที่ กกต.จะวินิจฉัยสิทธิสมัคร

วันที่ 20 มี..ก่อนกสรเลือกตั้ง 7 วัน จะเป็นวันสุดท้ายในการแจ้งการแต่งตั้งตัวแทนผู้สมัคร ส่วนวันที่ 21-27 มี.. เป็นช่วงเวลาขอบประชาชนจะต้องแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งในครั้งนี้ โดยในวันที่ 27 มี.. จะเป็นวันสุดท้ายที่ศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคจะวินิจฉัยสิทธิสมัคร รวมถึงเป็นวันสุดท้ายอบรมจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งและมอบวัสดุอุปกรณ์ ก่อนถึงวันที่ 28 มี.. ซึ่งเป็นวันเลือกตั้ง "เทศบาล" ทั่วประเทศ 2,472 แห่ง

ในไทม์ไลน์ครั้งนี้ ยังกำหนดให้วันที่ 29 มี..-4 เม.. ประชาชนต้องแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และวันที่ 12 เม.. เป็นวันสุดท้ายในการจัดส่งบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อจัดทำบัญชีผู้ถูกจำกัดสิทธิ วันที่ 27 เม.. เป็นวันประกาศผลการเลือกตั้ง กรณีไม่มีเรื่องร้องเรียน จากนั้นเมื่อถึงวันที่ 27 .. จะเป็นวันประกาศผลการเลือกตั้ง ในกรณีมีเรื่องร้องเรียน รวมถึงเป็นวันสุดท้ายจัดทำบัญชีรายชื่ผู้ถูกจำกัดสิทธิ

"กรุงเทพธุรกิจ" ยังตรวจสอบไปถึงที่มาการได้นายกเทศมนตรี และสมาชิกสภาเทศบาล แบ่งเป็น การเลือกตั้ง "นายกเทศมนตรี" ให้ใช้เขตเทศบาลเป็นเขตเลือกตั้ง ส่วนการเลือกตั้ง "สมาชิกสภาเทศบาล" ให้ใช้การแบ่งเขตเลือกตั้งตามประเภทของเทศบาล ดังนี้1.เทศบาลตำบล แบ่งเป็น 2 เขตเลือกตั้ง 2.เทศบาลเมือง แบ่งเป็น 3 เขตเลือกตั้ง และ 3.เทศบาลนคร แบ่งเป็น 4 เขตเลือกตั้ง โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งนายกเทศมนตรีได้ 1 คน และลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลได้ไม่เกิน 6 คน

สำหรับ "วาระการดำรงตำแหน่ง" นายกเทศมนตรี กำหนดไว้คราวละ 4 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน 2 วาระไม่ได้ ในกรณีดำรงตำแหน่งไม่ครบ 4 ปีให้ถือว่าเป็น 1 วาระและเมื่อได้ดำรงตำแหน่ง 2 วาระติดต่อกันแล้วจะดำรงตำแหน่งได้อีกเมื่อพ้นระยะเวลา 4 ปีนับแต่วันพ้นตำแหน่ง ขณะที่ "วาระการดำรงตำแหน่ง" สมาชิกสภาเทศบาลมีกำหนดคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง

ส่วนหน้าที่และอำนาจ "นายกเทศมนตรี" ที่ประชาชนควรรับรู้นั้น หน้าที่หลักตลอดการดำรงตำแหน่ง ต้องกำหนดนโยบายโดยไม่ขัดกฎหมาย และรับผิดชอบในการบริหารราชการของเทศบาลให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เทศบัญญัติ นโยบาย และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามกฎหมายบัญญัติ โดยมีปลัดเทศบาลเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานเทศบาลและลูกจ้าง เทศบาลรองจากนายกเทศมนตรี และรับผิดชอบดูแลราชการประจำ ของเทศบาลให้เป็นไปตามนโยบาย และมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่ กฎหมายกำหนดหรือตามที่นายกเทศมนตรีมอบหมาย

ทำหมดเป็น "คู่มือ" ในปฏิทินกำหนดเลือกตั้งเทศบาลทั่วประเทศและอำนาจหน้าที่ที่ประชาชนควรรับรู้ต่อการใช้ 1 สิทธิ 1 เสียงเลือก"ตัวแทน" เข้าไปทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาท้องถิ่น ผ่านอำนาจเสียงประชาชนในวันที่ 28 มี..นี้.