กทท.เตรียมขุดร่องน้ำ 'ท่าเรือแหลมฉบัง' เพิ่มความมั่นใจผู้ใช้บริการ

กทท.เตรียมขุดร่องน้ำ 'ท่าเรือแหลมฉบัง' เพิ่มความมั่นใจผู้ใช้บริการ

"การท่าเรือฯ"เตรียมประกวดราคาจ้างขุดลอกร่องน้ำทางเดินเรือและแอ่งจอด "ท่าเรือแหลมฉบัง" สร้างความมั่นใจต่อผู้ใช้บริการ

เรือโท กมลศักดิ์ พรหมประยูร ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทยเปิดเผยว่า การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เตรียมประกวดราคาจ้างเหมาขุดลอกร่องน้ำทางเดินเรือและแอ่งจอดเรือที่ท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) บริเวณแอ่งจอดเรือที่ 1 (Basin 1) แอ่งจอดเรือที่ 2 (Basin 2) และร่องน้ำทางเดินเรือ (Fairway) เพื่อให้เรือสินค้าสามารถแล่นผ่านเข้า-ออก และเทียบท่าเรือได้อย่างสะดวกและปลอดภัย อีกทั้งเป็นการบำรุงรักษาระดับความลึกของร่องน้ำให้ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด สร้างความเชื่อมั่นและมั่นใจในการให้บริการ พร้อมทั้งใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม

สำหรับแผนการจัดจ้างดังกล่าว แบ่งเป็นแผนการก่อสร้างขุดลอกร่องน้ำบริเวณแอ่งจอดเรือที่ 1 (Basin 1) แอ่งจอดเรือที่ 2 (Basin 2) และแผนการก่อสร้างขุดลอกร่องน้ำทางเดินเรือ (Fairway) จากการคำนวณปริมาณดินพื้นที่ที่จะขุดลอกบริเวณแอ่งจอดเรือที่ 1 พบว่ามีปริมาณดินเหนือเกณฑ์ประมาณ 401,921 ลูกบาศก์เมตร และบริเวณแอ่งจอดเรือที่ 2 มีปริมาณดินเหนือเกณฑ์ประมาณ 568,139 ลูกบาศก์เมตร บริเวณปากร่องน้ำทางเดินเรือถึงหน้าท่า A5 มีปริมาณดินเหนือเกณฑ์ประมาณ 828,380 ลูกบาศก์เมตร

การขุดลอกร่องน้ำทางเดินเรือและแอ่งจอดเรือที่ ทลฉ. เป็นการบำรุงรักษาระดับความลึกของร่องน้ำ ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ เพื่อให้เกิดความสะดวก ปลอดภัยในการเดินเรือต่อผู้ใช้บริการ สร้างความเชื่อมั่น ในการให้บริการที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล และเพื่อเป็นการจูงใจให้สายการเดินเรือนำเรือสินค้าขนาดใหญ่เข้ามาใช้บริการที่ ทลฉ. มากขึ้น โดยจะใช้ระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ 360 วัน

สำหรับแผนการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 จะเป็นการเพิ่มศักยภาพจากปัจจุบันรองรับตู้สินค้าได้ 11 ล้านทีอียู ต่อปี ให้เพิ่มเป็น 18 ล้านทีอียูต่อปี โดยจะเริ่มก่อสร้างท่าเทียบเรือ F1 ในเดือน ต.ค.2565 และเปิดบริการส่วนนี้ในปี 2567 รวมทั้งเปิดบริการท่าเทียบเรือ E ในปี 2573  161182360367

รวมทั้งการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ในส่วนท่าเทียบเรือ F จะเพิ่มขีดความสามารถและประสิทธิภาพในการรองรับการขนถ่ายตู้สินค้าด้วยระบบจัดการตู้สินค้าแบบอัตโนมัติของท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งจะเป็นต้องขยายความจุท่าเรือตู้สินค้าเพื่อเพิ่มขีดความสามารถรองรับตู้สินค้า โดยท่าเรือแหลมฉบังจะมีตู้สินค้าเกินขีดความสามารถการรองรับในปี 2567–2568

ส่วนท่าเทียบเรือ E จะเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับของท่าเทียบเรือตู้สินค้าไม่น้อยกว่า 3 ล้านทีอียู ต่อปี รวมทั้งการพัฒนาท่าเทียบเรือ E0 จะเพิ่มขีดความสามารถในการขนถ่ายรถยนต์ 1 ล้าน