วิเคราะห์ตลาดทุเรียนจีน ความต้องการ-ราคา พุ่ง

วิเคราะห์ตลาดทุเรียนจีน ความต้องการ-ราคา พุ่ง

กรมวิชาการเกษตร เตรียมรับมือฤดูกาลส่งออกทุเรียน แนวโน้มจีนต้องการมากขึ้น แนะทำตามกฎป้องโควิด ด้านทูตเกษตร ห้ามส่งทุเรียนอ่อน คุมปริมาณไม่ให้กระทบราคาช่วงผลผลิตมาก ดันสายพันธุ์ใหม่ชิงส่วนแบ่งตลาด พรีเมี่ยม ขณะหมอนทองแค่ตลาดแมส

การระบาดของโควิด 19 ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกทุเรียนในตลาดจีน  จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง3 ปีที่ผ่านมา และคาดว่าในปี 64 นี้ จะเป็นโอกาสของเกษตรกรไทยอีกครั้ง กระทรวงเกษตรฯจึงวิเคราะห์สถานการณ์ พร้อมทั้งเตรียมรับมือฤดูกาลส่งออกที่จะเริ่มตั้งแต่เดือน ก.พ. นี้เป็นต้นไป

นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ได้ทำหนังสือแจ้งมาตรการการป้องกันไวรัสโควิด -19 ตามมาตรฐานองค์การอาหารและเกษตรแห่งประชาชาติ( FAO) และองค์การอนามัยโลก( WHO )ที่จะให้โรงคัดบรรจุทุเรียนของไทยปฏิบัติ ไปยังสำนักศุลกากร (GACC) ของจีน แล้วซึ่งจะเน้นระบบการจัดการความปลอดภัยอาหารเพื่อป้องกันการปนเปื้อนโดยจัดการความเสี่ยงและควบคุมจุดวิกฤตนอกเหนือจากการปฏิบัติตามโปรแกรมพื้นฐานด้านสุขลักษณะและความเหมาะสมต่อการทำงานการทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อ การแยกพื้นที่การผลิต การควบคุมผู้ส่งมอบ การเก็บรักษา ตลอดสายการผลิต ทั้งนี้เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการส่งออกทุเรียนปี 64 ที่จะเริ่มตั้งแต่เดือน ก.พ. นี้เป็นต้นไปรายงานจากสำนักงานเกษตรต่างประเทศ ประจำกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว แจ้งว่า ปัจจุบันไทยเป็นประเทศเดียวที่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกทุเรียนผลสดมายังจีน มาเลเซียได้รับอนุญาต เฉพาะทุเรียนแช่แข็งทั้งลูกและเนื้อทุเรียน ส่วนทุเรียนเวียดนามนั้นยังไม่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าอย่างถูกกฎหมาย และหลังจากที่จีนได้ยุบรวมหน่วยงานตรวจสอบกักกันเข้ากับศุลกากร แห่งชาติจีนในปี 2561 ทำให้มีการตรวจปราบปรามการค้าชายแดนอย่างเข้มงวด ทุเรียนของเวียดนามจึงมีการลักลอบ มาจำหน่ายในจีนโดยมีแนวโน้มลดน้อยลงมาก

161181633031

สำหรับไทย พบว่า จีนมีแนวโน้มการนำเข้ามากขึ้นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา(2561-2563)จาก ปี 61 มีปริมาณนำเข้า 431,940 ตัน ในปี 62 เพิ่มเป็น 604,478 ตัน และปี 63 (ม.ค.- พ.ย.)568,386 ตัน ผ่านช่องทางเส้นทางขนส่งทางอากาศ สนทางเรือ และเส้นทางการขนส่งทางบก โดยทางบกนั้น ตามข้อตกลงพิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดในการตรวจสอบกักกันผลไม้ส่งออกนำเข้าระหว่างไทยไปจีนผ่านประเทศที่สามที่เห็นชอบร่วมกัน

ปัจจุบันจีนได้อนุญาตให้นำเข้าผลไม้ผ่านเส้นทางบกมายังมณฑลยูนนาน ณ ด่าน โม่ยาน และเขตปกครองตนเองว่างซีจ้วง ทั้งหมด 3ด่าน ได้แก่ ด่านโหย่วอี้กวน ด่านรถไฟผิงเสียง และด่านตงชิง อย่างไรก็ตามที่ด่านตงซิงบริเวณสะพานข้ามแม่น้ำเปยหลุนแห่งที่สองยังไม่ผ่านการตรวจรับจากศุลกากรแห่งชาติจีน จึงยังไม่สามารถนำเข้าผลไม้จากไทยได้

ในปีที่ผ่านมาที่โควิดระบาดทั่วโลก  ในขณะที่จีนสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ดี แต่ผลจากการใช้มาตรการในการควบคุมการแพร่ระบาดโดยควบคุมการเดินทางเข้าออกของคนทั้งชาวจีน คนขับรถบรรทุกสินค้าระหว่างประเทศ มาตรการด้านสาธารณสุข และมาตรการในการตรวจสินค้านำเข้า ยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการเลิกเที่ยวบินทำให้สินค้าผลไม้ไม่สามารถขนส่งทางอากาศได้สะดวกดังเช่นที่ ผ่านมา จึงส่งผลกระทบต่อสถานการณ์การส่งออกทุเรียนของไทไปยังจีนผ่านส้นทางการขนส่งทางบกเป็นอย่างมาก

เมื่อ เปรียบเทียบเดือนมกราคม- พฤศจิกายน ของปี 2563กับช่วงเดียวกันของปี  62 พบว่าปริมาณการนำเข้าทุเรียนของไทยลดลงเพียง 4 % แต่มูลค่าการนำเข้าพิ่มขึ้นสูงถึง44.5 %  เนื่องจากศุลกกรจีน สำแดงราคานำเข้าทุเรียนของผู้นำเข้าเข้มงวดมากขึ้น เพราะก่อนหน้าได้ตรวจพบการแจ้งราคานำเข้าทุเรียนต่ำจึงเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มย้อนหลัง รวมทั้งดำเนินคดีกับผู้นำเข้า ทำให้ผู้ประกอบการมีความกังวลต่อการแจ้งราคาสินค้าเพิ่มมากขึ้น

จากข้อมูลราคาขายส่งทุเรียนในตลาดค้าส่งผักและผลไม้เจียงหนานของนครกว่างโจว พบว่าในปี 63 ช่วงเดือนที่มีการนำเข้ทุเรียนมากสอดคล้องกับผลผลิตของไทยที่ออกมาก คือช่วงเดือนเมษายน-กรกฎาคม จึงเป็น ช่วงทีราคาซื้อขายต่ำในช่วงตามกลไตลาด โดยในช่วงต้นฤดูและปลายฤดูผลผลิตของทุเรียนจะเป็นช่วงที่ราคา ขายส่งในตลาดส่งผักและผลไม้เจียงหนานอยู่ในระดับสูง โดยมีรคาขายส่งเฉลี่ยในช่วงเดือนมกราคม (ปลาย/ต้น ฤดู) อยู่ที่42.23 หยวนต่อกก. และเริ่มลดลงอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่เดือนมษายนซึ่งมีการนำเข้ามามาก โดยมีราคาขายส่งโดยเฉลี่ยต่ำสุดในเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ 29.17 หยวนต่อกก.

ในขณะที่มีการดีดตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนสิงหาคมเนื่องจากาการนำเข้าลดลงมากเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า และเริ่มเข้าสู่ช่วงปลายฤดูที่ผลผลิตเริ่มลดลง ปริมาณ การนำเข้าก็ลดลราคาจึงปรับเพิ่มสูงขึ้น โดยมีราคาขายเฉลี่ยสูงสุดในเดือนธันวาคมที่ 50.06 หยวนต่อกก. และ พบว่าราคาขายเฉลี่ยรายเดือนของปี 63  อยู่ที่ 38.45 มากกว่าราคาขายส่งเฉลี่ยราย เดือนของปี 62 อย่างเห็นได้ชัด อยู่ที่ 36.37 หยวนต่อกก. หรือเพิ่มขึ้น 5.72 %

สำหรับพฤติกรรมผู้บริโภคและสถานการณ์การแข่งขันทางการตลาดของทุเรียนในจีน  ความต้องการบรืโภคทุเรียนที่เพิ่มขึ้นพบว่าส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง กลุ่มที่มีความชื่นชอบทุเรียนอายุประมาณ 18-23 ปี เกินกว่าครึ่งที่ชื่นชอบทุเรียนแรง ดังนั้นจึงชอบทุรียนที่มีความสุก ซึ่งระดับความสุกที่ชื่นชอบในปัจจุบันมีความหลากหลาย ทั้งแบบเนื้อทุเรียนที่สุกมาก และเป็นเนื้อครีมเนื่องจากมีกลิ่นหอม และระดับความสุกกำลังพอดีไม่เละ เนื่องจากมีโอกาสได้เดินทางมาไทยและได้ลิ้มลองเนื้อทุเรียนที่มีความสุกแบบที่คนไทยรับประทาน รวมทั้งได้รับรู้ข้อมูลในการรับประทานทุเรียนมากขึ้น

นอกจากนี้ เนื่องจากขนาดครอบครัวในมืองส่วนใหญ่เป็นขนาดเล็ก จึงนิยมซื้อทุเรียนผลสดที่มีขนาดไม่ใหญ่มากทั้งลูก ผลเล็ก หรือเลือกซื้อแบบที่แกะเนื้อพร้อรับประทาน โดยทั่วไปนิยมซื้อทุเรียนทั้งในซุปเปอร์มาเก็ต ร้านค้าจำหน่ายผลไม้ และช่องทางออนไลน์ (Delivery) นอกเหนือจากทุเรียนผลสดที่ผู้บริโภคจีนนิยมซื้อรับประทานแล้ว ทุเรียนแช่แข็งก็เป็นอีกสินค้าที่ได้รับความนิยม โดยเฉพาะมณฑลทางตอนเหนือของจีนเนื่องจากการขนส่งใช้ระยะเวลานาน

161181636745

ซึ่งจากสถานการณ์การขนส่งและความไม่แน่นอนของคุณภาพของสินค้า เช่น ปัญหาทุเรียนอ่อน ความสุกไม่ทั่วผล ยังคงเป็นประเด็นที่ได้รับการพูดถึงจากผู้นำเข้าเป็นระยะ ๆ โดยเฉพาะช่วงต้นฤดูและในช่วงที่ทุเรียนในตลาดจีนมีราคาสูง ส่งผลให้ผู้บริโภคบางกลุ่มเกิดความไม่มั่นใจ จึงนิยมเลือกซื้อจากช่องทางจำหน่ายที่สมารถคืนงินได้จากร้านที่ให้บริการปอกที่ร้าน หรือซื้อทุเรียนแบบแกะเนื้อพร้อมรับประทาน หรือทุเรียนแช่แข็งของมาเลเซีย เนื่องจากสุกคาตัน เพียงปล่อยให้หายเย็นหรืออุ่นในไม่ไครเวฟก็สามารถรับประทานได้และสมารถมั่นใจในความสุกและกลิ่นหอมขอทุเรียน จึงทำให้ผู้จำหน่ายผลไม้ในจีนจะต้องรับความเสี่ยงในการจำหน่ายทุเรียนผล เนื่องจากคุณภาพค่อนข้างหลากหลาย รวมถึงพบว่าช่วงที่ผลผลิตทุเรียนน้อยในตลาดกลับพบว่ามีการจำหน่ายทุเรียนแช่แข็งของไทยเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแบบแกะเนื้อแซ่แข็ง ในส่วนสินค้าผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทรียนป็นส่วนประกอบก็ได้รับความนิยมไม่น้อยในเช่นกันใน App Food delivery เช่น ขนมเค้ก ไส้ทุเรียน พิซซ่าหน้าทุเรียน เป็นต้น

ทั้งนี้จากความต้องการบริโภคทุเรียนในจีนที่มีมากขึ้น จึงเป็นเป้าหมายของหลายประเทศที่ต้องการ เข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งทาการตลาดทุเรียนผลสดในจีน ดังนั้น จึงเป็นความความท้าทายสำหรับทุเรียนไทยเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง รักษาตลาดไว้และให้ครองใจผู้บริโภคชาวจีนอย่างยั่งยืน

รวมถึงผู้ประกอบการผลิตและส่งออกต้องให้ความสำคัญ สำหรับผลผลิตฤดูกาลที่จะมาถึง คือ เน้นการผลิตทุเรียนคุณภาพ มีมาตรฐาน ปัญหาทุเรียนอ่อน และคุณภาพของทุเรียน ที่ยังเป็น ประเด็นที่ได้รับการพูดถึงจากผู้นำเข้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงต้นฤดูกาลผลิตและช่วงที่ทุเรียนในตลาดมีราคาสูง ดังนั้น เพื่อให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในการเลือกซื้อทุเรียนไทย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคัดเลือกทุเรียนที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ความสุกสำหรับการส่งออก ไม่ให้มีทุเรียนอ่อนหรือด้อยคุณภาพ โดยเฉพาะในช่วงต้นฤดูกาลของผลผลิตเพราะจะ กระทบต่อราคาและตลาดทุเรียนไทยในจีน รวมถึงการปฏิบัติตามพิธีสารการส่งออกผลไม้จากไทยมาจีนอย่าง เคร่งครัด

  161181638553

ผู้ประกอบการไทยต้องการวางแผนการผลิต เพื่อควบคุมมิให้ทุเรียนเกินปริมาณความต้องการในตลาดจีนจนส่งผล กระทบต่อราคาในภาพรวม แม้ว่าปริมาณความต้องการบริโภคทุเรียนของจีนจะมีแนวโน้มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ด้านราคาซื้อขายทุเรียนของไทยยังต่ำในช่วงเดือนเม.ย.- ก.ย.เนื่องจากมีการนำเข้ามากตามปริมาณผลผลิตที่มีมากซึ่งเป็นไปตามกลไกราคาตลาด โดยในปี2563 มี ราคาขายส่ง 36.37 หยวนต่อกิโลกรัม

รวมทั้งผู้ประกอบการต้องติดตามสถานการณ์ปัญหาระบบโลจิสติกส์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพัฒนาเครือข่าย ระบบโลจิสติกส์ในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อรองรับการขยายตัวของการส่งออกผลไม้ในอนาคตที่จะเพิ่มมากขึ้น

นอกจากนี้คู่แข่งทุเรียนจากประเทศเพื่อนบ้านและทุเรียนจีน โดยปัจจุบันเวียดนามกำลังเร่งผลักดันกระบวนการเจรจาเปิดตลาดส่งออกทุเรียนผลสดมายังจีนและมีแนวโน้มคดว่าจะได้รับอนุญาตในเร็ว ๆ นี้ ในขณะที่ในมณฑลไห่หนานของจีน รัฐบาลท้องถิ่นและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเร่งศึกษาพันธุ์ทุเรียนที่มีความเหมาะสมกับภูมิประเทศและภูมิอากาศของอำเภอเป้าถึง ในไห่หนาน หลังจากที่ทุเรียนที่ปลูกไว้มีผลผลิตต่อเนื่องกันสองปีและมีรสชาติใกล้เคียงกับทุเรียนที่จำหน่ายในท้องตลาด รวมทั้งการนำเข้ากล้าพันธุ์ทุเรียน จากต่างประเทศเพื่อส่งเสริมให้เกษตรทดลองปลูก คาดว่าผลผลิตจะเริ่มให้ผลผลิตใน อีก5 ปีข้างหน้า กากประสบผลสำเร็จ จีนจะขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มในมณฑลไห่หนานและในจีนตอนใต้

ทั้งนี้ทุเรียนหมอนทองของไทยได้รับความนิยมในกลุ่ม ผู้บริโภคชาวจีน เนื่องจากเนื้อหนานุ่ม หวานและมีกลิ่นหอม ในขณะที่มีปริมาณผลผลิตมาก วางจำหน่ายตลาดทั่วไป (Mass Product ) ราคาจึงถูกกว่า เมื่อเทียบกับทุเรียนมาเลเซียชูจุดเด่นของทุเรียนมูซางคิง ที่วางขายตลาดบนที่มีกำลังซื้อ (Niche Market) จึงถือได้ว่าเป็น Premium Product โดยให้คำนิยามว่าเป็น Hermes Durian

ดังนั้นไทยควรผลักตันทุเรียนพันธุ์พรีเมี่ยมใหม่ที่มีศักยภาพในการทำการตลาด เน้นการสร้างแบรนด์ (Brand) จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับทุเรียนและแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดกับทุเรียนมูซางคิงของมาเลเซีย รวมทั้งเสริมสร้างภาพลักษณ์ของ ทุเรียนไทยได้มากยิ่งขึ้น