เปิด(ร่าง)ผ่อนคลายมาตรการ แบ่ง 5 ระดับพื้นที่

เปิด(ร่าง)ผ่อนคลายมาตรการ แบ่ง 5 ระดับพื้นที่

เปิด(ร่าง)ผ่อนคลายมาตรการ แบ่งตามพื้นที่จังหวัด 5 ระดับ ลดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดเหลือ "สมุทรสาคร"จังหวัดเดียว ส่วนกทม.-สมุทรปราการ-นนทบุรี-ปทุมธานีพื้นที่ควบคุมสูงสุด อีก 20 จ.พื้นที่ควบคุม 17จ.พื้นที่เฝ้าระวังสูงสุด 35 จ.พื้นที่ รอศบค.ชี้ขาด

เมื่อเวลา 11.30น. วันที่ 27 ม.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การโควิด-19(ศบค.) รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย ว่าพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 819 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ 808 ราย แบ่งเป็นตรวจพบในระบบเฝ้าระวังและบริการ 92 ราย และผู้ติดเชื้อจากการคัดกรองเชิงรุกในชุมชน 716 ราย กลุ่มผู้เดินทางมาจากต่างประเทศและเข้าสถานกักกันโรค(Quarantine) 11 ราย ผู้ป่วยสะสม 15,465 ราย แบ่งเป็นการติดเชื้อในประเทศ 13,058 ราย จากการคัดกรองเชิงรุก 6,248 ราย รักษาหายแล้ว 11,054 ราย เหลือรักษาอยู่ 4,335 ราย และมีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย สะสมที่ 76 ราย โดยผู้ป่วยในรอบใหม่สะสมที่ 11,228 ราย หายป่วยแล้ว 7,114 ราย ยังรักษาอยู่ 44,098 ราย และเสียชีวิตสะสม 16 ราย

ผู้เสียชีวิตรายที่ 76 ชายไทย อายุ 56 ปี โรคประจำตัวคือหลอดเลือดสมองตีบ เป็นผู้ป่วยติดเตียง เมื่อวันที่ 22 ม.ค. มีอาการเหนื่อยหอบ มีเสมหะมาก จึงมาที่โรงพยาบาล(รพ.) กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร แพทย์จึงใส่ท่อช่วยหายใจ ได้ทำการตรวจหาเชื้อโควิด-19 พร้อมนำผู้ป่วยเข้าห้องแยกความดันลบ ต่อมาเมื่อวันที่ 23 ม.ค. ผลตรวจพบเชื้อ และวันที่ 25 ม.ค. อาการไม่ดีขึ้น มีเสมหะมาก จึงเสียชีวิตในเวลา 22:00 น.

"กรณีผู้ที่อยู่ติดบ้านหรือเป็นผู้สูงอายุ เป็นความเสี่ยง ผู้ที่เป็นลูกหลานเมื่อกลับถึงบ้านต้องรีบอาบน้ำ และคนป่วยส่วนใหญ่เป็นวัยหนุ่มสาวที่ไม่มีอาการซึ่งอาจจะนำเชื้อไปติดคนในบ้านได้ จึงต้องรักษาระยะห่างไว้ดีที่สุด" นพ.ทวีศิลป์ กล่าว

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ผู้ป่วยรายใหม่จากระบบบริการ 92 รายพบใน กรุงเทพฯ 6 ราย สมุทรสาคร 78 ราย และสมุทรสงคราม เพชรบุรี นนทบุรี นราธิวาส ปทุมธานี อ่างทอง สมุทรปราการ จันทบุรี จังหวัดละ 1 ราย ส่วนผู้ป่วยจากการคัดกรองเชิงรุกในชุมชน 716 ราย พบใน สมุทรสาคร 714 ราย ระยองและสมุทรปราการ จังหวัดละ 1 ราย

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวอีกว่า ข้อสรุปเบื้องต้นที่เป็นฉบับ(ร่าง)จากการพิจารณาของ คณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาการผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ซึ่งจะต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของศบค.ชุดใหญ่ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานอัดครั้งในวันที่ 29 ม.ค.2564 โดยอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากนี้ได้ หากศบค.ชุดใหญ่มีข้อเสนอแนะใดๆเพิ่มเติม

0 5ระดับพื้นที่จังหวัด
ผลเบื้องต้นการผ่อนคลายซึ่งกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)เป็นผู้เสนอ คือ การ การปรับ พื้นที่ประกาศใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการ ยังคงใช้รูปแบบจังหวัดแนวกันชน กับจังหวัดที่มีความเสี่ยงที่จะมีการกระจายโรคไปพื้นที่อื่น โดยแบ่งจังหวัดต่างๆเป็นพื้นที่ 5 ระดับ คือ พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ,พื้นที่ควบคุมสูงสุด,พื้นที่ควบคุม,พื้นที่เฝ้าระวังสูงและพื้นที่เฝ้าระวัง โดยจังหวัดที่ไม่พบผู้ติดเชื้อหรือพบจำนวนน้อย และรายอำเภอมีความเสี่ยงต่อการแพร่โรคภายในและนอกจังหวัดต่างกันจังหวัดอาจพิจารณาปรับลดหรือเพิ่มความเข้มข้นของมาตรการควบคุมแบบรวมแบบบูรณาการตามเกณฑ์รายอำเภอได้

"เกณฑ์ใช้ปรับพื้นที่จังหวัดตามมาตรการควบคุมแบบบูรณาการนั้น จะพิจารณาจากสถานการณ์การระบาดของโรคในจังหวัด คือ ผู้ติดเชื้อรายใหม่ในช่วง 7 วัน 14 วัน 28 วันจากแผนที่การระบาด รวมถึง มีแหล่งโลกที่เสี่ยงต่อการกระจายไปพื้นที่จังหวัดหรือภูมิภาคอื่น เช่น สถานบันเทิง บ่อน สนามชนไก่ จังหวัดที่มีพื้นที่เสี่ยงต่อการลักลอบเดินทางเข้าประเทศถึงพื้นที่เขตชั้นในประเทศหรือตามแนวชายแดนต่างๆ และมาตรการเฝ้าระวังเชิงรุกในชุมชน สถานประกอบการและพบสัดส่วนผู้ติดเชื้อน้อยต่ำกว่า 1% หรือ 1-5 %"นพ.ทวีศิลป์กล่าว

(ร่าง)ข้อเสนอพื้นที่ ผ่อนคลายการใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการ แบ่งเป็นพื้นที่ประกอบด้วย 1.พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดสูงสุดหรือสีแดงเข้ม จาก 5 จังหวัดเหลือ 1 จังหวัด คือ สมุทรสาคร


2. พื้นที่ควบคุมสูงสุดหรือสีแดง จาก 23 จังหวัดเหลือ 4 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ สมุทรปราการนนทบุรีและปทุมธานี


3.พื้นที่ควบคุม หรือสีส้ม จาก 11 จังหวัดเพิ่มเป็น 20 จังหวัด ภาคเหนือและกลาง 12 จังหวัดไ ด้แก่ ตาก กาญจนบุรี ชัยนาท อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี อยุธยา นครปฐม สุพรรณบุรี สมุทรสงคราม ราชบุรี เพชรบุรี ภาคตะวันออก 8 จังหวัด นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี


4. พื้นที่เฝ้าระวังสูงหรือสีเหลือง จาก 38 จังหวัดเหลือ 17 จังหวัด ภาคเหนือ 6 จังหวัด นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท เพชรบูรณ์กำแพงเพชร สุโขทัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 จังหวัด นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์
ภาคกลางและภาคใต้ 8 จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพรสุราษฎร์ธานี พังงา สงขลา ยะลา นราธิวาส

และ 5 .พื้นที่เฝ้าระวังซึ่งเดิมไม่มีเพิ่มเป็น 35 จังหวัดภาคเหนือ 11 จังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย ลำปางลำพู นแม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน พะเยา อุตรดิตถ์พิษณุโลก พิจิตร
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 17 จังหวัด เลยอหนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคายบึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ยโสธรกาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ขอนแก่นอมหาสารคามศรีสะเกษ สุรินทร์ อำนาจเจริญออุบลราชธานี
ภาคใต้ 7 จังหวัด นครศรีธรรมราช ภูเก็ต กระบี่ สตูลิ ตรัง พัทลุง และปัตตานี

0 เปิดเรียนได้เว้นสมุทรสาคร
(ร่าง)การผ่อนคลายกิจการ/กิจกรรมในแต่ละระดับพื้นที่ ยกตัวอย่าง ในพื้นที่จ.สมุทรสาครที่เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด สิ่งที่ปิดเหมือนเดิม เช่น สถานบริการ ผับ บาร์ คาราโอเกะ สนามมวย สถานที่ออกกำลังกายในร่ม อาบอบนวด สปา โรงเรียนกวดวิชา สถาบันการศึกษา งานเลี้ยง และสถานที่ขนส่งสาธารณะต่างๆ เป็นต้น ส่วนที่เปิดได้บ้าง เช่น ตลาดนัด ร้านอาหารให้ซื้อไปทานที่อื่นและเปิดได้ไม่เกิน 21.00 น. ห้างสรรพสินค้าเปิดได้ไม่เกิน 21.00 น. ศูนย์รับดูแลผู้สูงอายุที่อยู่เป็นประจำ และโรงงานซึ่งต้องกำกับมาตรกสรการป้องกันโรคในโรงงานอย่างเข้มงวด


พื้นที่ควบคุมหรือสีส้ม สถานที่ปิดต่อไป เช่น สถานบริการ ผับ บาร์ คาราโอเกะ ส่วนร้านอาหารเปิดได้ แต่เน้นัว้นระยะห่าง และเปิดไม่เกิน 23.00 น. แสดงดนตรีได้แต่ต้องไม่มีเต้นรำ และพื้นที่ระดับอื่นๆผ่อนคลายตามลำดับ


การจัดประชุมสัมนา ในพื้นที่ควบคุมและพื้นที่ควบคุมสูงสุด จัดได้ไม่เกิน 100 คน ไม่มีการแสดงดนตรีและเต้นรำ ส่วนพื้นที่เฝ้าระวังสูงและพื้นที่เฝ้าระวัง จัดได้ไม่เกิน 300 คน แสดงดนตรีได้แต่ต้องไม่เต้นรำ


การเรียนการสอน เปิดได้เกือบทั้งหมด เว้น จ.สมุทรสาคร ส่วยพื้นที่กทม.และปริมณฑล เปิดได้ แต่ให้เน้นมาตรการป้องกัน เช่น สลับเวลาเรียน เว้นระยะห่าง หรือพิจารณาการเรียนออนไลน์


การแข่งกีฬา พื้นที่ควบคุมสูงสุดและพื้นที่ควบคุม ฝึกซ้อมและแข่งขันได้แบบไม่มีผู้ชม และพื้นที่เฝ้าระวังสูงสุดและเฝ้าระวัง มีผู้ชมได้ตามเกณฑ์กำหนด เป็นต้น