'กลุ่มแรงงาน' จี้รัฐจ่ายเงินเยียวยา 5 พันนาน 3 เดือน หวั่นตกหล่นความช่วยเหลือ

'กลุ่มแรงงาน' จี้รัฐจ่ายเงินเยียวยา 5 พันนาน 3 เดือน หวั่นตกหล่นความช่วยเหลือ

เปิดจดหมาย "ราษฎร" ร้องรัฐบาลจ่ายเงินเยียวยาไม่ทั่วถึง หวั่นกลุ่มแรงงาน ม.33 ตกหล่น จี้ต้องได้รับเงิน 5 พันเป็นเวลา 3 เดือน

วันที่ 26 .. เฟซบุ๊ค "ราษฎร" โพสต์ข้อความจดหมายเปิดผนึกจากพี่น้องแรงงานถึงรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา เรื่องเยียวยาแรงงานถ้วนหน้า ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง จากเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน มีเนื้อหาระบุว่าจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2564 ที่เห็นชอบโครงการ "เราชนะ" เยียวยาประชาชนผู้ ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 นั้น จะจ่ายเงินเยียวยาจำนวน3,500 บาท เป็นเวลา 2 เดือน รวม 7,000 บาทต่อคน ทั้งหมด 31.1 ล้านคนโดยเน้นอาชีพอิสระ เกษตรกร ผู้มีรายได้น้อยคล้ายกับโครงการเราไม่ทิ้งกัน แต่กลับไม่ให้เป็นเงินสดและจะโอนผ่านแอพพลิเคชั่นสัปดาห์ละครั้งจนครบ สิ่งนี้ทำให้เราเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชนคับข้องใจอย่างยิ่ง โดยเฉพาะคำแถลงของนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและนายอาคม เติมพิทยไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังที่กล่าวว่า ไม่อยากให้ประชาชนสัมผัสตัวเงิน เพราะโควิดเข้ามาปะปนได้ และต้องการให้ประชาชนปรับตัวเป็นสังคมไร้เงินสด และถ้าให้เป็นเงินสดรัฐบาลจะจำกัดอะไรไม่ได้เลย เงินเหล่านั้นจะหายไปกับสิ่งที่ควบคุมได้ยากเช่น สุรา การพนัน ห้างร้านขนาดใหญ่ และการจ่ายเงินสัปดาห์ละ 1,000 บาทเพื่อให้ประชาชนได้วางแผนการใช้เงินที่จำเป็นต่อชีวิต

จะเห็นว่าวิธีคิดของรัฐบาลเหมือนอยู่โลกคนละใบกับผู้ใช้แรงงานที่ต้องนำเงินไป ใช้จ่ายตามความจำเป็นเร่งด่วนของแต่ละคนอยู่แล้วเช่น จ่ายค่าเช่าบ้าน ใช้หนี้ และต้องการควบคุมอำนาจการตัดสินใจของประชาชนซึ่งมีลักษณะเผด็จการ เหมือนคุณพ่อรู้ดี ไม่สนใจให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย ดังเห็นได้จากมาตรการเยียวยารอบสองของรัฐบาลที่ยังคงทิ้งคนกลุ่มหนึ่งไว้ข้างหลัง คือแรงงาน ในระบบประกันสังคม .33 จำนวนกว่า 11 ล้านคน

รัฐต้องเยียวยแรงานในระบบประกันสังคม มาตรา 33 ซึ่งเป็นลูกจ้างในธุรกิจ หน่วยงานทุกภาคส่วน คลุมถึงแรงงานข้ามชาติที่เข้าระบบประกันสังคมราว 1.5 ล้านคนและนายจ้างร่วมสมทบเงินประกันสังคม เพราะพวกเขากำลังเผชิญปัญหาเรื้อรังมาตั้งแต่การระบาดรอบแรกเช่นเดียวกับแรงงานนอกระบบการผลักให้พวกเขาไปใช้เงินกองทุนฯ ซึ่งเป็นเงินของลูกจ้างตามประกาศของกระทรวงแรงงาน (จ่าย 62% ของค่าจ้างพื้นฐานแล 50% ในรอบสอง) ทำให้พวกเขาตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะตกงานและถูกละเมิดสิทธิ เพราะกระทรวงแรงงานไม่สามารถตรวสอบบริษัท/โรงงานที่ปิดกิการชั่วคราวที่ไม่เกี่ยวข้องกับโรคระบาดโดยตรง

จึงพบเห็นว่ามีหลายบริษัทปรับโครงสร้างลดต้นทุน โยนภาระให้ลูกจ้างไปใช้เงินทดแทนว่างงานซึ่งควรจ่าย 75% ตามกฎหมายแรงาน และรัฐควรทดแทนรายได้ให้ครบ 100% แต่กลับไม่ทำไม่ว่าในกรณีใด ทำให้ลูกจ้างสูญเสียรายได้และสวัสดิการ หลายกรณีถูกลดวันทำงาน โอที ลดค่าจ้าง ลาไม่ได้รับเงินเดือน ถูกปรับสภาพการจ้างงานให้ยึดหยุ่นกว่าเดิมคือ No work no pay และเมื่อตกงานอยู่ระหว่างเปลี่ยนสถานะผู้ประกันตนเป็นแรงงานนอกระบบกลายเป็นช่องว่างไม่ได้รับเงินเยียวยา หลายราย ถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรมถูกเบี้ยวค่จ้างค่าชดเชยต้องเป็นภาระไปฟ้องศาล ท้ายสุดลูกจ้างเป็นหนี้มากขึ้น แทนที่รัฐจะแบกหนี้เหล่านี้

เราต้องการให้รัฐใช้หลักคิดถ้วนหน้าเท่าเทียม ไม่กำหนดเงื่อนไขให้ยุ่งยาก ไม่ต้องลงทะเบียน ผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วนต่างได้รับผลกระทบจากคำสั่งต่างๆ ของรัฐกับการใช้อำนาจในทางที่ผิดของเจ้าหน้าที่ แรงงานทุกภาคส่วน เช่นภาคศิลปวัฒนธรรม คนทำงานกลางคืน แรงงานข้ามชาติ ในระบบและนอกระบบ ต้องได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน หากงบประมาณไม่เพียงพอต้องพิจารณานำงบกองทัพสถาบันที่ใช้เงินฟุมเฟือย และเพิ่มฐานภาษีความมั่งคั่งจากมหาเศรษฐี 1% ของประเทศเพื่อนำมาสร้างสวัสดิการถ้วนหน้าให้แก่ประชาช 99% ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกกาลเทศะมากกว่าหาเรื่องปวดหัวรายวันให้ประชาชน.

161164248263