อยากรู้เรื่องพม่ามากขึ้น สารคดี'พุกามในทางรอยแห่งศรัทธา'มีคำตอบ

อยากรู้เรื่องพม่ามากขึ้น  สารคดี'พุกามในทางรอยแห่งศรัทธา'มีคำตอบ

พุกาม มรดกโลกอีกแห่ง ที่มีความสำคัญทางพุทธศาสนาและวัฒนธรรมของชาวพม่า ซึ่งรวบรวมไว้ในงานสารคดีชุดนี้

ารคดี“พุกามในรอยทางแห่งศรัทธา” นำเสนอเรื่องราวของความเชื่อที่ทำให้ผู้คนในที่ต่างๆ มีพลังและความหวังในการฝ่าฟันอุปสรรค และสามารถใช้ชีวิตอยู่ต่อไปบนหนทางแห่งความสุขที่พวกเขาเลือกแล้ว อย่างสารคดีตอน พุกามในรอยทางแห่งศรัทธา ทางสถานีไทยพีบีเอส ทั้ง 9 ตอน ออกอากาศไปแล้ว ตอนนี้ชมได้ทางยูทูบ สารคดีชุดนี ผู้ดำเนินรายการ “อัญชลี โปสุวรรณ” ชวนค้นหาความหมายทางจิตวิญญาณของผู้คนที่มีศรัทธาเป็นแรงขับเคลื่อน 

เมืองพุกาม ่ที่หลายคนเรียกว่า ดินแดนเจดีย์สี่พันองค์ ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก มีความสำคัญที่เป็น “เครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ”ของชาวพม่าที่นับถือพุทธ มีความเชื่อดั้งเดิมในเรื่อง“การบูชาผีนัท อารักษ์ท้องถิ่น”

161164163274  

เนื่องจากชาวพม่ามีความศรัทธาต่อพุทธศาสนา เจดีย์ทุกองค์จึงเป็นเสมือนเครื่องระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อรำลึกถึงทางหลุดพ้นหรือนิพพาน ในอดีตสร้างในยุคสมัยพระเจ้าอโนรธา เป็นช่วงที่พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง จึงมีเจดีย์ วัดและศาสนสถานไม่น้อยกว่า 5,000 แห่ง และมิใช่แค่เพียงเจ้านายหรือขุนนางที่เป็นผู้สร้าง ยังรวมถึงศรัทธาที่ทุกคนมีร่วมกัน

แม้จะผ่านไปนานหลายศตวรรษ เจดีย์โบราณสถานซึ่งก่อด้วยอิฐกว่า 2,000 องค์ ยังคงอยู่ท่ามกลางความร้อนแบบกึ่งทะเลทราย เชื่อกันภูมิอากาศลักษณะนี้ ช่วยรักษามรดกจากอดีตไม่ให้เสื่อมสลายลงไปทั้งหมด เรายังเห็นองค์เจดีย์ที่ยังมีความงดงาม

ส่วนสถานที่ซึ่งเป็นที่พึ่งพิงทางจิตใจอีกหนึ่งแห่งคือ เจดีย์ชเวสิกอง สร้างในสมัยพระเจ้าอโนรธา อายุกว่า 900 ปี สร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะที่มีเหนือชาติมอญ เจดีย์รูประฆังคว่ำ รายรอบด้วยเจดีย์ขนาดเล็กตามอย่างมอญ เชื่อว่าเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ พระนลาฏและพระเขี้ยวแก้ว จึงเป็นที่เคารพและศรัทธาของผู้คน

ชาวบ้านและนักท่องเที่ยวนิยมนำสิ่งของมาถวาย เอาแผ่นทองมาติด เพื่อแสดงถึงความเชื่อที่มีต่อโบราณสถานแห่งนี้ เพราะเชื่อว่าที่แห่งนี้ใครได้มากราบไหว้จะ มีอายุยืน ร่างกายงดงาม โดยเฉพาะในช่วงวันบุญใหญ่เพ็ญกลางเดือนตาซองโมง ชาวบ้านจะนำครัวปะเดตะปิน หรือต้นกัลปพฤกษ์ และคะเชนหรือจีวรถวายพระสงฆ์ เพื่อร่วมทำทานสลากภัตพระสงฆ์ทุกวัดในเมืองพุกามมารวมกันที่นี่ เพื่อให้ผู้คนได้ร่วมทำทาน เฉลิมฉลองเจดีย์ชเวสิกอง

ก่อนที่พุทธศาสนาเถรวาทจะหยั่งรากรุ่งเรือง ชาวพม่าในโบราณกาลจะ บูชาผีนัต และ“นัต”คือ วิญญาณศักดิ์สิทธิ์ของผู้ตาย มีสถานะสูงกว่าผีทั่วไป

วิญญาณผีนัตถูกจัดระเบียบใหม่ โดยมีการรวบรวบนัตหลักๆ เหลือเพียง 37 ตน มาไว้ที่เจดีย์ชเวสิกอง เพื่อเป็นผู้พิทักษ์พุทธศาสนาและกำหนดให้ “ตะจามีง” หรือพระอินทร์เป็นใหญ่เหนือนัตตนอื่น

161166371115

นอกจากนี้ สารคดียังนำเสนอเรื่องราว เขาโปปา ซึ่งไกลออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ราว 50 กิโลเมตร ปากปล่องภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว เชื่อกันว่าที่แห่งนี้เป็นเขตแดนศักดิ์สิทธิ์ มีมิงมหาคีรีนัต เทพเจ้าแห่งขุนเขา เป็นใหญ่เหนือนัตทั้งปวงดูแล

เทือกเขาโปปา มิได้โดดเด่นในเรื่องของการเดินทางเพื่อไปไหว้นัต ขอพรเพื่อให้สมปรารถนากันเท่านั้น ดินแดนแห่งนี้ยังเปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุ ซึ่งก็คือ ศูนย์กลางจักรวาล ที่เชื่อว่าเชื่อมต่อกับโลกต่างมิติได้ และยังเป็นที่พำนักของผู้มีฤทธิ์ คอยให้ความช่วยเหลือผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก

เรื่องราวของสารคดี “ในจังหวะแห่งศรัทธา” (Time of Faith) ตอน “พุกามในรอยทางแห่งศรัทธา” ชมย้อนหลังหาชมกันได้ทางทางยูทูป https://program.thaipbs.or.th/TimeOfFaith หรือเสิร์ช“ในจังหวะและศรัทธา”