จี้รัฐอุ้มท่องเที่ยว เสี่ยงตกงานเพิ่มแสนคน

จี้รัฐอุ้มท่องเที่ยว เสี่ยงตกงานเพิ่มแสนคน

โควิดระลอกใหม่พ่นพิษลูกจ้างโรงแรมเสี่ยงตกงานเพิ่มอีก 1 แสนคน “ททท.” ชงรัฐช่วยอุ้มต้นทุนเอกชนท่องเที่ยว ขอลดต้นทุนค่าน้ำไฟ ค่าจ้าง พักหนี้ ลดดอกเบี้ย เร่งปล่อยซอฟท์โลน ประคองธุรกิจเอาตัวให้รอด

นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รอบใหม่ตั้งแต่เดือน ธ.ค.2563 ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดการณ์ว่าภาคการท่องเที่ยวจะฟื้นตัวได้ในครึ่งหลังของปี 2564 และหากสถานการณ์ยืดเยื้อ จะกระทบต่อการจ้างงานของภาคท่องเที่ยว โดยเฉพาะลูกจ้างสาขาโรงแรมมีความเสี่ยงจะตกงานเพิ่มขึ้นประมาณ 1 แสนคน

ขณะที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ประเมินว่าเอสเอ็มอีภาคท่องเที่ยวและที่เกี่ยวเนื่องกว่า 93,437 ราย จ้างงาน 3.2 ล้านคน ถ้ารวมธุรกิจที่เกี่ยวข้องไปอีกจะเป็นตัวเลขที่มากกว่านี้ถึง 3 เท่า หรือคิดเป็นการจ้างงานเกือบ 10 ล้านคนที่ได้รับผลกระทบ ดังนั้นการจะฟื้นภาคการท่องเที่ยวได้รัฐจำเป็นต้องช่วยเหลือเอกชนก่อนเพื่อให้อยู่รอดในช่วงนี้

ททท.จึงเตรียมนำข้อเรียกร้องของภาคเอกชนท่องเที่ยวที่รวบรวมเป็นมาตรการช่วยเหลือเยียวยาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในภาวะโควิด-19 เสนอต่อรัฐบาลผ่านกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยส่วนใหญ่เป็นมาตรการช่วยเหลือแรงงาน มาตรการด้านภาษี มาตรการด้านการเงิน เสริมสภาพคล่องด้วยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟท์โลน) นอกจากนี้ ททท.ยังมองไปถึงการเสนอให้มีการจัดตั้งกองทุนฟื้นฟูอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ซึ่งอาจใช้เงินจากภาษีบาปประมาณ 3 หมื่นล้านบาท เพื่ออบรมหรือเพิ่มศักยภาพให้กับบุลลากรด้านการท่องเที่ยว

ก่อนหน้านี้ ททท.ได้สำรวจความคิดเห็นผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว ทั้งสถานที่พัก บริษัทนำเที่ยว ร้านอาหาร บริการรถเช่า และบริการรถสาธารณะ และอื่นๆ รวม 1,884 รายทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 10-12 ม.ค.2564 ผ่านช่องทางออนไลน์ ถึงแนวทางการช่วยเหลือที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องการจากภาครัฐ โดยส่วนใหญ่ต้องการให้รัฐออกมาตรการมาช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่าย ทั้งค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า และสนับสนุนเงินเดือนค่าจ้างพนักงาน เพื่อรักษาการจ้างงานมากที่สุด เพราะเห็นว่าเรื่องนี้มีความจำเป็นเร่งด่วนกับการประคองธุรกิจให้อยู่รอด

ส่วนความต้องการรองลงมาคือขอให้ภาครัฐช่วยพิจารณาพักชำระหนี้ โดยจำนวนเดือนที่ต้องการขอพักหนี้มีแตกต่างกันไป ส่วนใหญ่ 63% ขอให้พักชำระหนี้ 19-24 เดือน อีก 24ขอพักชำระหนี้ 7-12 เดือน ส่วน 8ขอพักชำระหนี้ 1-6 เดือน และสุดท้ายอีก 3ขอพักชำระหนี้ 13-18 เดือน พร้อมกันนี้ยังขอให้ภาครัฐช่วยพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยพร้อมทั้งพักชำระเงินต้น ส่วนใหญ่ 36ต้องการชำระดอกเบี้ยอยู่ที่อัตรา 1-1.99รองลงมา 24ต้องการชำระดอกเบี้ยอยู่ที่อัตรา 0-0.5และอีก 21ต้องการชำระดอกเบี้ยอยู่ที่อัตรา 2-2.99เป็นต้น

ขณะเดียวกันผู้ประกอบธุรกิจยังเสนอให้ช่วยสนับสนุนซอฟท์โลน โดยส่วนใหญ่ต้องการวงเงินกู้อยู่ที่ 1-5 ล้านบาทมากที่สุดถึง 31% รองลงมาคือวงเงินกู้ 5 แสน-1 ล้านบาทอยู่ที่ 17% และวงเงินกู้ 1-5 แสนบาทอยู่ที่ 15% ส่วนอัตราสินทรัพย์ค้ำประกันวงเงินกู้ที่ต้องการ ส่วนใหญ่ขอให้ไม่มีการค้ำประกันมากถึง 70% รองลงมาคือมีการค้ำประกัน 1-5ของวงเงินกู้ และ 15-20ของวงเงินกู้ตามลำดับ  

ด้านระยะเวลาปลอดอัตราดอกเบี้ย ส่วนมากกว่า 45% เสนอขอให้ภาครัฐปลอดดอกเบี้ยตลอดระยะเวลาเงินกู้ รองลงมาคือภายใน 24 เดือนแรก และภายใน 12 เดือนแรกตามลำดับ ขณะที่ประเภทของดอกเบี้ย ผู้ประกอบธุรกิจเห็นว่าอยากให้เป็นแบบคงที่มากถึง 91และในส่วนของระยะเวลาในการพิจารณาอนุมัติวงเงินกู้ ส่วนใหญ่กว่า 78% เสนอขอให้เร่งพิจารณาอนุมัติภายใน 2 สัปดาห์มากที่สุด ส่วนที่เหลือเสนอขอให้อนุมัติภายใน 4 สัปดาห์ และ 8 สัปดาห์ตามลำดับ