กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ (25 ม.ค.64)

กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ (25 ม.ค.64)

25-29 มกราคม: ยังคงอยู่ในช่วงแห่งการปรับฐาน

สรุปภาวะตลาด และมุมมองตลาดสัปดาห์นี้:

ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนี SET ย่อลงในระดับปานกลางตามที่เราประเมินเอาไว้ ซึ่งนอกจากราคาหุ้นในตลาดที่ค่อนข้างตึงแล้ว ยังมีปัจจัยลบอีกหลายเรื่องที่กระตุ้นให้เกิดแรงเทขาย เรื่องแรกคือผู้ผลิตวัคซีน COVID-19 รายหลักสองสามราย อย่างเช่น Sinovac และ Pfizer-BioNTech รายงานประสิทธิผลของ
วัคซีนที่ยังไม่นิ่ง โดยในกรณีวัคซีนของ Pfizer ในประเทศทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 20 ราย เรื่องที่สอง คือ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐซึ่งฟื้นตัวขึ้นมาหลังจากที่ร่วงลงไปแรงในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ความสนใจเข้าลงทุนในตลาดหุ้น EM ลดลง และกระแสเงินทุนไหลเข้าชะลอตัวลง เรื่องที่สามคือนักลงทุนระมัดระวังมากขึ้นกับการลงทุนในตลาดหุ้นในประเทศ หลังจากที่ ตลท. เปิดเผยแผนจัด public hearing เกี่ยวกับข้อเสนอที่จะเปลี่ยนสูตรคำนวณดัชนีหุ้นไทย โดยจะนำ free float ของหุ้นแต่ละตัวเข้ามาร่วมในการพิจารณาด้วย เรื่องที่สี่คือมีความเป็นไปได้ที่นักลงทุนสถาบันในประเทศจะขายหุ้นออกมาเพื่อระดมเงินสดเอาไว้สำหรับจองซื้อหุ้น IPO ของ OR PCL

สำหรับในสัปดาห์นี้ (25-29 มกราคม) เราคาดว่าตลาดหุ้นน่าจะเกิด tactical correction ต่อเนื่อง ก่อนหน้านี้ ราคาหุ้นได้สะท้อนถึงปัจจัยบวกอย่างเช่นการนำวัคซีนออกมาใช้ในประเทศต่าง ๆ เพิ่มขึ้นทั่วโลก, มาตการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐรอบใหม่, และความคาดหวังต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจใน 2H64
ไปเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นเมื่อถึงตอนนี้ เราจึงมองว่านักลงทุนจะไม่ตื่นเต้นง่าย ๆ กับประเด็นเดิม ๆ แล้วสำหรับปัจจัยภายนอก ประธานาธิบดี Biden อาจจะเผชิญอุปสรรคบ้างในการที่จะผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ได้เต็ม 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ฯ แม้จะคุมเสียงข้างมากในทั้งสองสภาแล้วก็ตาม นอกจากนี้ นักลงทุนก็ยังจับตาดูปัจจัยอื่นของสหรัฐอีก อย่างเช่น การตัดสินนโยบายการเงินของ Fed และ ตัวเลข GDP 4Q63 ล่วงหน้าของสหรัฐ สำหรับปัจจัยภายในประเทศ เราคิดว่าประเด็นที่ต้องติดตาม ได้แก่ สถานการณ์การติดเชื้อภายในประเทศ, ข้อมูลเศรษฐกิจมหภาคของไทยเดือนธันวาคม 2563 และ การประกาศผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนนอกภาคการเงินงวด 4Q63 ในขณะเดียวกัน เมื่ออิงจากearnings yield gap ปี 2564 เฉลี่ย 10 ปี เรายังคงประเมินว่า downside ของดัชนี SET อยู่ที่ 1,465 จุด คิดเป็น downside จากระดับปัจจุบันที่ 2.2% เรายังคงแนะนำกลยุทธ์ ‘ซื้อเมื่อย่อ’ ซึ่งสะท้อนถึง i) downside ที่จำกัดของดัชนี SET และ ii) มุมมองระยะยาวของเราว่าตลาดยังคงอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น

ธีมการลงทุน ปัจจัย และกระแสข่าวสำคัญที่จะมีผลกับตลาดในสัปดาห์นี้:

(0/-) ความคืบหน้าของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐมูลค่า 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ฯ ถึงแม้ว่าพรรค Democrats จะคุมเสียงข้างมากในทั้งสองสภา แต่จากข่าวล่าสุดประธานาธิบดี Biden ยังมีเสียงสนับสนุนไม่เพียงพอที่จะผลักดันร่างกฎหมายเพื่อให้ใช้งบได้เต็ม 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ ตามกฎหมายสหรัฐ การอนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบนี้ต้องใช้เสียง 60% ของวุฒิสมาชิก

(0) การประชุม FOMC ในวันที่ 26-27 มกราคม นักเศรษฐศาสตร์ของเรา และ consensus มองว่า Fed น่าจะยังคงนโยบายอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นศูนย์ (ZIRP) และคงยอดการซื้อพันธบัตรรายเดือนเอาไว้ที่ 1.20 แสนล้านดอลลาร์ฯ นอกจากนี้ นักลงทุนยังต้องจับตาดูการปรับเปลี่ยนท่าทีการดำเนินนโยบาย
หรือ การสื่อสารนโยบายในช่วงที่ประธานาธิบดี Joe Biden เข้ามารับตำแหน่งใหม่

เปลี่ยนมาเน้นหุ้นเชิงรับในระยะสั้นๆ นี้

เนื่องจากเรามองว่าตลาดน่าจะเกิด correction ต่ออีก เราจึงเปลี่ยนมาเน้นหุ้น defensive มากขึ้น และ ลดความสนใจหุ้น big cap ลง เรามองว่าหุ้นในธีมต่อไปนี้จะ outperform ตลาดในระยะสั้น ธีมแรกคือ หุ้นที่เกี่ยวข้องกับการผ่อนคลายมาตรการทางสังคมในเดือนกุมภาพันธ์ อย่างเช่น CPN*, CRC* และ
MAJOR* ธีมที่สองคือหุ้นกลุ่มผู้บริโภคที่โยงกับกำลังซื้อในต่างจังหวัด ซึ่งน่าจะได้อานิสงส์จากมาตรการกระตุ้นการบริโภครอบล่าสุด อย่างเช่น DOHOME* และ GLOBAL* และธีมสุดท้าย คือหุ้นกลุ่มที่มี free float สูงกว่าค่าเฉลี่ย ซึ่งอาจจะได้รับความสนใจจากการที่ SET อาจจะนำ free float เข้ามาร่วมในการคำนวณดัชนีหุ้นในอนาคต เราคิดว่าในธีมนี้ หุ้นที่สนใจคือกลุ่มธนาคาร โรงพยาบาลและหุ้นเฉพาะอย่างเช่น SCC* และ TISCO*