'หญิงหน่อย'ดึงลูกสาว'ชูวิทย์'ร่วมงานคนรุ่นใหม่ลงพื้นที่ช่วยชาวบ้าน

"สุดารัตน์" นำคนรุ่นใหม่ ทีมอาสากลุ่มสร้างไทย ลงพื้นที่ชุมชนจันทราสุข ฟังปัญหาปชช. แก้ความทุกข์ยาก หวัง สร้างงานให้คนตัวเล็กมีรายได้ แนะ เยียวยาทุกครอบครัว รายได้ต่ำว่า5หมื่นต่อปี "ตระการตา" ลูกสาว "ชูวิทย์" ร่วมคณะด้วย

คุณหญิงสุดารัตน์  เกยุราพันธุ์ พร้อม นายบำรุง รัตนะ อดีต .. พาทีมคนรุ่นใหม่ อาสาสมัครกลุ่มสร้างไทยลงพื้นที่ชุมชนจันทราสุข ลาดพร้าว 87  เพื่อรับฟังปัญหาจากประชาชนคนตัวเล็ก และร่วมคิด ร่วมแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากให้ประชาชน โดยกลุ่มสร้างไทย ย้ำถึงเป้าหมายที่จะสร้างความเท่าเทียม และให้โอกาสคนตัวเล็ก ในการสร้างรายได้ ตั้งแต่เกษตรกรลูกจ้าง พ่อค้าแม่ขาย SMEs จนถึงโอกาสของคนรุ่นใหม่ อย่าง Startup

โดยทีม อาสาสร้างไทย ที่มาในวันนี้ประกอบด้วย 1.นายเทพฤทธิ์ สีน้ำเงิน  อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยคอร์เนล และมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

2...ธิดารัตน์ ยิ่งเจริญ นักวางแผนนโยบายจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด

3.นายรณกาจ ชินสำราญ นักธุรกิจ เจ้าของภัตตาคารมากรูโระ

161147379166 4... ตระการตา กมลวิศิษฏ์  นักเศรษฐศาสตร์ นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ลูกสาวนายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์

5...เกณิกา ตาปสนันทน์  เจ้าของธุรกิจ Bambinista Salon

6...ณิชกมล บัวงาม

ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด จากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

161147342994

โดยคุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวถึงการมาลงพื้นที่ในโครงการ"รวมพลังสู้ภัย COVID" และได้พาทีมอาสาของกลุ่มสร้างไทย มาฝึกทำงานรับใช้ประชาชน ซึ่งแต่ละคนมีความรู้ ความสามารถและมีจิตใจที่อาสามาช่วยสังคม มาช่วยคนตัวเล็กที่กำลังยากลำบาก น้องๆเหล่านี้จะร่วมกันใช้ความรู้จากโลกยุคใหม่ และเทคโนโลยี มาช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพ ให้กับคนตัวเล็กที่กำลังตกงาน กำลังขาดรายได้

ปัญหาที่ประชาชนในชุมชนจันทราสุขร้องเรียนก็คือปัญหาปากท้อง ที่ได้รับผลกระทบมาตั้งแต่ก่อนCOVID จนมาถึงการระบาดรอบ 2  การเยียวยาไม่ทั่วถึง คนที่ยากลำบากกลับไม่ได้รับการเยียวยา หลายรายถึงกับบ่นว่ากำลังจะอดตาย บางครอบครัวตกงานทั้งบ้าน ทีมอาสาของกลุ่มสร้างไทย จะได้เข้ามาช่วยทำเรื่องการพัฒนาสินค้าชุมชน ทั้งด้านคุณภาพ การดีไซน์ ตลอดจนการขายออนไลน์

161147346393 ในการเยี่ยมชุมชนครั้งนี้คุณหญิงสุดารัตน์ พร้อมทีมอาสา ได้ช่วยกันแจกข้าวสารที่ทางกลุ่มสร้างไทย ได้ช่วยซื้อมาจากชาวนาที่ถูกกดราคาข้าวเปลือก เหลือเพียงกิโลกรัมละ 6-7 บาทเป็นการช่วยชาวนาให้ขายข้าวได้ราคาแพงขึ้นและนำข้าวนั้นมาช่วยผู้ที่เดือดร้อนจากพิษโควิชในกรุงเทพ

คุณหญิงสุดารัตน์  ยังกล่าวถึงการแก้ปัญหาโควิด-19หลังการลงพื้นที่ชุมชนต่างๆในกรุงเทพมหานครว่าจากการลงพื้นที่จะได้เห็นสภาพชุมชนแออัดในกรุงเทพมหานครซึ่งมีจำนวนประชากรเป็น 1 ใน 3 ของประชากรกรุงเทพฯ ที่เป็นผู้ด้อยโอกาสเข้าไม่ถึงมาตรการของรัฐ ส่วนใหญ่ยากจน และเป็นผู้สูงอายุ บางคนไม่มีโทรศัพท์มือถือหรือมีรุ่นที่ไม่สามารถเข้าถึงแอพพลิเคชันได้ จึงไม่สามารถลงทะเบียนรับการช่วยเหลือได้ ดังนั้นจึงอยากเอาใจช่วยรัฐบาลให้บริหารเงินกู้  1 ล้านล้านบาท มาสร้างเศรษฐกิจให้พลิกฟื้นเศรษฐกิจให้ได้ และให้ไปถึงคนที่เดือดร้อนจริงๆ

พร้อมเสนอให้เยียวยาผู้ยากไร้ทุกครอบครัวโดยใช้ข้อมูลจากสำนักงานเขตหรือชุมขน ที่มีข้อมูลผู้มีมีรายได้ต่ำว่า 50,000 บาทต่อปีอยู่แล้ว  แม้การเยียวยาทุกครอบครัวอาจไม่ได้ให้เงินจำนวนมาก แต่จะทำให้ชาวบ้านสามารถเลี้ยงตัวเองได้  อยากให้เยียวยาทุกครอบครัวอาจจะไม่ได้เงินเยอะแต่เขาสามารถประคับประคองเลี้ยงตัวเองได้  ทั้งนี้เงินกู้ 1 ล้านล้านจะต้องใช้ให้เกิดประโยชน์ ให้ถึงทุกคนเดือดร้อนใช้วิธีง่ายๆด้วยการแจกครัวเรือนและต้องเร่งเยียวยาให้ทันท่วงที

ส่วนการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งโครงการคนละครึ่งโครงการเราเที่ยวด้วยกัน แม้จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ แต่ไม่สามารถทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ทันทีจึงอยากให้รัฐมีโครงการที่จะใช้เงินกู้ฟื้นฟูเศรษฐกิจได้จริง เพราะหากใช้ไม่ถูกจุดจะยิ่งทำให้เศรษฐกิจโดยรวมแย่ลง