จับตาสหรัฐเคาะมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ จ่อหนุนหุ้นขึ้น-บาทแข็ง กดทองย่อลง

จับตาสหรัฐเคาะมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ จ่อหนุนหุ้นขึ้น-บาทแข็ง กดทองย่อลง

ตลาดจับตามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐวงเงิน1.9ล้านล้านดอลลาร์ในสัปดาห์หน้า ลุ้นหุ้นไทยไปต่อ คาดแกว่งตัวระดับ 1,470-1,520 จุด เงินบาทอาจแข็งค่าเล็กน้อยในกรอบ 29.80-30.20บาทต่อดอลลาร์ แต่อาจกดดันทองคำย่อตัวลง ทดสอบแนวรับ 1,840-1,856 ดอลลาร์ต่อออนซ์

ดัชนีตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้(18-22..63) หุ้นไทยร่วงลงต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน โดยดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,497.88 จุด ลดลง 1.40% จากสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 90,267.08 ล้านบาท ลดลง 7.76% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี mai เพิ่มขึ้น 0.25% มาปิดที่ 350.34 จุด

หุ้นไทยปรับตัวลงช่วงต้นสัปดาห์ ทิศทางเดียวกับหุ้นภูมิภาค ท่ามกลางความกังวลต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจากผลกระทบของสถานการณ์โควิด-19 ก่อนจะดีดตัวขึ้นช่วงสั้นๆ ในเวลาต่อมาขานรับการอนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ รวมถึงความหวังต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี หุ้นไทยปรับตัวลงอีกครั้งตั้งแต่ช่วงกลางสัปดาห์ ตามแรงขายในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี พลังงานและการเงิน ท่ามกลางความกังวลต่อสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังรุนแรงและยืดเยื้อ รวมถึงข่าวการเตรียมปรับปรุงเกณฑ์เกี่ยวกับฟรีโฟลทและการคำนวณดัชนีตลาดฯ

ด้านนักลงทุนสถาบันในประเทศขายสุทธิ 2,041.52 ล้านบาท บัญชีหลักทรัพย์ขายสุทธิ 1,134.28 ล้านบาท นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิ 1,1052.72 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 4,228.52 ล้านบาท

บริษัทหลักทรัพย์ (บล.)กสิกรไทย คาดสัปดาห์ถัดไป (25-29 ..)  มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,485 และ 1,470 จุด ขณะที่ แนวต้านอยู่ที่ 1,510 และ 1,520 จุด ตามลำดับ

โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ สถานการณ์โควิด-19 ผลประกอบการงวดไตรมาส4/63 ของบจ. ไทย การประชุมเฟด (26-27 ..) มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ-จีน ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ยอดขายบ้านใหม่ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน รายได้และรายจ่ายเดือนเดือนธ.. 63 และจีดีพีไตรมาส4/63 ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ กำไรบริษัทภาคอุตสาหกรรมเดือนธ.. 63 ของจีน ตลอดจนยอดค้าปลีกและผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนธ.. 63 ของญี่ปุ่น

ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุ งินบาทขยับแข็งค่าเล็กน้อย หลังอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์ตามสกุลเงินส่วนใหญ่ในเอเชียท่ามกลางความกังวลต่อหลายปัจจัยเสี่ยง อาทิ ผลกระทบจากโควิดต่อเศรษฐกิจโลก ประเด็นปัญหาของวัคซีนที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ รวมถึงความกังวลต่อปัจจัยทางการเมืองก่อนพิธีสาบานตนของปธน. คนใหม่ของสหรัฐฯอย่างไรก็ดีเงินบาททยอยแข็งค่าในช่วงต่อมา ขณะที่เงินดอลลาร์ อ่อนค่าจากสัญญาณเร่งผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่วงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ฯ ของปธน. โจ ไบเดน

ในวันศุกร์ (22 ..) เงินบาทอยู่ที่ระดับ 29.97 เทียบกับระดับ 30.03 บาทต่อดอลลาร์ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (15 ..)

สำหรับสัปดาห์ถัดไป (25-29 ..) ธนาคารกสิกรไทยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 29.80-30.20 บาทต่อดอลลาร์

ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ผลการประชุมนโยบายการเงินของเฟด ความคืบหน้าของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ และสัญญาณการระบาดของโควิด-19 ทั่วโลก ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯที่สำคัญ ได้แก่  ดัชนีราคาบ้านเดือนพ.. 63 ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน ยอดขายบ้านใหม่ ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขายรายได้-รายจ่ายส่วนบุคคลและอัตราเงินเฟ้อที่วัดจาก Core PCE Price Index เดือนธ.. 63 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนม.. 64 และตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4/2563 (ครั้งที่ 1) นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามรายงานเศรษฐกิจการเงินเดือนธ.. 63 ของธปท. ด้วยเช่นกัน

ส่วนความเคลื่อนไหวราคาทองคำวันศุกร์ที่ผ่านมานี้  ปิดที่ 1,861.67 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขณะที่ราคาทองคำในประเทศอยู่ที่ 26,450 บาทต่อบาททองคำ

ด้านวายแอลจี บูลเลี่ยนอินเตอร์เนชั่นแนล ระบุว่า  วัคซีนป้องกันโควิด-19 สามารถปรับเปลี่ยนให้ใช้กับไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ได้ อีกทั้ง การติดเชื้อ   โควิด-19 ในสหรัฐอาจจะเริ่มชะลอตัวลง และ ชาวอเมริกันส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควดิ -19ภายในกลางปีนี้ มุมดังกล่าวสร้างความหวังว่า การระบาดของโควิด-19อาจยุติลงจนสร้างแรงกดดันต่อราคาทองคํา

อย่างไรก็ตาม ในสัปดาห์หน้า ในสหรัฐจะเริ่มพิจารณามาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจเพื่อเยียวยาผล กระทบจากโควดิ-19 แนะนําติดตามดูรายละเอียดของมาตรการดังกล่าว เพราะหากสามารถสร้างความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐได้ ทองคําอาจได้รับแรงกดดันแต่หากมาตรการดังกล่าว ไม่ได้ส่งผลบวกต่อศรษฐกิจสหรัฐ แต่กลับไปกระตุ้นเงินเฟ้อให้เพิ่มขึ้น ทำให้ราคาทองคํา ก็มีโอกาสปรับตัวขึ้นได้เช่นกัน

ทั้งนี้ ราคาทองคําพยายามทดสอบแนวต้านโซน 1,875-1,881 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อาจจับตาว่าจะผ่านได้หรือไม่ หากไม่ผ่านอาจได้เห็นการตัวลงทดสอบแนวรับโซน1,840-1,856  ดอลลาร์ต่อออนซ์

อย่างไรก็ตามหากราคาสามารถผ่านขึ้นไปได้จะมีแนวต้านถัดไปเหนือโซน 1,984 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทั้งนี้  ยังคงเน้นการเข้าซื้อเมื่อราคาอ่อนตัวลง หากหลุดแนวรับระวังการปรับตัวย่อลง เพื่อทดสอบแนวรับถัดไปโซน 1,818 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อาจจำเป็นต้องขายตัดขาดทุน และแบ่งขายบางส่วนเมื่อราคาปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น แต่หากราคาผ่านแนวต้านได้สามารถถือต่อเพื่อรอขายที่แนวต้านถัด