เลือกเก็งกำไรรายตัว โดยเพิ่มความระวังแรงทำกำไรหุ้นที่ขึ้นมามาก

เลือกเก็งกำไรรายตัว โดยเพิ่มความระวังแรงทำกำไรหุ้นที่ขึ้นมามาก

ตลาดหุ้นช่วงสั้นตอบรับปัจจัยบวกส่วนใหญ่ไปพอสมควรแล้ว

ทำให้ถึงแม้เราจะมองบวกกับแนวโน้มการรายงานกำไรไตรมาส 4/63 ของกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะพลังงาน ปิโตรเคมี บรรจุภัณฑ์ แต่หุ้นดังกล่าวก็อาจเผชิญแรงทำกำไรเพื่อลดความร้อนแรงและปรับต้นทุนของนักลงทุนให้ไม่ห่างกันจนเกินไป ขณะเดียวกันการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีสหรัฐ และส่วนต่างพันธบัตร 2 และ 10 ปี สหรัฐฯ ที่ถ่างขึ้นอาจทำให้เกิดแรงขายทำกำไรในตลาดหุ้นโลกในระยะสั้นได้ อย่างไรก็ตามเรายังคงมุมมองเชิงบวกระยะยาวต่อทั้งหุ้น และสินค้าโภคภัณฑ์ไม่เปลี่ยนแปลง

เพิ่มการผ่อนคลายธุรกิจ กทม.เริ่มผ่อนปรนการบังคับใช้มาตรการควบคุมการระบาดมากขึ้น โดยเพิ่มการผ่อนปรนให้แก่ 13 กิจการ ได้แก่ กิจการที่เกี่ยวกับเกมส์ ร้านเกมส์ สถานดูแลผู้สูงอายุ, สนามแข่งขันกีฦายกเว้นมวยกับสนามม้า, สถานที่จัดเลี้ยงไม่เกิน 300 ราย, ศูนยืพระเครื่อง, สถานเสริมความงาม, สถานออกกำลังกาย, ร้านนวด, โรงยิม, สถานที่เล่นสเก็ต, สถาบันสอนลีลาส, โรงเรียนสอนศิลปะการต่อสู้ ซึ่งเป็นบวกเชิงจิตวิทยากับหุ้นท่องเที่ยวและสปา

ธีมการลงทุนหลักยังเป็นเรื่องของ 1) การฟื้นตัวของเศรษบกิจและการกลับมาของเงินเฟ้อ 2) การสนับสนุนพลังงานสะอาดตามนโยบายประธานาธิปดีคนใหม่ 3) การค้าโลกที่มีแนวโน้มจะฟื้นตัว หลังหมดยุคทรัมป์ ซึ่งส่งผลบวกต่อกลุ่มโภคภัณฑ์, พลังงานทดแทน และอาหาร สำหรับกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ด้วย valuation ที่แพง ทำให้การลงทุนและเก็งกำไร ต้องเพิ่มความระวังที่มากขึ้น

ประเด็นการลงทุนเรายังคงชอบหุ้นรายตัวที่ได้ประโยชน์จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงการฟื้นตัวของกำลังการบริโภคจากต่างประเทศ (ส่งออก) อาทิ STA, AMA, TVO, TU, CPF, GFPT หรือที่มีปัจจัยบวกรายตัว อาทิ ETC, PTG, EA //สำหรับหุ้นใหญ่ในกลุ่มโภคภัณฑ์ เราชอบ PTT, PTTGC, IVL // และหุ้นลงทุนระยะยาว ทยอยสะสม SCGP, BDMS, MINT, CPALL, DCC // ภาพทางเทคนิคเป็นบวกต่อการเก็งกำไรระยะสั้น MICRO, DOHOME, COM7, SPVI, SQ, MCS

ภาพรวมกลยุทธ์ ยังคงมุมมองเชิงบวกระยะกลาง-ยาว อย่างไรก็ตามช่วงสั้นคาดเริ่มมีแรงทำกำไรรายตัวในหุ้นที่ปรับขึ้นมาก และอาจผันผวนจากการลดความเสี่ยงการเปลี่ยนแปลงผลตอบแทนพันธบัตร ก่อนการประชุมเฟด 26-27 ม.ค. // หุ้นแนะนำวันนี้ เก็งกำไร EPG*, BCH*, SPA*, CPN*

แนวรับ 1,480-1,503 จุด / แนวต้าน : 1,528 จุด สัดส่วน : เงินสด 60% : พอร์ตหุ้น 40%

ประเด็นการลงทุน

ECB มีมติคงอัตราดอกเบี้ยและวงเงินเข้าซื้อพันธบัตร. ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายและงวงเงินการเข้าซื้อพันธบัตรตามเดิม โดยยืนยันตรึงดอกเบี้ยที่ระดับปัจจุบันหรือต่ำกว่าจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะปรับขึ้นสู่เป้าหมายใกล้ 2%

ผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของสหรัฐต่ำคาด. กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 26,000 ราย สู่ระดับ 900,000 ราย ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ 925,000 ราย

บิตคอยน์ดิ่งหนัก กังวลไบเดนออกมาตรการคุมเข้มคริปโต. ราคาบิตคอยน์ร่วงหนัก 10% หลุด %32,000 ทำจุดต่ำสุดในรอบ 10 วัน จากความกังวลที่รัฐบาลภายใต้การบริหารของนาย โจ ไบเดน อาจออกมาตรการควบคุมการซื้อขายสกุลเงินดิจิตอล

กทม.สั่งคลายล็อกดาวน์ 13 รายการ. กทม.ประกาศผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ 13 รายการ เปิดให้บริการได้แต่ยังต้องปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด มีผล 22 ม.ค. นี้

การปรับเกณฑ์ Free floatหากมีการปรับเกณฑ์คำนวนดัชนี โดยใช้มูลค่าตลาดที่ปรับตามหุ้นหมุนเวียน หุ้นที่คาดว่าจะได้ประโยชน์ หรือมีอันดับในดัชนีสูงขึ้น ได้แก่ BBL, SCC, SCB, KBANK, BDMS, INTUCH, CPALL, PTT, CPN, TISCO ขณะที่หุ้นที่จะเสียประโยชน์ (หรือเสี่ยงน้ำหนักในดัชนีลดลง) ได้แก่ DELTA, AOT, GULF, ADVANC, GPSC, PTTEP, SCGP, AWC, BJC, CBG

 

ประเด็นติดตาม: - 22 ม.ค. : US Manufacturing PMI เดือน ม.ค. // 26 ม.ค. : US Consumer Confidence เดือน ม.ค. // 27 ม.ค. – ฝ่ายค้านยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล // 28 ม.ค. : FOMC meeting minutes

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)