"รมว.แรงงาน" ดอดหารือ "ส.ว." ตีความกม.ประกันสังคม ดึงเงินชราภาพช่วยแรงงาน

"รมว.แรงงาน" ดอดหารือ "ส.ว." ตีความกม.ประกันสังคม ดึงเงินชราภาพช่วยแรงงาน

"สุชาติ" เผยพยายาม หาช่องกฎหมายประกันสังคม ดึงเงินชราภาพ ช่วยแรงงาน ช่วงโควิด-19 ระบาด ระบุหากแก้ไขกฎหมายต้องรอถึงกันยายน

       นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน ตอบกระทู้ถามสดในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ถึงการเยียวยาผู้ใช้แรงงานและผู้ประกอบกิจการที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกสอง ซึ่งถามโดย น.ส.อนุสรี ทับสุวรรณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรครวมพลังประชาชาติไทย ว่า  กระทรวงแรงงานได้ดูแลทั้งนายจ้างและลูกจ้าง โดยนายจ้างนั้นได้ตระหนักถึงผลกระทบ โดยเฉพาะนายจ้างที่ใช้เงินตนเองเพื่อตรวจโควิด-19 ทำให้บอร์ดการแพทย์สำนักงานประกันสังคมให้โรงพยาบาลเอกชนในเครือช่วยผู้ประกอบการ คือ ตรวจคัดกรองในโรงงาน เพื่อลดการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าว ทำให้ตลาดการค้าต่างประเทศ ชื่นชมมาตรการดูแลของรัฐบาลไทย ทำให้ผู้รับสินค้าปลายทางมั่นใจว่าสินค้าปลอดภัย  โดยที่จ.สมุทรสาคร ตั้งเป้าตรวจให้ผู้ใช้แรงงาน 1 แสนคน จากจำนวนที่มี 2 แสนคน ทั้งนี้มีเงินให้นายจ้างกู้ยืมเงินจำนวนหนึ่งเพื่อให้กู้ยืม โดยล่าสุดนั้น นายจ้างกู้เงินในส่วนดังกล่าวแล้ว  3,000 ล้านบาท เพื่อช่วยนายจ้างไม่ให้ลดคนงาน อีกทั้งยังลดส่งเงินสมทบเข้าระบบ

         รมว.แรงงาน กล่าวด้วยว่าสำหรับการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวเมื่อ 15-21 มกราคม มีแรงงานต่างด้าวที่มี นายจ้าง จำนวน 1 แสนคน และแรงงานต่างด้าวที่ ไม่มีนายจ้าง จำนวน 7,000 คน  เป็นประเด็นที่วิเคราะห์ เบื้องต้นในส่วนของแรงงานหลักแสนคนนั้น เป็นแรงงานที่อยู่ในประเทศไทยก่อนโควิด-19 ระบาด และที่เข้ามาทีหลัง คาดว่าจะอยู่ที่หลักหมื่นคน อย่างไรก็ตามในประเด็นการรักษาพยาบาลแรงงานต่างด้าวที่ไม่อยู่ในระบบ ตนมองว่าไม่ถูกต้องที่จะนำภาษีของประชาชนจ่ายให้ ดังนั้นจึงต้องทำประกันสุขภาพ ราคา 3,200 บาท และหากแรงงานเข้าสู่ระบบประกันสังคม ครบ 3 เดือน จะสามารถขอคืนเงินทำประกันสุขภาพได้ ขณะที่ค่าตรวจโรคนั้น ตามที่ได้เอ็มโอยู จะมีค่าใช้จ่ายที่ 2,300 บาท

161120350524

         ทั้งนี้ น.ส.อนุสรี ได้ตั้งคำถามถึงข้อเรียกร้องของผู้ใช้แรงงานที่ต้องการให้นำเงินบำนาญชราภาพออกมาช่วยเหลือก่อน ซึ่งรมว.แรงงาน กล่าวว่า ตนได้ตั้งอนุกรรมการเพื่อพิจารณา เพื่อนำเงินชราภาพ ออกมาใช้ 30% ทั้งนี้ติดปัญหาเรื่องกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม ซึ่งพยายามแก้ไขให้โดยเร็วที่สุด หากสามารถแก้ไขได้ จะแก้ไข 3 เรื่อง คือ ให้กองทุนชราภาพ สามารถคำ้ประกันการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน, ใช้ระบบบำเหน็จ บำนาญ ซึ่งต้องผ่านการทำประชาพิจารณ์ จากประชาชน ทั้งนี้วิธีดังกล่าว ต้องใช้เวลา ซึ่งอาจเข้าสู่ครม. ประมาณเดือนกันยายน นอกจากนั้นได้หารือกับสมาชิกวุฒิสภานอกรอบเพื่อพิจารณาถึงเรื่องดังกล่าว และได้มีการตีความและนำเสนอให้กฤษฎีกาตีความ เพื่อนำเงินส่วนดังกล่าวช่วยเหลือประชาชน.