'เพื่อไทย' เติม 'เลือดใหม่' ลุย'พรรคเดี่ยว' ตั้งเป้าชิงรัฐบาล

'เพื่อไทย' เติม 'เลือดใหม่' ลุย'พรรคเดี่ยว' ตั้งเป้าชิงรัฐบาล

"พรรคเพื่อไทย" เตรียมตัว "เลือกตั้ง" ครั้งหน้าแล้ว ตั้งเป้าใหญ่ เป็นพรรคแกนนำรัฐบาล อันดับ1 แบบที่ไม่สนใจคู่แข่งอย่าง "ก้าวไกล" พร้อมส่งสารท้ารบกลายๆ ในสนามประชาธิปไตย และสะกิดแฟนคลับให้เข้าใจ "ยุทธศาสตร์แตกแบงค์พัน" นั้นหมดความหมาย ตัดขาด "หญิงหน่อย" อย่างหมดเยื่อใยไปแล้ว

จังหวะก้าวของพรรคเพื่อไทยดูจะกระฉับกระเฉงขึ้นมาบ้าง หลังจากอยู่ในภาวะระส่ำระสายหลายระลอก โดยเฉพาะความไม่ลงรอยกันภายในของกลุ่มก้อนต่างๆ จนเกิดอาการเลือดไหลโชก เมื่อสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์พร้อมแกนนำคนสำคัญทยอยลาออกจากพรรค

การขยับล่าสุด ของสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทยประเสริฐ จันทรรวงทองเลขาธิการพรรค และเฉลิม อยู่บำรุง ประธานคณะกรรมการกิจการพิเศษ ที่แท็กทีมตั้งโต๊ะแถลงถึงการปรับปรุงโครงสร้างพรรคให้เกิดความแข็งแกร่งในอนาคต

มีการแต่งตั้งคณะกรรมการประสานพื้นที่ในเขตเลือกตั้งทั่วประเทศ หรือ คณะกรรมการประสานโซน เพื่อเป็นแมวมองเฟ้นหาคนเลือดใหม่ทางการเมืองเพื่อสู้ศึกเลือกตั้งครั้งต่อไป ด้วยการดึงคนรุ่นใหม่ที่มีบทบาทในสนามท้องถิ่น และมีแววขึ้นชั้นสนามระดับชาติได้ รวมถึงบางพื้นที่จะมีการส่งต่อมรดกทางการเมืองให้คนรุ่นลูกรุ่นหลานได้สานต่ออีกด้วย

"คณะกรรมการชุดนี้จะทำงาน และสานงานในเขตพื้นที่ต่างๆ โดยรูปแบบที่ได้จัดโครงสร้างในการสรรหาบุคลากรทางการเมือง เพื่อดำเนินการร่วมรับฟังปัญหาต่างๆ ในเขตเลือกตั้ง เพื่อพรรคจะได้นำมาปรับปรุง เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ประชาชนได้รับความช่วยเหลือ พรรคเพื่อไทยมีเป้าหมายและตั้งใจว่าจะส่งผู้สมัครทุกเขตเลือกตั้ง 350 เขตในการเลือกตั้งครั้งหน้าและเราจะต่อสู้ในศึกการเลือกตั้งอย่างเด็ดเดี่ยว และไม่มีพรรคเสริมใดๆ ทั้งสิ้น" หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ระบุ

เลขาธิการพรรค ขยายความเพิ่มเติมว่าคณะกรรมการดังกล่าวขอเรียกสั้นๆ ว่า คณะกรรมการประสานโซน ประกอบไปด้วยพื้นที่ 21 โซน คือ ภาคเหนือ 2 โซน ตะวันออกเฉียงเหนือ 4 โซนภาคกลาง 5 โซน กทม. 6 โซน และภาคใต้ 4 โซน มีกรอบภารกิจคือ ทำหน้าที่เป็นแมวมองการค้นหาคนการเมืองหรือสมาชิกใหม่ๆ ที่มีอุดมการณ์เดียวกับพรรคเพื่อไทยมาเสริมทัพให้ และการรับฟังเสียงประชาชน เพื่อรวมรวบข้อมูลจัดสร้างนโยบายที่ตรงกับความต้องการประชาชน

พรรคจะเริ่มทำงานมิติคู่ขนานระหว่างพื้นที่โซนร่วมกับส่วนกลางของพรรค โดยจะดำเนินการให้ครบ 350 เขต และจะมีการจัดคณะจากส่วนกลาง หน่วยคาราวานเคลื่อนที่ ประสานงานระบบเทคโนโลยีลงพื้นที่ โดยกำหนดลงพื้นที่ภาคเหนือ และอีสานหลังปิดสมัยประชุมสภาฯ

มองมุมหนึ่ง เป็นการเตรียมตัวสู้กับคู่แข่งอย่างก้าวไกลที่แม้ว่า ..ในเพื่อไทยบางส่วนจะประเมินว่าก้าวไกลรอบหน้า จะได้ ..ลดน้อยลง เนื่องจากไร้ปัจจัยสนับสนุน อย่างตอนไทยรักษาชาติถูกยุบ และไร้กระแสของธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจที่ยังติดโทษแบนทางการเมือง จากคดีหุ้นสื่อ

เพื่อไทยกำลังหาทางฟื้นพรรค โดยผสมผสานสูตรระหว่างดาวรุ่งและตัวเก๋า โดยตั้งเป้าหมายจะส่งผู้สมัครเลือกตั้งให้ครบ 350 เขต เพื่อหวังเป็นพรรคอันดับ 1 ในการเลือกตั้งรอบหน้า

เราจะต่อสู้ในศึกการเลือกตั้งอย่างเด็ดเดี่ยว และไม่มีพรรคเสริมใดๆ ทั้งสิ้นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ประกาศกร้าว

ถือเป็นการส่งสารท้ารบของเพื่อไทยโดยเฉพาะเจาะจงถึงคุณหญิงหน่อยสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และต้องการสื่อสารถึงแฟนคลับให้เข้าใจตรงกันว่า อดีตประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย ที่ออกไปตั้งพรรคใหม่นั้น ตัดขาดจากเพื่อไทยแบบไร้เยื่อใย ไม่มีอาทรใดๆ ต่อกัน

ตอกย้ำว่า การเลือกตั้งครั้งหน้าเพื่อไทยหวังโกย..” เต็มสูบ เลิกยุทธศาสตร์เกี้ยเซียะหรือแตกแบงค์พันอย่างที่เพื่อไทยและไทยรักษาชาติเคยใช้ตอนเลือกตั้ง 24 มี..2562 อีกแล้ว

อย่าเพิ่งตกใจว่าเกิดอะไรขึ้น ที่พรรคเพื่อไทยมีนโยบายส่งผู้สมัครเลือกตั้งเต็มพื้นที่ของประเทศ พรรคมีนโยบายและตั้งใจจะบริหารประเทศชาติพรรคเดียว ถ้าเป็นไปได้ ยืนยันว่าไม่มีพรรคนอมินี พรรคเล็ก พรรคน้อยที่ส่งไป เอาแบงก์พันไปแลกแบงก์ร้อย ใครไปอ้างขออย่าไปเชื่อ เรามีแบงก์เดียวคือพรรคเพื่อไทยเฉลิม อยู่บำรุง ย้ำว่าเพื่อไทยจะมัดรวมกันเป็นก้อน

นับเป็นการเตรียมตัวเลือกตั้งของเพื่อไทยล่วงหน้าที่ค่อนข้างนาน ถึง 2 ปี กว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ ภายใต้เงื่อนไขถ้ารัฐบาลอยู่ครบเทอม หรืออาจตีความได้ว่า เหตุผลที่เพื่อไทยใช้เวลาแต่งตัวรอตั้งแต่เนิ่นๆ เผื่อรัฐบาลพลาดพลั้งอยู่ไม่ครบวาระ

แต่ระยะยาว การเขย่าโครงสร้างใหม่รอบนี้ ก็เพื่อเตรียมพร้อมเต็มที่ ในการรบกับทุกพรรค ไม่เฉพาะพรรคในขั้วรัฐบาลแต่ยังมีพรรคร่วมฝ่ายค้านอย่างก้าวไกลที่เพื่อไทยตั้งเป้าจะลดขนาดลงให้ได้

บทเรียนของการแตกแบงก์พัน ที่ส่งผลกระทบให้เพื่อไทยต้องสูญเสียนักการเมืองแถวสองแถวสามไปเป็นจำนวนไม่น้อยอีกทั้งการอยู่กระจัดกระจายก็เสี่ยงกับปัญหาไร้เอกภาพจึงอาจเป็นเหตุให้ต้องปรับยุทธศาสตร์ กลับมายืนหยัดในจุดยืนเดิม เดินหน้าทำพรรคเดี่ยว และสร้างกระแสให้กลับสู่พรรคอันดับ 1 ในฐานะแกนนำรัฐบาลให้ได้