'สหรัฐ' เปลี่ยนผู้นำ 'เศรษฐกิจโลก' ยังอยู่ที่โควิด

'สหรัฐ' เปลี่ยนผู้นำ 'เศรษฐกิจโลก' ยังอยู่ที่โควิด

"เศรษฐกิจโลก" ยังคงต้องเผชิญสึนามิโควิด-19 ชาวโลกเผชิญชะตากรรมกันถ้วนหน้าไปอีก 1-2 ปี ตราบใดที่วัคซีนยังไม่เป็นที่แพร่หลาย ขณะเดียวกันยังมีปัจจัยสำคัญอย่างการเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอย่างเป็นทางการของโจ ไบเดน และแนวนโยบายต่อจากนี้

คืนวันพุธ (20 ม.ค.) ที่ผ่านมา โจ ไบเดน ทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ คนที่ 46 เป็นบันทึกประวัติศาสตร์การเมืองสหรัฐ ว่าพิธีการครั้งนี้ แตกต่างไม่เหมือนครั้งก่อนๆ ไม่ว่าเรื่องของห้วงแห่งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลให้ผู้เข้าร่วมงานที่งานที่กรุงวอชิงตัน ดีซี จากที่เคยจำนวนมากอย่างสมัยประธานาธิบดีโอบามา มีผู้เข้าร่วม 1-2 ล้านคน ครั้งนี้จะจำกัดอยู่ที่หลักพันเท่านั้น หรือเรื่องของการรับไม้ต่อผู้นำ ครั้งนี้อบอวลไปด้วยความขัดแย้ง ไม่เป็นมิตรของประธานาธิบดีคนเก่า ท่ามกลางการรักษาความปลอยภัยระดับสูงสุดด้วยทหารนับสิบกองร้อย

นโยบายเร่งด่วนในสัปดาห์แรก ที่ไบเดนจะดำเนินการทันทีที่รับตำแหน่ง มีทั้งปรับปรุงแก้ไข ยกเลิกคำสั่งเดิมและเพิ่มเติมคำสั่งใหม่ ได้แก่ การบังคับใส่หน้ากากในพื้นที่ของหน่วยงานรัฐบาลและขณะเดินทางข้ามรัฐ การเปิดโรงเรียนและภาคธุรกิจ เพิ่มศูนย์การทดสอบผู้ติดเชื้อ การช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด ด้วยการผลักดันแพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ ยังมีจะมีการปรับแก้กฎหมายหลักประกันสุขภาพ ยกเลิกนโยบายการปิดกั้นผู้อพยพจากประเทศมุสลิมบางประเทศไม่ให้เข้าสหรัฐ นี่คือการใช้เวลาช่วงแรกในการจัดการกับปัญหาภายใน

ระยะต่อไปจะเป็นนโยบายด้านเศรษฐกิจต่างประเทศ หากดูจากทีมงานไบเดนโดยเฉพาะขุนคลัง เจเน็ต เยลเลน ชัดเจนว่ายังให้น้ำหนักในการทำสงครามการค้ากับจีนไม่น้อยกว่ายุคทรัมป์ เพราะในสายตาสหรัฐ จีนคือละเมิดการค้า ขโมยทรัพย์สินทางปัญญา ทุ่มตลาดให้สินค้าราคาถูกและขัดขวางการส่งออก ยุทธศาสตร์สงครามการค้าจึงไม่แตกต่างจากทรัมป์ แต่รูปแบบและวิธีการการต่อสู้จะเปลี่ยนไปจากคนๆ เดียวเป็นทีมเวิร์คและเครือข่ายพันธมิตร เน้นให้บริษัทและชาวอเมริกันมีงานทำแข่งขันกับได้มากขึ้น ประเทศต่างๆ จะได้รับผลกระทบจากการชะงักงันของสายพานการผลิต

เราเชื่อว่า จากนี้ไปมนุษยชาติยังเผชิ5ญความยากลำบากจากผลกระทบการทำศึกการค้าสหรัฐกับจีน แต่อาจจะเป็นคลื่นชายฝั่งเล็กน้อยหากเปรียบเทียบกับสึนามิโควิด รอบปีที่ผ่านมา ชาวโลกเผชิญชะตากรรมกันถ้วนหน้า โควิดจะยังเป็นผู้ร้ายตัวฉกาจตัวจริง ตัวแปรสำคัญในการชี้ชะตาเศรษฐกิจไปอีก 1-2 ปี ตราบใดที่วัคซีนยังไม่เป็นที่แพร่หลาย ความเชื่อมั่นเศรษฐกิจและการลงทุนยังไม่เกิด เช่นเดียวกับสภาพคล่องที่ยังแห้งผาก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ยืนยันแล้วว่า เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มไม่แน่นอนสูงขึ้นอีก ช่องว่างระหว่างประเทศร่ำรวยและยากจนจะห่างกันมากขึ้น

ไอเอ็มเอฟประกาศเพิ่มการจัดหาเงินแบบมีเงื่อนไขผ่อนปรน ให้กับตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา คาดว่าจะช่วยเหลือประมาณ 2 หมื่นล้านดอลลาร์ แต่ยังไม่เพียงพอ สอดคล้องกับมุมมองของธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ที่ให้น้ำหนักที่โควิด ประเทศไทยก็หนีไม่พ้น เวิลด์แบงก์มองว่าผลกระทบโควิดจะทำให้คนไทยยากจนเพิ่มเป็น 5.2 ล้านคน หรือเพิ่มมากถึง 1.5 ล้านคนจากปีก่อน สำหรับวิธีแก้ ภาครัฐจะต้องงัดมาตรการเร่งด่วนเยียวยา สกัดไม่ให้ปัญหาขยายวงกว้าง เพราะหากโควิดแพร่ระบาดรุนแรงกว่านี้ อาจจะฉุดเศรษฐกิจไทยปีนี้จากที่คาดว่าจะเติบโต 4% ลดลงมาเหลือแค่ 2.4% รัฐบาลทราบแล้วเปลี่ยน