เปิด ร่าง แก้ไข พ.ร.ก.ซอฟท์โลน ฉบับ "กมธ.สภาฯ" เพิ่มสิทธิคนเข้าถึง-ขยายเวลาชำระเงินกู้

เปิด ร่าง แก้ไข พ.ร.ก.ซอฟท์โลน ฉบับ "กมธ.สภาฯ" เพิ่มสิทธิคนเข้าถึง-ขยายเวลาชำระเงินกู้

กมธ.3พ.ร.ก.กู้เงิน ลงนามส่งหนังสือถึง "นายกฯ" ให้ออก พ.ร.ก. แก้ไข พ.ร.ก.ซอฟท์โลน พบแก้5มาตรา เพื่อเพิ่มสิทธิคนเข้าถึง-ขยายเวลาชำระคืนเงินกู้-ขีดเพดาน คนกู้รายใหม่

      นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ พิจารณาติดตาม ตรวจสอบ การใช้เงินตามพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) 3 ฉบับ เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่าตนไดืลงนามในหนังสือด่วนที่สุด ให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายรัฐมนตรี และรมว.กลาโหมเสนอให้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ตราพ.ร.ก.เพื่อแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 พ.ศ.2563 (ซอฟท์โลน) ตามอำนาจในรัฐธธรรมนูญ​ม มาตรา 172  ตามที่กมธ. เห็นร่วมกันและมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย, สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง, สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา มีความเห็นร่วมกันด้วย
      ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในข้อเสนอให้แก้ไข พ.ร.ก.ซอฟท์โลน ของกมธ. นั้นมีข้อเสนอให้แก้ไข  5 มาตรา ได้แก่ แก้ไขมาตรา 3 คำนิยามคำว่า วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยขยายให้ครอบคลุมวิสาหกิจที่ไม่มีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงิน  เพิ่มจากเดิมที่กำหนดให้เป็นวิสาหกิจที่มีสินเชื่อกับสถาบันการเงิน หรือมีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินแต่ละแห่งไม่เกิน 500 ล้านบาทเท่านั้น
​     มาตรา 7 และมาตรา 10 ว่าด้วยการยื่นคำขอกู้ยืมเงินของสถาบันการเงินต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ไม่กำหนดการขยายระยะเวลาการให้กู้เงิน จากเดิมที่กำหนดให้ขยายได้ ไม่เกิน 2 คราวนอกจากนั้นได้แก้ไขกำหนดชำระคืนเงินกู้ยืม จากเดิมที่กำหนดให้คืนภายใน 2 ปี เป็น 5 ปี นับแต่วันที่ได้รับเงินกู้
       มาตรา 9  แก้ไขเงื่อนไขว่าด้วยการชำระคืนเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน พร้อมกำหนดเพดานให้ผู้ประกอบวิสาหกิจรายใหม่ ที่ไม่เคยเป็นลูกหนี้ของธนาคาร ที่ไม่เกิน 20 ล้านบาท พร้อมแก้ไขอัตราดอกเบี้ยในส่วนการให้สินเชื่อเพิ่มเติม ไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี จากเดิมกำหนดที่ร้อยละ 2 ต่อปี 
      และ มาตรา 11  แก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยอัตราการชดเชยความเสียหายจากการกู้ยืมเงินของสถาบันการเงิน โดยให้ชดเชยไม่เกินร้อยละ 80 ของความเสียหายจากลูกหนี้แต่ละราย พร้อมกำหนดว่าเมื่อครบ 5 ปี 6 เดือนที่พ.ร.ก.นี้ใช้บังคับ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเริ่มคำนวณเงินชดเชย
      นอกจากนั้นในเนื้อหายังกำหนดให้สิทธิผู้ประกอบวิสามหกิจรายที่ได้สินเชื่อไปแล้วตามพ.ร.ก.เดิม กับผู้ประกอบวิสาหกิจที่ยื่นใหม่ ตามกฎหมายที่ได้แก้ โดยไม่เกินวงเงินที่กู้ยืมตามที่กำหนดไว้.