"กลยุทธ์"การลงทุน(15 ม.ค.64)

"กลยุทธ์"การลงทุน(15 ม.ค.64)

การปรับขึ้นของบอนด์ยิลด์สหรัฐฯ ไม่น่าจะส่งผลลบต่อตลาด

'Blue wave' ของการเมืองสหรัฐ, ความคาดหวังต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่ของสหรัฐและ การนำวัคซีนป้องกัน COVID-19 ออกมาใช้เป็นเหตุให้ yield curve สหรัฐชันขึ้นในช่วงนี้

yield curve ของพันธบัตรสหรัฐเริ่มชันขึ้นมาเรื่อย ๆ ตั้งแต่มีการประกาศความคืบหน้าในการพัฒนาวัคซีนในเดือนพฤศจิกายน 2563 และความชันของกราฟในช่วงนี้ก็ทำให้นักลงทุนเป็นห่วงเกี่ยวกับเงินเฟ้อ และผลกระทบต่อการมูลค่าสินทรัพย์ในตลาดการเงิน แต่เรากลับมองต่างมุม โดยเรามองว่าอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรอายุยาวที่เพิ่มขึ้นในช่วงนี้สะท้อนถึงปรากฏการณ์ blue wave ของการเมืองสหรัฐ, ความคาดหวังต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่ของสหรัฐซึ่งน่าจะมีรายละเอียดชัดเจนออกมาในคืนวาน และการนำวัคซีนป้ องกัน COVID-19 ออกมาใช้

เร็วเกินไปที่จะเป็ นกังวลกับเงินเฟ้ อ และการปรับนโยบายการเงินเข้าสู่ระดับปกติ โดยเฉพาะเมื่อสหรัฐได้ปรับมาใช้เป้าหมายเงินเฟ้อเฉลี่ยแทนแล้ว

ถึงแม้ว่านักเศรษฐศาสตร์จะมองว่าอัตราเงินเฟ้ อของทั้งโลก ของสหรัฐ และของประเทศไทยอาจจะสูงในช่วงเปลี่ยนผ่านในปลาย 1Q64 ถึง 2Q64 ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงฐานที่ต่ำมากเกินเหตุเพราะราคาน้ำมันที่ลดลงไปต่ำมากในช่วงที่ COVID ระบาดรอบแรก แต่อัตราเงินเฟ้ อก็น่าจะกลับมาเป็นปกติมากขึ้นในครึ่งหลังของปีนี้ หากพิจารณาจากสถิติเงินเฟ้ อในอดีตของสหรัฐ core PCE ใช้เวลาค่อนข้างนานกว่าจะฟื้นตัวหลังภาวะเศรษฐกิจถดถอย หรือเกิดวิกฤตราคาน้ำมันโลกร่วงแรง โดยหลังวิกฤติปี 2551 ใช้เวลานานถึง 24 เดือน และหลังราคาน้ำมันตกหนักในปี 2558 ใช้เวลานานถึง 27 เดือนกว่าที่เงินเฟ้อสหรัฐจะกลับมาฟื้นตัวอย่างยั่งยืนได้เต็ม 1% นอกจากนี้ Fed ก็ยังปรับกรอบนโยบายการเงินมาใช้ 'เป้าหมายเงินเฟ้อเฉลี่ย' เพื่อจะให้สามารถทนรับสภาพเงินเฟ้อที่สูงขึ้นได้นานขึ้นด้วย

ตลาดอาจจะเกิด correction ในระยะสั้น เนื่องจากราคาหุ้นไทยตึงตัว แต่เรายังมองบวกในปี 2564

ย้อนกลับไปเมื่อเดือนธันวาคม 2563 เราตั้งเป้าดัชนี SET 1Q64 ไว้ที่ 1,590 จุด และเป้าปี 2564 ไว้ที่1,700 จุด โดยอิงจาก EPS กลางปี 2565 ที่ 84.3 และ P/E ที่อิงตามแบบจำลองที่ 18.9x ใน 1Q64 และ ที่ 20.1x สำหรับงวดสิ้นปี 2564 แต่เนื่องจากราคาน้ำมันวิ่งขึ้นมาแรงในช่วงนี้ บวกกับความคาดหวังเชิงบวกต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ และยอดผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในกรุงเทพที่คุมอยู่ ทำให้ดัชนี SET วิ่งขึ้นมาถึงเกือบ 8% YTD และทำให้เหลือ upside ในระยะสั้นจำกัด เมื่อเทียบกับเป้าในไตรมาสนี้ ดังนั้น เราจึงมองว่าตลาดน่าจะเกิด correction ในเร็วๆ นี้ แต่อย่างไรก็ตาม เราแนะนำให้นักลงทุนระยะยาวกลับเข้ามาในตลาดเมื่อเกิด correction เพราะเรามองว่าการฟื้นตัวตามวัฎจักรของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยจะชัดเจนมากขึ้นใน 2H64 ในขณะที่แรงสนับสนุนจากนโยบายการเงินและการคลังยังไม่น่าจะจางหายไปในอีก 12 เดือนข้างหน้า

หุ้นที่จะได้อานิสงส์จากการที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐสูงขึ้น - หุ้นกลุ่มธนาคาร,อสังหาริมทรัพย์, โรงพยาบาล และปิโตรเคมี มีสหสัมพันธ์เป็นบวกในระดับสูง

ในการพิจารณาหุ้นที่จะได้อานิสงส์จากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐสูงขึ้น เราได้ทำ correlation matrix ระหว่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอายุ 10 ปี กับดัชนีหุ้นรายกลุ่มของไทย โดยใช้กรอบเวลา 10 ปี, 5 ปี และ 2 ปี เราพบว่าดัชนี SET เองก็มีสหสัมพันธ์เชิงบวกกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตร
สหรัฐ และมีหุ้น 4 กลุ่มที่มีสหสัมพันธ์สูงกว่าดัชนี SET ได้แก่ กลุ่มธนาคาร อสังหาริมทรัพย์โรงพยาบาล และปิโตรเคมี สำหรับแนวโน้มในระยะสั้น เรามองว่ากลุ่มธนาคาร และปิโตรเคมีน่าสนใจมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ เนื่องจากราคาหุ้นที่ยังไม่แพงมาก และเข้ากับธีม cyclical plays ของทั้งโลก โดยในกลุ่มนี้เราชอบ BBL* และ PTTGC* สำหรับหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และโรงพยาบาล เรายังมองกลาง ๆ จากภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอ และการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวช้า โดยในกลุ่มนี้ เราเลือก SPALI*, AP* และ BDMS* เป็นหุ้นเด่น