ตัดสินใจพลาด 'สมอง'สั่งการหรืออารมณ์แบบดราม่า

ตัดสินใจพลาด 'สมอง'สั่งการหรืออารมณ์แบบดราม่า

สมองคนเรามักจะตัดสินใจแบบมีอคติตามธรรมชาติ และไม่ต้องหาวิธีแก้ แค่ต้องระวัง! ยิ่งเป็นการตัดสินใจที่ต้องการความฉับไว อคติก็จะวิ่งมาทันที ลองอ่านเรื่องนี้ แล้วจะรู้ว่า คุณตัดสินผิดๆ เพราะอะไร

ใครเป็นแบบนี้ก็มองเห็นแววอนาคตได้ไม่ยากแล้วครับ

อีกปัญหา ก็คือ มีผู้บริหารบางคนที่ “ไม่ยอมตัดสินใจ” ไม่ว่าจะใช้ข้ออ้างข้อมูลไม่พอ (เลยให้หาข้อมูลเพิ่มจนเสียการ) หรือกลัวการตัดสินใจ มองเอาแบบสุกเอาเผากินหรือขลาดกลัวว่า ปัญหาน่าจะคลี่คลายไปได้เอง ไม่กระทบกับตัวเองหรือองค์กรซะเท่าไหร่ จะยิ่งแย่หากตัดสินใจทำอะไรไป 

ปัญหาหนึ่งที่ไม่น่าเชื่อก็คือ มีผู้บริหารจำนวนหนึ่งไม่เคยวางแผน “เผื่อ” กรณีเหตุการณ์เลวร้ายไว้ เรียกว่า ไม่สนใจทำ worst-case scenario ของตัวเองและองค์กรไว้เลย ที่น่าสนใจก็คือ จากสถิติแล้วหากได้ใช้เวลาพิจารณาเหตุการณ์ร้ายๆ บ้าง ก็พบว่าผู้บริหารจำนวนมากก็รับมือได้ดีทีเดียว 

คราวนี้มาดูกันว่า คนเราให้ความสำคัญกับคำแนะนำต่างๆ ของบรรดาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางมากน้อยแค่ไหน 

มีสถิติว่าหากคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญทำให้เราเกิด “ความไม่สบายใจเชิงสังคม” เช่น ...อันนี้ยกตัวอย่างกันเองได้เยอะแยะ ทั้งทางการเมือง เศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคม ... หากเราทำตามคำแนะนำแล้ว จะกลายเป็นตัวตลกหรือแปลกแยกจากเพื่อนๆ คนใกล้ชิด ก็มีแนวโน้มว่าเราจะ “เตะ”ความแนะนำเหล่านั้นทิ้งไป

มีงานวิจัยที่ชี้ว่าฝรั่งจะสนใจฟังนักเศรษฐศาสตร์ เฉพาะกรณีที่เป็น “เชิงเทคนิค” มากๆ แต่พอเป็นในเชิงสัญลักษณ์ เช่น ความร่วมมือแบบอียู (EU) คนจะไม่สนใจฟังตัวเลขหรือเหตุผลจากผู้เชี่ยวชาญเลย  

เคยมีแย่กว่านั้นอีกคือ กรณีข่าวลือว่า วัคซีนที่ส่งไปฉีดป้องกันโรคในแอฟริกา ทำให้เด็กเป็นโรคปัญญาอ่อน ยิ่งนักวิชาการออกมาให้ข้อมูล แรงต้านก็ยิ่งเพิ่มขึ้น 

คนทั่วไปมีแนวโน้มจะต่อต้านความเห็นแบบเอกฉันท์ของผู้เชี่ยวชาญมากยิ่งขึ้น หากคนที่มีสถานะทางสังคมในระดับสูงๆ มีความคิดเห็นแตกเป็นเสี่ยงๆ (คุ้นๆ ไหมครับ) อย่าว่าแต่คนทั่วไปที่ไม่รู้เฉพาะทางมากนัก มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งแสดงว่านักเศรษฐศาสตร์มีแนวโน้มจะ “เชื่อตาม” นักเศรษฐศาสตร์ผู้นำฝ่ายตน

ต่างกับสาขาอื่นๆ ทางสังคมศาสตร์ ที่ถกเถียงกันตามหลักวิชาของตัวเองมากกว่า  ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อใดที่นักเศรษฐศาสตร์ระดับนำมีความคิดเห็นสอดคล้องกันเมื่อใด จะพบว่าความเห็นมักจะแตกต่างกับความเห็นของคนทั่วไปมากขึ้น บางกรณีต่างกันมากถึง 35 เปอร์เซ็นต์

ฉะนั้น อย่าได้แปลกใจเลยที่ไม่ว่าผู้เชี่ยวชาญในต่างประเทศ เคยเตือนเรื่อง Brexit เรื่องทรัมป์ หรือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (อันหลังนี้ยังมีคนเชื่อว่าเป็นเรื่องลวงโลกอยู่มากเลยในสหรัฐอเมริกา) มากเท่าใด ก็ดูว่าคนทั่วไปจะไม่ใส่ใจเท่าใดนัก 

สำหรับตัวอย่างในประเทศก็มีเยอะนะครับ ลอง “ระลึกชาติ” กันดูก็ได้ครับ ว่าเราตัดสินใจตามแบบที่กล่าวไว้ข้างต้นหรือไม่ !