ส.ป.ก. ควัก75 ล้านพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

ส.ป.ก. ควัก75 ล้านพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

ส.ป.ก. ทุ่มงบ 75 ล้าน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานกว่า 61 โครงการ เพิ่มศักยภาพเขตปฏิรูปที่ดิน

นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.)เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการโครงการและการเงินกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (อกก.คง.) ว่า ที่ประชุมได้อนุมติค่าใช้จ่ายสำหรับพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในเขตปฏิรูปที่ดินและพื้นที่ คทช. วงเงินรวม 75 ล้านบาท รวม 61 โครงการ แยกเป็น 2 พันธกิจหลัก คือการเข้าไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ ส.ป.ก.ได้จัดเกษตรกรเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่แล้ว และเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับพื้นที่เกษตรกรรม

ประกอบด้วย อนุมัติโครงการและใช้เงินกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างถนนสายหลักผิวจราจรหินคลุกในแปลงเกษตรกรรม ในแปลงบริษัท เขาพนมแพลนเตชั่น จำกัด ตำบลเขาพนม อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ จำนวน 1 สาย ระยะทาง 3.955 กิโลเมตร เป็นเงิน 4.4 ล้านบาท

161062143777     

และโครงการและใช้เงินกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อนำเสนอที่ประชุม คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คปก.) พิจารณาอนุมัติค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการก่อสร้างบ่อบาดาลและระบบสูบน้ำโซล่าร์เซลล์เพื่อการเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดิน (ครั้งที่ 2) จำนวน 61 โครงการ ในพื้นที่ 18 จังหวัด รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 71.2 ล้านบาท

ทั้งนี้ การอนุมัติการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าว เป็นการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน ให้สามารถอยู่ในพื้นที่ได้อย่างมีความสุข ซึ่ง ส.ป.ก. จะเร่งรัดดำเนินการโครงการข้างต้นให้แล้วเสร็จอย่างรวดเร็วที่สุด เพื่ออำนวยความสะดวกทั้งในด้านการคมนาคม ตลอดจนเพิ่มศักยภาพพื้นที่ มีแหล่งน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคและภาคการเกษตรอย่างทั่วถึงและเพียงพอ รวมทั้งเพื่อให้การดำเนินงานและกิจกรรมต่าง ๆ ของเกษตรดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป

สำหรับปี 2563 ส.ป.ก. ได้ยึดพื้นที่จากผู้ถือครองไม่ถูกต้อง รวม 494,609 ไร่ โดยนำไปจัดสรรให้เกษตรกรแล้ว 43,128 ราย ในปี 64 ส.ป.ก. มีเป้าหมายจะข้าไปส่งเสริม ในรูปแปลงใหญ่ โดยทำในรูปแบบชุมชน ภายใต้ชื่อสมาร์ทซิตี้ โดยจะเริ่มจาก กระบี่น้อย จำนวน 5,479 ไร่ แจกให้เกษตรกรในพื้นที่ประมาณ 200 ครัวเรือน เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจะต้องแบ่งพื้นที่สำหรับเป็นที่อยู่อาศัย งาน ที่เหลือ ส.ป.ก. จะจัดโครงสร้างพื้นฐาน เช่น แหล่งน้ำ ไฟฟ้า ถนน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ชุมชนโดยหวังว่าเมื่อเกษตรกรมีที่ทำกิน มีน้ำประปา มีแหล่งนำ สำหรับทำการเกษตร มีอาชีพ ในที่ชุด ชุมชนจะเติบโต และเข้มแข็ง เกิดเป็นชุมชนเมือง ที่มีส่วนราชการ โรงพยาบาล โรงเรียน กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว เพราะพื้นที่กระบี่น้อย เป็นพื้นที่แปลงใหญ่ ทำเลใกล้สนามบิน อนาคตหากสมาร์ทซิตี้ดำเนินการสำเร็จ ถือเป็นโครงการนำร่อง จะใช้โมเดลของกระบี่น้อยสมาร์ทซิตี้ไปทำให้แหล่งอื่นๆในที่ส.ป.ก.ทั่วประเทศ ภายในงบประมาณ จัดสรรสาธารณูปโภคพื้นฐาน 200 ล้านต่อแห่ง