K-Shaped Recovery กับ   A Tale of the Two Cities

การระบาดรอบที่ 2 ของโควิด-19 ที่ประเทศไทย อาจจะทำให้โอกาสของที่อีอีซีที่คาดหวังไว้ต้องขยับออกไปอีก ขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของโลกและประเทศไทย

การระบาดรอบที่ 2 ของโควิด-19 ที่ประเทศไทย อาจจะทำให้โอกาสของที่อีอีซีที่คาดหวังไว้ต้องขยับออกไปอีก ขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของโลกและประเทศไทย 

หลายคนคงเชื่อว่าเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว และคาดหวังว่าเศรษฐกิจน่าจะฟื้นตัวแบบตัวอักษร V หรืออย่างน้อยแบบตัวอักษร U 

แต่การกลับมาของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งในประเทศไทยและในอีกหลายๆ ประเทศทั่วโลก ทำให้การคาดการณ์อาจจะไม่เหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา เมื่อนักเศรษฐศาสตร์หลายสำนักโดยเฉพาะจากสหรัฐได้เริ่มคาดการณ์ไว้ว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกน่าจะกลับมาไปในทิศทางที่เรียกว่า “K-Shaped Recovery” หรือที่เรียกกันว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในรูปแบบตัว K

ก่อนที่จะประเมินการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจะมีแนวโน้มไปในทิศทางใด จะมีผลอย่างไรต่อโครงการอีอีซี เรามาทำความรู้จักทฤษฎีการฟื้นตัว“K-Shaped Recovery” ที่จะแบ่งธุรกิจออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ซึ่งจะประกอบไปด้วย กลุ่มแรกคือ กลุ่มที่จะกลับมาฟื้นตัวเร็ว และอีกกลุ่มคือ กลุ่มที่จะยังไม่ฟื้นตัวแต่กลับยังแย่ลงตกต่ำไปเรื่อยๆ

ลองนึกถึงตัวอักษรตัว K ที่จะมีเส้นหนึ่งที่ทะแยงขึ่น และอีกเส้นทะแยงลง ดังนั้นการฟื้นตัวของธุรกิจก็จะขึ้นอยู่กลับว่าธุรกิจนั้นอยู่ในกลุ่มไหน 

พื้นฐานการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในสหรัฐบนพื้นฐานข้อมูลของตลาดหุ้น พบว่า กลุ่มหุ้นที่มีการฟื้นตัวเร็วที่สุดคือกลุ่มเทคโนโลยี อย่างเช่น Apple Facebook และ Microsoft แต่อีกกลุ่มกลับฟื้นตัวสวนทางกันคือ กลุ่มที่เกี่ยวโยงกับการเดินทางอย่างเช่น กลุ่มหุ้นสายการบิน กลุ่มหมวดท่องเที่ยว

กลับมาดูการฟื้นตัวเศรษฐกิจของประเทศไทย อาจจะดูไม่แตกต่างกันเท่าไรหนักในหลายๆ มิติ กลุ่มที่ฟื้นตัวเร็ว จะเป็นกลุ่มองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีการบุคลกรและการบริหารจัดการสภาพคล่องทางการเงินอย่างเป็นมืออาชีพ 

แต่กลุ่มที่สวนทางกันคือกลุ่มที่เกี่ยวกับการเดินทาง ตัวอย่างเช่น กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจท่องเที่ยว ที่เปลี่ยนจาก Hero มาเป็น Zero ที่สำคัญไปกว่านั้น หลายกลุ่มธุรกิจของไทยที่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจท่องเที่ยวจะถูกจัดไปอยู่ในกลุ่มธุรกิจที่มีการฟื้นตัวไปทางทะแยงลง

ผลกระทบต่อมาอย่างเห็นได้ชัดคือ เกิดการว่างงานเป็นจำนวนมาก และปัญหาในระยะยาวคือ ความคล่องตัวของแรงงาน หรือ labor mobility ความสามารถในการเคลือนย้ายของแรงงานคือ การเปลี่ยนงานจากหนึ่งภาค ไปอีกหนี่งภาค (sector)         ความคล่องตัวของแรงงานในประเทศส่วนใหญ่ไม่สูงมากหนัก แผนการรองรับการพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ต้องคำนึงถึงต้นทุนและความสามารถของแรงงานเองด้วย ไม่ใช่เพียงความเป็นไปได้หรือความต้องการของตลาดเพียงอย่างเดียว

คำถามต่อเนื่องที่น่าสนใจมากกว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในรูปแบบตัว K นั้น จะนำไปสู่การเกิด A Tale of the Two Cities หรือสองนคราในอนาคตหรือไม่ โดยเฉพาะพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกทั้งระยะสั้นและระยะยาว               ประเด็นที่สำคัญคือ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในรูปแบบตัวอักษร K จะทำให้เกิดความเหลี่อมล้ำทางเศรษฐกิจจนอาจจะถึงขั้นการเกิดความวุ่นวายทางการเมืองในที่สุด เพราะในระยะสั้นจะทำให้เกิดการชะลอตัวของการของการไหลของเงินลงทุนจากต่างประเทศและในประเทศ แต่ผลกระทบในระยะยาวมีความน่ากังวลยิ่งกว่าความพร้อมรอบด้านของพื้นที่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ทำให้เกิดการลงทุน 

แต่ความกังวัลที่พูดถึงคือ ความมั่นคงทางการเมืองต่างหาก ที่จะสามารถสร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุนปัจจัยความไร้เสถียรภาพทางการเมืองเป็นสิ่งที่นักลงทุนไม่สามารถควบคุมได้

ดังนั้นการบริหารจัดการของภาครัฐในประเด็นหลักและประเด็นเร่งด่วนคือ การรับมือต่อการว่างงานของชนชั้นแรงงานหรือ Blue collar workers อาจจะเป็นจุดเปลี่ยนต่อโครงการฯอย่างถาวร เพราะการเพิ่มขึ้นของการว่างงานจะก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่จะขยายวงกว้างมากขึ้น แต่จะขยายวงกว้างมากขึ้นเท่าไรจนก่อให้เกิดความวุ่นวายทางการเมืองนั้นขึ้นอยู่กับแผนการรับมือของรัฐบาลชุดปัจจุบัน