‘บล.เอเซียพลัส’ชี้สหรัฐวุ่นเร่งฟันด์โฟลด์กลับไทย

‘บล.เอเซียพลัส’ชี้สหรัฐวุ่นเร่งฟันด์โฟลด์กลับไทย

บล.เอเซียพลัสมองสหรัฐวุ่น ตัวเร่งเงินต่างชาติไหลเข้าหุ้นไทยตั้งแต่ไตรมาส 1/64 ด้านบลูเวฟกระทบบรรยากาศเชิงลบระยะสั้น ปีนี้เป้าดัชนี 1,550 จุด แนะธีมลงทุนหุ้นได้ประโยชน์กระตุ้นโครงสร้างพื้นฐาน

นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซียพลัส จำกัด เปิดเผยว่า กรณีคาดหวังผลการเลือกตั้ง ส.ว.ของรัฐจอร์เจียอีก 2 ที่นั่ง หากพรรคเดโมแครตชนะ ถือเป็น BLUE WAVE ที่ทำให้ตลาดสหรัฐกังวลต่อนโยบายขึ้นภาษีของประธานาธิบดีคนใหม่ รวมทั้งมีผู้สนับสนุนนายโดนัลด์ ทรัมป์บุกเข้าไปในอาคารรัฐสภาสหรัฐ ทำให้สภาดองเกรสต้องระงับการประกาศรับรองชัยชนะนายไบเดนเป็นการชั่วคราว

ประเด็นดังกล่าวข้างต้นคาดส่งผลกระทบเชิงลบต่อบรรยากาศลงทุนหุ้นไทยระยะสั้น ตามทิศทางตลาดสหรัฐปรับตัวลง แต่ระยะกลาง-ยาวมองเชิงบวกเชื่อปัจจัยดังกล่าวทำให้งินทุน(ฟันด์โพลว์)ไหลกลับมาเอเชียรวมไทยตั้งแต่ไตรมาส 1 ปีนี้ี ทั้งนี้ตลาดหุ้นไทยมีแรงหนุนจากฟันด์โฟลว์ไหลเข้าหลายช่องทางทั้งตรงและอ้อม โดยทางตรง อาทิเงินลงทุนตรงจกต่างประเทศ (FDI)จากแร่งหนุนนโยบายของนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่ที่ผลักดันการขึ้นภาษีนิติบุคคลและค่าจ้างขั้นต่ำในสหรัฐ ส่วนลงทุนทางอ้อม (การลงทุนผ่านสินทรัพย์ทางการเงิน) ในภาวะดอกเบี้ยทรงตัวต่ำ ช่วยให้เกิดการเคลื่อนย้ายเม็ดเงินจากพันธบัตรมาสู่ตลาดหุ้นมากขึ้นในระยะถัดไป รวมถึงค่าเงินบาทที่ยังแข็งค่า หนุนให้เกิดกำไรอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้นสภาพคล่องลันระบบถือเป็นตัวช่วยเพิ่มน้ำหนักในตลาดหุ้นอีก

ประเมินเป้าหมายตัชนีปีนี้อยู่ที่ 1,550 จุด (Market Earning Yield Gap 3.7%) เป้าหมาย SET Index ถัดไปที่ 1,626 จุด (Market Earning Yield Gap 3.5%)แต่หากมีลดดอกเบี้ย 0.25% ช่วงตันปีนี้หนุนให้เป้าหมายดัชนี้ขึ้นไปถึง 1,640 จุด

สำหรับกลุ่มหุ้นที่ได้รับประโยชน์ blue waveทั้งจากมาตรการกระตุ้นสนับเน้นโครงสร้างพื้นฐาน, CleanEnergy-โรงไฟฟ้า, พลังงาน อาทิ PTT, PTTEP, GULF รวมถึงดอกเบี้ยคงอยู่ในระดับต่ำ กลุ่มปันผลสูง อาทิ AP, DCC,ADVANC ส่วนหุ้นรับผลกระทบกรณี blue wave ผลกระทบการขึ้นภาษี corporate Tax เป็น 28% จาก 21%ของสหรัฐ คือหุ้นที่มีฐานผลิตในสหรัฐ อาทิ TU, CPF, IVL

ขณะที่การระบาดโควิด-19รอบใหม่ในไทยหากล็อกดาวห์ยืดเยื้อนานเกินเดือนม.ค. นี้มีโอกาสให้เกิดการหดตัวของการชยายตัวเศรษฐกิจไทยและกำไร บจ.ในปีนี้ ส่วนปีนี้คาดจีดีพีขยายตัว 4.1% ซึ่งล็อกดาวน์ทั่วประเทศรอบที่ผ่านมาทุกๆ เดือน ส่งผลกระทบต่อจีดีพีลดลงราว 1.2% (YOY) ดังนั้นรัฐต้องมีมาตรการพยุงเศรษฐกิจช่วงโควิด-19