‘เราไม่ทิ้งกัน’ รอบ 2 ลุ้นข่าวดี หนุน ‘เงินเยียวยา’ โควิด-19 ได้ข้อสรุป

‘เราไม่ทิ้งกัน’ รอบ 2 ลุ้นข่าวดี หนุน ‘เงินเยียวยา’ โควิด-19 ได้ข้อสรุป

“เราไม่ทิ้งกัน” รอบ 2 และ “เงินเยียวยา” รัฐบาลเตรียมสรุปผลใน 1 สัปดาห์ ก่อนกระทบเศรษฐกิจรุนแรง นักวิชาการหนุนมาตรการเยียวยาเร่งช่วยก่อนโควิด-19 กระทบแรง

ผลกระทบจากการระบาดของ โควิด-19 ระลอก 2 นำไปสู่การออกประกาศพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด รวมทั้งพื้นที่เฝ้าระวังทั่วประเทศ หนีไม่พ้นเรื่องปากท้อง ซึ่งประชาชนก็ต่างจับตาดูการดำเนินการแก้ปัญหา และมาตรการช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะจาก พ.ร.ก.เงินกู้ฉุกเฉิน 1 ล้านล้าน จนนำไปสู่กระแสข่าวที่มีการพูดกันหนาหูว่า อาจจะมีการงัดมาตรการจ่ายเงินเยียวยาโควิด ในชื่อ เราไม่ทิ้งกัน รอบ 2 หรือ แจกเงิน 4,000 บาท 2 เดือน

เรื่องนี้ สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีกล่าวถึงภาพใหญ่ของมาตรการจากรัฐบาลหลังจากนายกรัฐมนตรีมอบหมายให้หามาตรการเยียวยาประชาชน โดยหลักการสำคัญคือ ต้องประเมินสถานการณ์ถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจภาพรวมเป็นอย่างไร เพื่อมาตรการที่ออกมานั้นจะได้เป็นการเกาให้ถูกที่คันซึ่งน่าจะใช้เวลาพิจารณาไม่เกิน 1 สัปดาห์ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. อธิบายเสริมถึงเรื่องดังกล่าวว่า สศช.ได้ติดตามตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะระดับการบริโภคของประชาชนที่สะท้อนผลที่เกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจในช่วงที่โควิด-19 ระบาด 

ขณะที่ วงเงินที่จะใช้เยียวยาผลกระทบจากโควิด-19 นั้นรัฐบาลมีเพียงพอ โดยเป็นเงินที่เหลือสำหรับการเยียวยาจากวงเงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ในส่วนการฟื้นฟูเศรษฐกิจเหลือ 2 แสนกว่าล้านบาท ซึ่งจะประเมินการใช้เงินเยียวยากับผู้ได้รับผลกระทบอีกครั้ง 

อย่างไรก็ตาม ประเด็นข่าวลือเกี่ยวกับ ที่มีข่าวว่ากระทรวงการคลังจะมีมาตรการแจก เงินเยียวยา 4,000 บาท นั้น กุลยา ตันติเตมิท ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือ สศคในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง ยืนยันว่า เรื่องการแจกเงิน เราไม่ทิ้งกัน รอบ 2 ที่ออกมานั้น ไม่เป็นความจริง!

ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สศช.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ติดตามเศรษฐกิจและการระบาดอย่างใกล้ชิด และกำลังพิจารณาทำมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ระลอกใหม่ที่เหมาะสมต่อไป

สำหรับ สถานการณ์ผลกระทบโดยภาพรวมจากการประเมินของ นณริฎ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโสสถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI ระบุว่า ผลกระทบจากการระบาดรอบใหม่จะรุนแรงมากกว่าเดิม เพราะเดือน เม..2563 ผู้ติดเชื้อน้อยกว่านี้ โดยเบื้องต้นประเมินว่าสถานการณ์จะลากยาวไม่น้อยกว่า 3 เดือน

160998096054

โดยการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 นั้น แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม 

1.มาตรการสำหรับทุกคนเพราะสถานการณ์รุนแรงขยายไปทั่วประเทศ รัฐสามารถช่วยเหลือผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ กลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการและเด็กยากจน หรือให้เงินเยียวยา 5,000 บาทต่อเดือน เป็นโครงการ เราไม่ทิ้งกัน รอบทำได้ตามหลักวิชาการ

2.มาตรการเฉพาะจุด เพราะผลกระทบแต่ละพื้นที่ และแต่ละธุรกิจไม่เท่ากัน

จนถึงขณะนี้ ภาครัฐมีแหล่งเงินทั้งในส่วนของเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นและรายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด -19 จำนวนกว่า 1.39 แสนล้านบาท

รวมทั้ง เงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 .. 2563 ในส่วนที่เหลือ จำนวน 4.7 แสนล้านบาท (ข้อมูล วันที่ 25 ธันวาคม 2563) และงบลงทุนรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ 2564 จำนวน 2.9 แสนล้านบาท ที่จะดูแลและขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยได้ต่อไป

160998713561