เงินเฟ้อปี63 ติดลบ0.85%

เงินเฟ้อปี63 ติดลบ0.85%

อาหารสดดันเงินเฟ้อเดือนธ.ค.ติดลบ0.27 % ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนพ.ย. เฉลี่ยเงินเฟ้อปี 63 ติดลบ 0.85% ส่วนแนวโน้มปี 64 เงินเฟ้อเคลื่อนไหว0.7-1.7% ค่ากลางอยู่ที่1.2%

นางสาวพิมพ์ชนก  วอนขอพร  ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปหรือเงินเฟ้อเดือนติดลบ0.27% ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนพ.. โดยมีสาเหตุมาจากราคาสินค้าในกลุ่มอาหารสดที่ปรับตัวสูงขึ้นจากความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศแม้ราคาน้ำมันจะลดลง  สินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ สินค้าในกลุ่มอาหารสด โดยเฉพาะผักและผลไม้ เนื้อสัตว์ จากความต้องการที่มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับสินค้าเกษตร นอกจากนี้ เครื่องประกอบอาหาร ปรับสูงขึ้นจากการส่งเสริมการตลาด สำหรับสินค้าที่ปรับลดลง ได้แก่ สินค้าในกลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับลดลง แต่มีทิศทางที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา รวมทั้ง ค่าโดยสารสาธารณะ และค่าผ่านทางพิเศษ ปรับลดลงตามมาตรการของภาครัฐ นอกจากนี้ ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนสินค้าในหมวดอื่น ๆ ยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางที่ปกติ สอดคล้องกับความต้องการ การส่งเสริมการขาย และปริมาณผลผลิต

การปรับตัวดีขึ้นของเงินเฟ้อในเดือนนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ดำเนินการได้ผลดีและได้รับความนิยมจากประชาชน รวมทั้งพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทยยังอยู่ในระดับที่ดี สอดคล้องกับเครื่อง
ชี้วัดทั้งด้านอุปสงค์และอุปทานในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะรายได้เกษตรกร ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ดัชนีอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่กลับมาขยายตัวอีกครั้ง ในรอบ 19 เดือน และอัตราการใช้กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 เข้าสู่ระดับก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขณะที่ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศรอบใหม่ยังเป็นปัจจัยทอนที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด  ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐาน หักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว สูงขึ้น 0.19% 

160982459147

นางสาวพิมพ์ชนก กล่าวว่า   งินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 2563 ปรับตัวลดลง 0.85%  ซึ่งเป็นไปตามที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ไว้ที่  -1.5 ถึง -0.7 และเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารสดและพลังงาน) สูงขึ้น 0.29% ทั้งนี้ โดยมีปัจจัยลบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กระจายไปทั่วโลก ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ และอุปสงค์ชะลอตัวลง โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ปรับลดลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก รวมถึงมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐส่งผลให้ราคาสินค้าและค่าสาธารณูปโภคลดลง นอกจากนี้ หมวดการบันเทิงการอ่านและการศึกษา โดยเฉพาะค่าทัศนาจรต่างประเทศและค่าห้องพักโรงแรมปรับลดลง จากการจำกัดการเดินทางและการท่องเที่ยว สำหรับปัจจัยบวกที่ส่งผลต่อเงินเฟ้อ ได้แก่ หมวดอาหารสด โดยเฉพาะผัก ซึ่งราคาสอดคล้องกับผลผลิตที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ ขณะที่เครื่องประกอบอาหาร เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และอาหารบริโภคในบ้าน-นอกบ้าน ปรับสูงขึ้นเล็กน้อย ส่วนหมวดอื่น ๆ เคลื่อนไหวในทิศทางปกติชี้ว่าสถานการณ์ด้านราคาสินค้าและบริการของประเทศตลอดทั้งปี 2563 ยังอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ เคลื่อนไหวในทิศทางปกติ สอดคล้องกับปัจจัยด้านอุปทานและด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางปีที่ผ่านมา รวมถึงยอดการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่ปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ปลายไตรมาสที่ 3 ของปี

ส่วนแนวโน้มเงินเฟ้อปี 2564  คาดว่าจะยังคงเคลื่อนไหวในระดับเสถียรภาพ โดยมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากปัจจัยด้านอุปสงค์ ได้แก่ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในรูปแบบต่าง ๆ ที่มีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลดีต่อกำลังซื้อของประชาชน อีกทั้งความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศมีทิศทางปรับตัวดีขึ้นตามสถานการณ์เศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการส่งออกสินค้าและบริการของประเทศ นอกจากนี้ อุปสงค์ด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกจะส่งผลต่อราคาพลังงานภายในประเทศ โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งมีสัดส่วนค่อนข้างมาก สำหรับปัจจัยด้านอุปทานที่จะส่งผลบวกต่ออัตราเงินเฟ้อ ได้แก่ ราคาอาหารสดที่น่าจะยังขยายตัวต่อเนื่อง ตามสภาพอากาศที่อาจกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตร รวมถึง อุปทานด้านน้ำมันดิบ ที่มีการประกาศลดกำลังการผลิตเพิ่มเติม 0.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตั้งแต่เดือนม.ค. 2564 ส่วนราคาสินค้าและบริการในหมวดอื่น ๆ น่าจะยังคงเคลื่อนไหวในระดับปกติอย่างไรก็ตาม ปัจจัยและแนวโน้มเหล่านี้ยังมีความเสี่ยงและมีโอกาสผันผวนได้ตามสถานการณ์ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะติดตามเฝ้าระวังและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อในปี 2564 จะเคลื่อนไหวระหว่าง 0.7 – 1.7 % ค่ากลางอยู่ที่ 1.2%  ซึ่งเป็นอัตราที่น่าจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง