จุดเดือด 'ม็อบ-รัฐธรรมนูญ' ส่องการเมืองแรงปี 64

จุดเดือด 'ม็อบ-รัฐธรรมนูญ' ส่องการเมืองแรงปี 64

เสียงจาก 3 นักวิชาการ 3 สถาบัน ถึงทิศทางการเมือง บนแรงเสียดทานลูกใหญ่ กดดันไปถึงรัฐบาลตลอดปี 2564

การเคลื่อนไหวชุมนุมจากกลุ่มคณะราษฎร ตั้งแต่กลางปี 2563 ถึงขณะนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่าก่อเกิดสึนามิลูกใหญ่ต่อ 3 ข้อเรียกร้องที่ถูกจุดพลุขยายชุดความคิดกระจายเป็นวงกว้างในหลายกลุ่มแนวร่วม โดยเฉพาะท่าที "อานนท์ นำภา" แกนนำคนสำคัญประกาศให้การเคลื่อนไหวในปี 2564 พร้อมยกระดับการเคลื่อนขบวนทั้งหมด

ภายใต้ข้อเรียกร้องทะลุเพดานตั้งแต่กลางปี 2563 เป็นสถานการณ์เดียวกันที่ฝ่ายรัฐบาล พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา บริหารประเทศเข้าสู่ปีที่ 2 ท่ามกลางแรงกดดันที่มาจากทั่วทิศทางถึงรัฐบาลที่จะเกิดขึ้นข้ามปี "กรุงเทพธุรกิจ" พาไปพูดคุยกับ 3 นักวิชาการจาก 3 สถาบัน ถึงทิศทางสถานการณ์ทางการเมือง บนแรงเสียดทานลูกใหญ่กดดันไปถึงรัฐบาลตลอดปี 2564

เริ่มที่ "รศ.ดร.ยุทธพร อิสรชัย" อาจารย์ประจำคณะสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ประเมินว่า การเมืองปี 2564 มี 2 ส่วนที่ต้องจับตามอง 1.การเมืองนอกสภา จะได้เห็นการชุมนุมเคลื่อนไหวต่อเนื่องจากกลุ่มคณะราษฎร 2563 ถึงแม้จะเป็นการชุมนุมที่ไม่ได้ปักหลักค้างคืน แต่จะขยายการร่วมตัวทางอุดมการณ์ผ่านสังคมออนไลน์คู่ขนานไปกับ "ออนไซต์" หรือการชุมนุม ทำให้อาจจะได้เห็นการยกระดับในประเด็นต่างๆ ในปี 2564 2.การเมืองในสภาเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ขณะนี้อยู่ในวาระที่ 2 ก่อนจะเข้าสู่การพิจารณาวาระที่ 3 ถือว่าไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะในวาระที่ 3 นอกจากต้องใช้เสียงเห็นชอบมากกว่ากึ่งหนึ่งใน 366 เสียงข้ึนไปแล้วต้องมีเสียงจากกลุ่ม .. และพรรคขนาดเล็ก ทำให้อาจได้เห็นการต่อรองในระหว่างกระบวนการแก้รัฐธรรมนูญ

"แต่หากแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่มีอุบัติเหตุอะไรจะนำไปสู่กระบวนการทำประชามติถึง 2 ครั้งก็ได้ หรือในกระบวนการเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(สสร.) ต้องดูว่าจะสนองกับประชาชนแค่ไหน รวมถึงเรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ การอภิปรายไม่ไว้วางใจ การพิจารณางบประมาณ 2565 ทำให้ประเด็นเหล่านี้จะเป็นทิศทางทางการเมืองในสภาในปี 2564"รศ.ดร.ยุทธพร กล่าว

160966394245

ขณะที่ตัวชี้วัดของรัฐบาลจะอยู่หรือไปนั้น "รศ.ดร.ยุทธ พร" ประเมินว่า การเมืองนอกสภาหากจะกลับไปสู่การเคลื่อนไหวใหญ่อีกครั้งนั้นคงไม่ง่ายเท่าไหร่ หรือกรณีการเคลื่อนไหวของพรรคร่วมรัฐบาลตั้งแต่พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา ยังอยู่เป็นระเบียบเรียยร้อยอยู่แล้ว หรืออย่างพรรคประชาธิปัตย์ ยังเล่นเกมทั้งดึงและผลักก็คงไม่มีอะไร แต่ปัจจัยการเมืองภายในพรรคพลังประชารัฐเองมากกว่า จะมีการเคลื่อนไหวเรื่องโควต้ารัฐมนตรีที่ต้องเปลี่ยนแปลง จากพรรคที่มาจากการรวมกลุ่มการเมืองต่างๆ ดังนั้นการเมืองภายในพรรคพลังประชารัฐจะเป็นปัจจัยชี้วัดรัฐบาลว่าจะไปต่อได้มากน้อยแค่ไหน

"ยังเชื่อว่าโอกาสที่รัฐบาลจะอยู่ครบอีก 2 ปียังเป็นไปได้สูงซึ่งจะครบ 2 ปีในช่วง ..2564 เมื่ออยู่ครบ 2 ปีจะมีการประเมินอีกครั้งถึงสถานการณ์โควิด และเศรษฐกิจจะไปได้หรือไม่ แต่หากทิศทางของรัฐบาลยังเป็นไปด้วยดีอาจได้เห็นการ "ยุบสภา" เพื่อเลือกตั้งใหม่แต่หากสถานการณ์ของรัฐบาลยังไม่ดีปัจจัยต่างๆ คงยืดเยื้อต่อไป"รศ.ดร.ยุทธพร ระบุ

ด้าน "ปริญญา เทวานฤมิตรกุล" รองอธิการบดีฝ่ายความยั่งยืนและบริหารศูนย์รังสิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประเมินสถานการณ์ว่า รัฐบาลจะอาศัยช่วงเดือน ..และเทศกาลปีใหม่ 2564 มาช่วยยืดระยะเวลาของปัญหาออกไป แต่สิ่งที่จำเป็นต้องแก้ไขเรื่องการเมืองที่เกิดจากการสืบทอดอำนาจ เพราะภายหลังการเลือกตั้ง 24 มี..2562 หากพล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่เป็นนายกรัฐมนตรีต่อ เชื่อว่าจะไม่มีการประท้วงแบบนี้ เพราะรัฐบาลต้องทำให้ชัดเจนว่ามีต้นเหตุจากการสืบทอดอำนาจ ส่วนในปี 2564 แนวโน้มทางการเมืองจะมีมากกว่าในปี 2563 แต่เรื่องการแก้รัฐธรรมนูญจะเป็นทางออกในการตั้งหลักเรื่องกติกาไม่ให้มีปัญหาเหมือนรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 ดังนั้นรัฐบาลต้องฟังเสียงประชาชนให้มากๆ โดยให้ประชาชนเป็นผู้เลือก สสร.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด

"รัฐบาลต้องแก้ปัญหาสืบทอดอำนาจ และนายกฯ ต้องยึดหลัก The King can do no wrong อย่าให้เป็นเรื่องของสถาบันจากปัญหาการเมืองที่เป็นของรัฐบาล แต่ขณะนี้รัฐบาลทิ้งโอกาสในการตัดอำนาจ ..แล้ว เพราะประชาชนติดใจเรื่อง 1 คน 1 เสียง แต่เมื่อ..ยังอยู่ปัญหาจึงมีอยู่ในตอนนี้ เรื่องนี้ต้องเอาใหม่ เพราะรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อาจจะเสร็จภายใน 2 ปี จึงไม่อยากเห็นการเมืองในปี2564 แรงขึ้น รวมถึงรัฐบาลอย่าบอกว่าทุกอย่างเป็นเรื่องของสภา เพราะรัฐบาลก็มีเสียงข้างมาก และมีส..ในสภา จะมาปฏิเสธไม่ได้ในการแก้ปัญหา"

160966404975

"ปริญญา" ยังมองถึงข้อเรียกร้องผู้ชุมนุมนั้น จะเห็นเจตนารมณ์อะไรบ้างอย่าง แต่มีสาเหตุจากนายกฯ เพราะมีการทำให้เข้าใจว่าพระมหากษัตริย์ เป็นหัวหน้านายกฯ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เพราะนายกฯ ทำให้เรื่องนี้คลาดเคลื่อน ดังนั้นขอให้นายกฯ ยึดหลัก The King can do no wrong

ปิดท้ายที่ "ผศ.วันวิชิต บุญโปร่ง" อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ .รังสิต เชื่อว่าในปี 2564 การชุมนุมที่มีผู้ชุมนุมเป็นจำนวนมากเหมือนในปี 2563 จะมีลักษณะแตกก้านสาขามากขึ้นจากการประกาศจุดยืนในอุดมการณ์ทางการเมืองและประเด็นเรียกร้องของแต่ละกลุ่ม อาทิ กลุ่มเยาวชนปลดแอก กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม กลุ่มนักเรียนเลว โดยสังเกตได้ว่าการรวมกลุ่มที่ผ่านมาจะมีข้อแตกต่างหรือความขัดแย้งในเรื่องจุดยืน ดังนั้นการต่อสู้จะมีลักษณะแม่น้ำแยกสาย แต่มีเป้าหมายร่วมกันเพื่อกดดันรัฐบาลพล..ประยุทธ์ ส่วนพลังการต่อสู้ของแต่ละกลุ่มในปี 2564 จะไม่หนักแน่นเท่าในปี 2563 แต่จะมีนักการเมืองที่เป็นแนวร่วมหรือมีอุดมการณ์ทางการเมืองเช่นเดียวกัน จะใช้พื้นที่รัฐสภาให้เป็นประโยชน์ เพื่อเป็นการต่อสู้คู่ขนานร่วมกัน

"อย่างน้อยการเคลื่อนไหวจะมาแน่ในเดือน ..2564 ซึ่งเป็นช่วงการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมจะมีการต่อสู้ทั้งในสภาและนอกสภา ทำให้น้ำหนักการต่อสู้ทางการเมืองจะไปในฝ่ายการเมืองมากขึ้น"ผศ.วันวิชิต ระบุ

ผศ.วันวิชิต ยังประเมินว่า กรณีการเลือกตั้ง อบจ.ที่จบไปนั้น อาจมีการมองว่ากลุ่มคณะก้าวหน้า หรือพรรคก้าวไกลไม่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้ง แต่อีกด้านจะเห็นพรรคเพื่อไทยยังพอใจผลการเลือกตั้ง อบจ.มาก จากที่สถานการณ์ 2-3 เดือนที่ผ่านมาต้องยอมรับว่านายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ แกนนำคณะก้าวหน้า กลายเป็น "หมู่บ้านกระสุนตก" ทำให้พรรคเพื่อไทยไม่อยู่ในเป้าสายตาที่มองว่าจะเป็นคู่แข่งทางการเมืองของรัฐบาลและพรรคพลังประชารัฐ ประกอบกับกระแสข่าวที่ออกมาจากแกนนำพรรคเพื่อไทยไม่มีเอกภาพหรือลงรอยกันจนมีการแตกกลุ่มออกไป ทำให้หลายคนมองว่าพรรคเพื่อไทยไม่แข็งแกร่งอีกต่อไปแล้ว

"แต่ในปี 2564 พรรคเพื่อไทยจะกลับมาเป็นผู้นำฝ่ายค้านเต็มตัว เพื่อนำพรรคก้าวไกลมากขึ้น หลังจากปี 2563 บทบาทการขับเคลื่อนของพรรคไทยอยู่ใต้ร่มเงาพรรคก้าวไกลมาตลอด แต่หลังจากนี้พรรคเพื่อไทยจะมีสีสันมากขึ้นจากชัยชนะในการเลือกตั้งอบจ."ผศ.วันวิชิต กล่าว

160966410264

ผศ.วันวิชิต มองไปถึงท่าทีรัฐบาลในปี 2564 จะมีแรงกดดันที่ถูกตั้งคำถามไปถึงความจริงใจของรัฐบาลต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะดูแนวโน้มว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะถูกลากยาว ส่วนกลุ่ม ..-..ที่จะมีพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระ 2 และ 3 นั้นก็เป็นกลุ่มที่เคยโหวตคว่ำในวาระแรกมาแล้ว ทำให้ประเด็นนี้จะเป็นชนวนความขัดแย้งให้พรรคร่วมฝ่ายค้านและกลุ่มผู้ชุมนุมนำมาเป็นประเด็นต่อต้านรัฐบาลต่อไป เนื่องจากหากพิจารณาถึงไทม์ไลน์การแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 ไปจนถึงกระบวนการทำประชามตินั้น จะเกือบครบเทอมของรัฐบาลชุดนี้.