ปรากฏการณ์ ‘ทะลุเพดาน’ ไปไม่สุด หยุดไม่ได้

ปรากฏการณ์ ‘ทะลุเพดาน’ ไปไม่สุด หยุดไม่ได้

ท่าทีคู่ขนาน ‘คณะราษฎร-คณะก้าวหน้า’ ยังต้องเจอขวากหนามอีกหลายด่าน ที่เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนไหวนับจากนี้

ช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ชื่อของ 'คณะราษฎร' กลายเป็นที่พูดถึงของประชาชนทั่วไปในฐานะการเป็นกลุ่มการเมืองที่มีข้อเรียกร้องที่ไม่เคยมีม็อบไหนเรียกร้องมาก่อน โดยเฉพาะการปฏิรูปสถาบัน

พัฒนาการของกลุ่มคณะราษฎรมีมาให้เห็นเป็นระยะ นับตั้งแต่จุดเริ่มต้นของทะลุเพดานที่เวทีการชุมนุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิตเมื่อเดือนส..2563 ไปจนถึงการชุมนุมใหญ่ที่สนามหลวงเดือนก..ต่อด้วยการล้อมทำเนียบรัฐบาลเดือนต..

หมุดหมายสำคัญที่ทำให้ 'คณะราษฎร' สามารถสร้างอิทธิพลได้ คือ การประกาศนัดชุมนุมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ทุกช่องทาง ภายหลังหน่วยงานความมั่นคงได้จับกุมแกนนำคนสำคัญ 3 คน 'เพนกวิน -รุ้ง-ทนายอานนท์' นำมาสู่การชุมนุมแบบไร้แกนนำที่แท้จริง คนในกทม.และปริมณฑลต่างติดตามสื่อสังคมออนไลน์ของกลุ่มคณะราษฎรเพื่อติดตามว่าจะไปชุมนุมที่ไหนอย่างไร ตามมาด้วยการเกิดคำศัพท์เฉพาะทางมากมายทั้งคำว่า "แกง" "ซีไอเอ" "มินเนี่ยน"

160959149285

การชุมนุมแบบไร้แกนนำในช่วงแรก ในแง่ปริมาณคนถือว่ามีจำนวนมากและมีนัยทางการเมืองพอสมควร แต่ในแง่ของความสำเร็จและการทำให้การเคลื่อนไหวบรรลุวัตถุประสงค์ตามข้อเรียกร้องนั้นยังถือว่าห่างไกลกับคำว่าชัยชนะพอสมควร

ส่วนหนึ่งเป็นเพราะระยะหลังการแสดงออกที่เคยพยายามบอกว่าเป็นการปฏิรูปนั้นกลายเป็นการจาบจ้วงอย่างชัดเจน ประกอบกับความขัดแย้งของแนวร่วมด้วยกันที่เห็นว่าควรลดเพดานลงมาเพื่อให้ข้อเรียกร้องบางข้อได้รับการตอบสนอง ทำให้แนวร่วมที่เคยสนับสนุนก็ถอยห่างลง จึงเข้าทางฝ่ายรัฐที่เปิดเกมรุกอย่างเต็มที่ภายหลังพลาดเสียท่าไปกับการใช้น้ำฉีดไล่ผู้ชุมนุม

ฝ่ายความมั่นคงเดินหน้าใช้กฎหมายเข้มข้นตามนโยบายของพล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา กฎหมายอาญามาตรา 112 ที่หายไปนานก็ถูกนำกลับมาบังคับใช้อีกครั้ง จนแกนนำหลายคนมีคดีคนละไม่น้อยกว่า 10 คดี

อย่างไรก็ตาม คดีเหล่านี้ไม่ได้มีผลต่อการเคลื่อนไหวในปี 2564 โดยยุทธศาสตร์สำคัญของคณะราษฎรที่จะใช้เป็นธงนำในการเคลื่อนไหว คือ การเปิดแผลฝ่ายตรงข้ามทีละแผล ผ่านการจัดการชุมนุมในจุดสำคัญที่เป็นสัญลักษณ์ทางการเมืองและการปฏิรูป โดยยังคงรูปแบบการชุมนุมแบบไปและกลับเพื่อป้องกันไม่ให้ตำรวจเข้ามาใช้กำลังสลายการชุมนุม รวมไปถึงการสร้างแนวร่วมด้วยการจัดเวทีอภิปรายสาธารณะในเรื่องสำคัญ เพื่อสร้างความสนใจให้กับประชาชน

ขณะเดียวกัน การขับเคลื่อนนอกสภาไม่ได้มีเพียงแค่ 'คณะราษฎร' เท่านั้น แต่ยังมี 'ก้าวหน้า' เป็นแนวร่วมอย่างไม่เป็นทางการด้วยโดยเมื่อไม่นานมานี้ 'ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ' ประกาศแนวทางการทำงานออกมาแล้วว่าจะเน้นขับเคลื่อนในเรื่องสำคัญ 3 เรื่อง ได้แก่การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม การปฏิรูปกองทัพ และการปฏิรูปสถาบัน

แต่กระนั้นการเดินหน้าของ 'ก้าวหน้า' กำลังเจอกับความท้าทายใหม่ กล่าวคือ 'ธนาธร' และคณะก้าวหน้าจะเดินเกมเหมือนที่ผ่านมาไม่ได้แล้ว เพราะได้ปรากฎความล้มเหลวให้เห็นแล้วจากผลคะแนนการเลือกตั้งท้องถิ่นที่คณะก้าวหน้าไม่ได้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม้แต่คนเดียวจากที่ส่งผู้สมัครทั้งหมด 42 จังหวัด ซึ่งธนาธรเองก็ยอมรับว่าการสื่อสารถึงเรื่องการปฏิรูปสถาบันในช่วงที่ผ่านมาเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ก้าวหน้าแพ้ทุกประตู

160959139540

ด้วยเหตุนี้ 'ก้าวหน้า' อาจเปลี่ยนการเคลื่อนไหวจากที่พยายามจะทำให้จบในรุ่นเรามาเป็นลักษณะของการปักธงทางความคิดที่แม้จะดูเหมือนเป็นนามธรรม แต่ 'ก้าวหน้า' มั่นใจว่าจะสามารถเกิดเป็นรูปธรรมในอนาคตอันใกล้ได้ เพราะตัวอย่างมีให้เห็นมาแล้วจากการที่ปัจจุบันเรื่องการปฏิรูปสถาบันกลายเป็นประเด็นที่มีการพูดถึงในสาธารณะและสื่อกระแสหลักมากขึ้น เพียงแต่ต้องใช้เวลาและความอึดเท่านั้น

การเคลื่อนไหวในลักษณะคู่ขนานของคณะราษฎร-คณะก้าวหน้ายังอีกยาวไกล เพราะยังต้องเจอขวากหนามอีกจำนวนมากที่จะเป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนไหวทั้งการแพร่ระบาดของโควิด19 และการต่อสู้ของคนเสื้อเหลือง

วิบากม็อบปลดแอก

หากนับการเคลื่อนไหวกลุ่มแนวร่วมขับไล่รัฐบาลจากกลุ่มนักศึกษาหลายมหาวิทยาลัย จนมาถึงกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า "คณะราษฎร2563" มาจากจุดเริ่มต้นในขบวนการเคลื่อนไหวเรียกร้องทางการเมือง กดดันพล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รวมถึงการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูฐ โดยเฉพาะเงื่อนไขสำคัญพุ่งเป้าตัด "อำนาจ" ..ในการเลือกผู้นำประเทศ

หากยังจำกันได้ภาพการชุมนุมใหญ่มนครั้งนั้น ได้จุดพลุที่ถูกพุ่งเป้าไปการบริหารประเทศในยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ข้ามรอยต่อมาถึงรัฐบาล "ประยุทธ์ 1" เมื่อการชุมนุมในช่วงแรกกลางปี 2563 กลุ่มเยาวชนปลดแอก-FreeYouth กลุ่มสหภาพนักเรียนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนท.) ประกาศจัดชุมนุมคอนเซปต์ "ไม่ทนอีกต่อไป" เมื่อวันที่ 18 .. ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

160959153994

โดยมีแกนนำ อาทิ นายทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี เลขาธิการเยาวชนปลดแอก ..จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ ประธาน สนท.(ขณะนั้น) นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ จากกลุ่ม สนท. นายภาณุพงศ์ จาดนอก ประธานเยาวชนตะวันออกฯ และนายณัฐชนน พยัฆพันธ์ จากกลุ่มเยาวชนตะวันออกฯ เป็นผู้จัดชุมนุมและปราศรัยเพื่อประกาศข้อเรียกร้อง 3 ข้อ 1.ต้องประกาศยุบสภา 2.หยุดคุกคามประชาชน และ 3.ร่างรัฐธรรมนูญใหม่

การชุมนุมในช่วงนั้นกองบัญชาการตำรวจนครบาล(บช..) ได้เก็บหลักฐานกระทำความผิดกับแกนนำผู้ชุมนุมอย่างน้อย 15 คนเพื่อแจ้งข้อกล่าวหาตามความผิดมาตรา 116 ร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนเพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ความผิดตาม ...ควบคุมโรคติดต่อ และความผิดเกี่ยวกับการกีดขวางทางสาธารณะและใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต

แต่ "ข้อกล่าวหา" ไม่ได้ทำให้ขบวนการชุมนุมลดน้อยลง กลับเป็นชนวนผลักดันชุมนุมให้แตกกลุ่มย่อยเป็น "แม่น้ำหลายสาย" เพื่อเคลื่อนไหวกดดันรัฐบาลทั้งจากกลุ่มนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่นัดชุมนุมในช่วงเย็น จนมาถึงการเปิดประเด็นข้อเรียกร้องถึงสถาบันฯ ในการชุมนุม "แฮร์รี พอตเตอร์" ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยวันที่ 3 .. ต่อการปราศรัยของ "อานนท์ นำภา" ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน

ถัดมาเพียง 7 วันกลุ่ม "ธรรมศาสตร์จะไม่ทน" เป็นเจ้าภาพจัดงาน ซึ่งเป็นการชุมนุมในครั้งที่ชื่อว่าทะลุเพดานข้อเรียกร้องจากกลุ่มประชาชนปลดแอก เมื่อ "ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล" จากเเนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ประกาศข้อเสนอ 10 เพื่อปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ในค่ำคืนวันที่ 10 ..กลางลานพญานาค .ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

การเคลื่อนไหว "ธรรมศาสตร์จะไม่ทน" ในครั้งนั้นกลาย เป็นแรงเสียดทานลูกใหญ่กดดันไปถึงสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) มอบหมายให้อธิการบดีแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนและรวบรวมข้อเท็จจริงการชุมนุมเมื่อวันที่ 10 ..

โดยเฉพาะข้อสรุปช่วงหนึ่งที่ออกมาจากคณะกรรมการเมื่อวันที่ 31 ..นั้น ได้ระบุถึงการขออนุญาตชุมนุม พบว่ามหาวิทยาลัยเป็นผู้อนุญาตให้กลุ่มนักศึกษาจัดกิจกรรมการชุมนุมตามเงื่อนไขที่หารือและตกลงร่วมกัน 3 ฝ่าย คือฝ่ายมหาวิทยาลัย ฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ และฝ่ายนักศึกษาผู้ขอจัดการชุมนุม ซึ่งจะอยู่บน 3 ข้อเรียกร้อง คือ ยุบสภาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และหยุดคุกคามประชาชน ส่วนประเด็นข้อเรียกร้องที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ พบว่ามหาวิทยาลัยและเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ไม่ทราบล่วงหน้าแต่อย่างใด

แต่แล้วการเคลื่อนไหวจากกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์ ถูกรับไม้ต่อมาถึง "เยาวชนปลดแอก" ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็น "ประชาชนปลดแอก" เพื่อนัดชุมนุมอีกครั้งในวันที่ 16 .. ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยยืนยัน 3 ข้อเรียกร้อง และเพิ่มข้อเรียกร้อง " 1 ความฝัน" ไปที่การมีระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ

ไม่ใช่แค่ภาพการเคลื่อนไหวจากขบวนการนักศึกษาอย่างเดียว แต่กลุ่ม "นักเรียน" ระดับมัธยมหลายสถาบันได้รวมตัวกันในชื่อ"นักเรียนเลว" ออกมาประท้วงครั้งแรกที่หน้ากระทรวงศึกษาธิการวันที่ 5 .. เพื่อประกาศ " 3 เรียกร้อง 1 เงื่อนไข"เช่นกัน ไปประกอบด้วย 1.หยุดคุกคามนักเรียน 2.ยกเลิกกฎระเบียบที่ล้าหลัง 3.ปฏิรูปการศึกษา และ 1 เงื่อนไข หากทำไม่ได้ "ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ" รมว.ศึกษาธิการต้องลาออกไป

ทำให้ขณะนั้นการชุมนุมซึ่งอยู่วนช่วง "ขาขึ้น" จากแนวร่วมสนับสนุนจำนวนมาก เริ่มใช้ยุทธิวิธีดาวกระจายชุมนุมและชุดความคิดไปในจุดสำคัญของกรุงเทพฯ อาทิ หน้ารัฐสภา สนามหลวง แยกราชประสงค์ แยกปทุมวัน ห้าแยกลาดพร้าว สี่แยกอโศก สี่แยกเกษตรหน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพ สถานีรถไฟฟ้าอุดมสุข วงเวียนใหญ่ ถนนอักษะ สำนักงานใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ แยกบางนา ศูนย์ราชการนนทบุรี กรมทหารราบที่ 11 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์

ดาวกระจายแต่ละครั้งเป็นการนัดชุมนุมมาจากการเคลื่อนไหว 3 กลุ่มหลักๆ ประกอบด้วย 1.กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม2.กลุ่มประชาชนปลดแอก และ 3.กลุ่มนักเรียนเลว โดยมีการ์ดดูแลผู้ชุมนุมแยกเป็น 2 กลุ่ม 1.กลุ่มการ์ดอาชีวะ 2.กลุ่มมวลชนอาสาWe Volunteer(Wevo)

160959157833

จนมาถึง "จุดเปลี่ยน" สำคัญที่แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ประกาศใช้ชื่อเป็น "คณะราษฎร 2563" ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่จัดการภายในระหว่าง "การ์ด"ทเริ่มมีผลกระทบต่อการดูแลผู้ชุมนุม รวมไปถึงจุดยืนข้อเรียกร้องที่ "แตกต่าง" กับ "เยาวชนปลดแอก"

จนเป็นที่มาทำให้ "การ์ด Wevo-เยาวชนปลดแอก" แยกตัวมาเคลื่อนไหวไม่เชื่อมโยงกับคณะราษฎร ตั้งแต่ต้นเดือน ..2563 รวมถึงการเห็นภาพ "พริษฐ์ ชิวารักษ์" ประกาศยุติบทบาทหน่วยงานการ์ดอาสาทั้งหมดไปด้วย.