9 เมกะเทรนด์ ‘ดิจิทัล’ เปลี่ยนโลก ปี 64 พลิกทุกมิติ 'ชีวิต-ธุรกิจ'

9 เมกะเทรนด์ ‘ดิจิทัล’ เปลี่ยนโลก ปี 64 พลิกทุกมิติ 'ชีวิต-ธุรกิจ'

การล็อกดาวน์และเศรษฐกิจถดถอยที่เกิดขึ้นทั่วโลกทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า“Double Disruption”

ครั้งนี้ การ์ทเนอร์ สรุปทิศทางโดยมองถึงสังคมโลกที่เปลี่ยนไป ผนวกกับปัจจัยการเกิดโรคระบาด ไม่ได้แยกเป็นการลงทุนเทคโนโลยีเป็นรายตัวเช่นแต่ก่อน กล่าวได้ว่าดิจิทัลดิสรัปชั่นเกิดขึ้นในทุกอุตสาหกรรม ส่วนจะเร็วหรือช้าขึ้นกับการใช้งานของผู้บริโภคในธุรกิจนั้นๆ ส่วนอุปสรรคที่จะเป็นตัวฉุดรั้งการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่ มักติดกฏระเบียบ กฏเกณฑ์เดิมๆ งานเอกสาร รวมถึงวัฒนธรรมการทำงานแบบดั้งเดิมในองค์กร

'เอไอ-บิ๊กดาต้า’ ชูโรงปีนี้

ธนชาติ อธิบายว่า “People centricity” ประกอบด้วย 3 เทรนด์ คือ "Internet of Behaviors” ที่ข้อมูลของผู้คนจะถูกเก็บไปจำนวนมากและถูกนำไปวิเคราะห์พฤติกรรม “Total Experience Strategy” การรวบรวมประสบการณ์ที่หลากหลายทั้งจากลูกค้า พนักงาน และผู้ใช้ เพื่อผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดีขึ้น

ตัวอย่างเช่น ช่วงโควิด-19 มีบริษัทด้านโทรคมนาคมแห่งหนึ่ง ได้ติดตั้งระบบนัดหมายผ่านโมบายแอพ และเมื่อลูกค้ามาตามเวลานัดหมาย เมื่อใกล้ถึงสถานที่ก็จะสามารถเช็คอินได้อัตโนมัติ และส่งข้อความไปแจ้งพนักงานที่ผ่านแท็บเล็ต เพื่อให้บริการและโต้ตอบกับลูกค้าแบบทันทีทันใด ซึ่งจะช่วยเรื่อง Social distancing ทำให้ประสบการณ์ลูกค้าและพนักงานโดยรวมดีขึ้น

ขณะที่ เทรนด์ “Privacy-enhancing computation” คือ การใช้เทคโนโลยีเพื่อนำข้อมูลส่วนบุคคลไปประมวลผลอย่างปลอดภัย ส่วนกลุ่ม “Location independence” จะประกอบด้วยเทรนด์ “Distributed cloud” ที่ผู้ให้บริการพับบลิกคลาวด์กระจายการติดตั้งระบบไว้หลายแห่งใกล้ลูกค้า เทรนด์ “Anywhere operations” รูปแบบของธุรกิจที่จะให้บริการลูกค้าจากที่ใดก็ได้และพนักงานทํางานจากที่ใดก็ได้ และ “Cybersecurity mesh” สถาปัตยกรรมแบบกระจาย (Distributed architecture) ที่สามารถควบคุมความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้อย่างมั่นใจ ยืดหยุ่น และขยายตัวได้

สำหรับกลุ่มสุดท้าย “Resilient delivery” ประกอบด้วยเทรนด์ “Intelligent composable business” หรือความจำเป็นที่ต้องมีสถาปัตยกรรมเทคโนโลยีที่เข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้ดีขึ้น สามารถนำไปใช้เชิงลึกได้ 

เทรนด์ “AI engineering” การทําเอไอเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาสินค้าบริการ และการทำงานต่างๆ สุดท้าย คือ “Hyper automation” ต้องทำให้กระบวนการทำงานต่างๆ ทั้งด้านธุรกิจและไอทีเป็นระบบอัตโนมัติให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

“เพื่อให้ตอบ 9 เทรนด์นี้ ธุรกิจต้องดำเนินการ 4 ด้าน ได้แก่ 1.ปรับกลยุทธ์การวางแผนสถาปัตยกรรมไอที 2.กลยุทธ์ด้านบิ๊กดาต้า 3.กลยุทธ์ด้านเอไอ และ 4.กลยุทธ์ด้านลูกค้าเป็นศูนย์กลาง องค์กรต้องเตรียมความพร้อมไว้ เพราะจากนี้ลูกค้าไม่มีทางกลับไปเป็นเหมือนเดิม ธุรกิจต้องพร้อมเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา”

เร่งด่วน ‘รีสกิล-อัพสกิล’

ธนชาติ กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่ต้องทำคู่ขนานกันไป คือ การพัฒนาบุคลากร เนื่องจากความท้าทายหลักของการปรับตัวไม่ได้อยู่ที่เทคโนโลยี แต่อยู่ที่ “คน” 

เวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรั่ม เผยแพร่รายงานเรื่อง The Future of Jobs 2020 ซึ่งผลสำรวจมีข้อมูลที่น่าสนใจอยู่หลายด้าน โดยเฉพาะด้านทักษะการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปจากการเกิดวิกฤติโควิด โดยระบุว่า การล็อกดาวน์และเศรษฐกิจถดถอยที่เกิดขึ้นทั่วโลกทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการทำงานอย่างมากและทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “Double Disruption”

ตำแหน่งงานส่วนใหญ่ จะต้องมีทักษะทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น Data Analysis and Scientist, AI and Machine Learning Specialists, Big Data Specialists นอกจากนั้นยังมีงานใหม่ๆ อีกหลายด้าน เช่น Customer Success Specialist, Digital Marketing and Strategy Specialist หรือ Digital Transformation Specialists เช่น Customer Success Specialist, Digital Marketing and Strategy Specialist หรือ Digital Transformation Specialists

จากการสำรวจพบด้วยว่า ครึ่งหนึ่งของพนักงานที่มีอยู่จำเป็นต้องปรับทักษะใหม่ (Re-skill) และคนที่ยังอยู่ในตำแหน่งเดิม 40% ต้องเพิ่มทักษะ (Up-skill) การทำงานของตัวเอง เพื่อให้ทันการเปลี่ยนแปลงของการทำงานในรูปแบบใหม่ ซึ่งต้องมีทักษะทั้งการใช้เทคโนโลยี การวิเคราะห์ข้อมูล องค์ความรู้ด้านเอไอ ความคิดเชิงสร้างสรรค์ ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ ทักษะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน รวมถึงทักษะความเป็นผู้นำ

"ความท้าทายที่สำคัญที่สุดของการปรับตัวเพื่อรับมือเทรนด์ปี 64 ยังคงอยู่ที่ผู้บริหารระดับสูงขององค์กร วิสัยทัศน์ที่ควรมีคือการมองว่าเทคโนโลยีจะเป็นตัวหลักของธุรกิจ โดยต้องเอามาเป็นตัวขับเคลื่อน ใช้เป็นกลยุทธ์นำหน้าและมาก่อนเป็นอันดับแรก” ธนชาติ ทิ้งท้าย