‘ซีอีโอชาเลนจ์’นำทัพฝ่าวิกฤติโควิด

‘ซีอีโอชาเลนจ์’นำทัพฝ่าวิกฤติโควิด

ปีแห่งความยากลำบากนี้ท้าทายบรรดา “ซีอีโอ” อย่างมากในการนำทัพขับเคลื่อนธุรกิจรับมือแรงกระแทกใหญ่ ! หากแต่ท่ามกลางอุปสรรคนานัปการ หรือสัญญาณชีพที่แผ่วเบา ยังมี “ทางออก”และ“โอกาส” เกิดขึ้นในหลากหลายมิติ

วิกฤติโควิดมาเยือนชาวโลกตั้งแต่ต้นปีสร้างความตระหนกกับธุรกิจไม่น้อย โดยเฉพาะผู้ประกอบการห้างร้านค้าปลีก ศูนย์การค้า เผชิญภาวะล็อกดาวน์  ต้องปิดให้บริการร้างลูกค้ายาวเกือบ 2 เดือน! บางกิจการนานกว่านั้นชาเลนจ์ บรรดาซีอีโออย่างมากในการนำทัพขับเคลื่อนธุรกิจรับมือแรงกระแทกใหญ่ เป็นห้วงเวลาแห่งความยากลำบากหนักหนาสาหัสที่สุดในรอบศตวรรษ! หากแต่ท่ามกลางอุปสรรคนานัปการ หรือสัญญาณชีพที่แผ่วเบา ยังมี “ทางออกและโอกาส เกิดขึ้นในหลากหลายมิติ

ชฎาทิพ จูตระกูล’Speed is King

ซีอีโอคิดบวก ชฎาทิพ จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท สยามพิวรรธน์เจ้าของและผู้บริหารโครงการที่มีชื่อเสียงระดับโลก อาทิ สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ ในนามวันสยามวันสยาม (ONESIAM)หนึ่งในพันธมิตรเจ้าของ “ไอคอนสยาม”อภิมหาโครงการเมืองริมแม่น้ำเจ้าพระยาและสยามพรีเมี่ยมเอาท์ เล็ตบอกสั้นๆได้ใจความว่านับเป็นความโชคดีของสยามพิวรรธน์ที่เจอวิกฤติมาแยอะ! คือ อาวุธลับที่มีอานุภาพสูงสุด...ทำให้เราพร้อมรบ!ทุกสถานการณ์

ชฎาทิพ มองว่าบนความเลวร้ายของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 มาเพื่อรีเซ็ต (Reset) และแบ็คทูเบสิค (Back to Basic)โควิดเหมือนสงครามที่เราสู้รบกับสิ่งที่มองไม่เห็นและไม่รู้ว่าจะเกิดกับใคร ห้วงวิกฤติจะไม่มีเวลาคิดมาก! ดังนั้น Speed is King หากเรามี Scenario ที่เซ็ตไว้ล่วงหน้าจะทำให้ Take Action ได้เร็วมาก

การบริหารจัดการวิกฤติ (Crisis Management) ในช่วงโควิดของสยามพิวรรธน์เริ่มจากประเมินสถานการณ์รายวัน สร้าง Scenarioเป็นไปได้ จนถึงเลวร้ายที่สุดเกิดเหตุการณ์แบบนี้ใช้แผนที่ 1 สถานการณ์แบบนี้ใช้แผนที่ 2สื่อสารต้องฉับไวมาก เพื่อแก้สถานการณ์ที่จะต้องให้ทั้งความหวัง-ความมั่นใจ ต่อผู้เช่า ลูกค้า และพนักงาน เพื่อก้าวเดินไปในแนวทางเดียวกันอย่างถูกต้อง

ในห้วงวิกฤติยังเป็นโอกาสสำคัญของสยามพิวรรธน์ในการเร่งปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการบริหารจัดการความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในเรื่องความต้องการของลูกค้าทั้งในประเทศและที่เคยเดินทางมาเยี่ยมเยือนโครงการของเราจากทั่วโลก (Global Citizen) บริหารความคาดหวังจากบรรดาร้านค้า และพันธมิตรทางธุรกิจที่จะต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อสร้างความสำเร็จในรูปแบบใหม่ๆ ร่วมกัน

สยามพิวรรธน์วางโครงสร้างสู่การเป็นองค์กรที่นำเสนอประสบการณ์ดิจิทัล (Digital Experience)ที่แตกต่างและไม่เหมือนใคร ผ่านช่องทางออมนิชาแนล (Omni Channel)ที่ขยายเครือข่ายบนแพลตฟอร์มต่างๆ ให้เข้าถึงตัวลูกค้าทั่วประเทศและทั่วโลกแล้วเชื่อมโยงกลับมาที่สินค้าและบริการในศูนย์การค้าแบบไร้รอยต่อ 

พร้อมเสริมทัพผู้บริหารคนรุ่นใหม่ หลากหลายสายงาน และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีอริยะ พนมยงค์ อดีต Head ของ Google ประเทศไทย อดีตกรรมการผู้จัดการ LINE ประเทศไทย ล่าสุด CEOและผู้ก่อตั้งบริษัท Transformational ซึ่งจะเข้ามานำทัพเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital transformation) ให้สยามพิวรรธน์บรรลุเป้าหมายการเป็นผู้นำออมนิชาแนลที่โดดเด่นในไทยและภูมิภาคในอนาคต

ในปี 2564-2565 ศูนย์การค้าใจกลางเมือง “สยามพารากอน-สยามเซ็นเตอร์-สยามดิสคัฟเวอรี่ จะถูกพลิกโฉมสู่คอนเซปต์การนำเสนอประสบการณ์ดิจิทัล ที่แตกต่างและไม่เหมือนใคร! สร้างสุดยอดประสบการณ์ ผ่านช่องทางออมนิชาแนลทุกอาคาร ทำให้ผู้คนจากทั่วโลกเข้าถึงประสบการณ์ต่างๆ ได้ตลอดเวลา ห้ามพลาด!

 

เศรษฐา ทวีสินติดสปีดแสนสิริเร็วกว่าโควิด

ระหว่างปี 2563 ชื่อของ เศรษฐา ทวีสิน บิ๊กบอสแห่งแสนสิริ  มีกระแสข่าวได้รับความสนใจตลอดเวลาจากการสื่อสารผ่านข้อความบนทวิตเตอร์แบบตรงไปตรงมา! จนเป็นที่รู้จักของคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะในช่วงการระบาดของโควิด ที่ออกมาโพสต์ว่า หมดเวลาสร้างภาพ ต้องทำทุกอย่างเพื่อเงินสด

โดยทวีตข้อความผ่าน @Thavisin ถึงสถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ขณะนั้น ว่า ถ้าใครบอกว่าตลาดอสังหาฯ ยังไปได้ คนนั้นพูดไม่จริงแน่นอน ทุกวันนี้แสนสิริยอดโอนสูงเป็นประวัติการณ์ไม่ใช่เพราะตลาดดี แต่เราจัดโปรโมชั่นเพื่อเร่งขาย เร่งโอน เพราะอยากได้เงินสดในการรับมือ worst case scenario” 

พร้อมระบุถึงผลกระทบของตลาดอสังหาฯ ที่มีผลพวงมาจากปัญหาเศรษฐกิจในประเทศ หากรัฐไม่เร่งแก้ไขโดยด่วน เศรษฐกิจแย่ ภาคอสังหาฯยิ่งแย่ รัฐบาลต้องช่วย เพราะแม้แสนสิริจะพอไปไหวเพราะตุนเงินสดไว้แล้ว 12,000 ล้าน แต่เราก็ไม่อยากเห็นรายใดรายหนึ่ง ไม่ว่าจะรายใหญ่หรือรายเล็กต้องล้มไป เพราะจะกระทบกันหมด

วิกฤติครั้งนี้ เศรษฐา ใช้กลยุทธ์สร้างความรวดเร็ว (Speed to Market Strategy) ในการรับมือโควิด-19 ทันที และเป็นเจ้าแรกในวงการอสังหาฯ ที่กล้าตัดสินใจยอมขายบ้านในราคาเท่าทุน หรือ ยอมขาดทุน รวมทั้งอัดแคมเปญแรง อย่าง แสนสิริผ่อนให้ ที่ผ่อนให้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยสูงสุดถึง 24 เดือนเพื่อกระตุ้นลูกค้าให้กล้าตัดสินใจซื้อ! ด้วยการเปลี่ยนความกลัวของลูกค้าให้เป็น โอกาส

ผลลัพท์ ก็คือ ตัวเลขผลประกอบการ 9 เดือน (ม.ค.-ก.ย.2563) ของแสนสิริ มีรายได้ 26,511 ล้านบาท เติบโต 57% กำไรสุทธิ 1,085 ล้านบาท ลดลง 5%

ส่วนยอดโอนทั้งแนวราบและแนวสูงล่าสุด พุ่งถึง 38,500 ล้านบาท เติบโต 109% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน  คิดเป็น 90% จากเป้าหมายยอดโอนใหม่ที่ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 43,000 ล้านบาท แบ่งเป็นยอดโอนจากโครงการแนวราบ 15,600 ล้านบาท เติบโต  50% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่โครงการคอนโดมิเนียมมียอดโอนล่าสุดสูงถึง 22,900 ล้านบาท เติบโตขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 186% ผลงานมาจากการโอนคอนโด อาทิ โครงการ เดอะ โมนูเมนต์ ทองหล่อ, คาวะ เฮาส์, เดอะ ไลน์ สุขุมวิท 101, เดอะ ไลน์ พหลฯ-ประดิพัทธ์ และเดอะ ไลน์ วงศ์สว่าง รวมถึงเริ่มทยอยรับรู้รายได้จากการโอนโครงการคอนโดสร้างเสร็จ อาทิ XT เอกมัย, โอกะ เฮาส์, ดีคอนโด ธาร จรัญฯ, ลา ฮาบานา หัวหิน รวมถึงการโอนที่อยู่อาศัยแนวราบให้แก่ลูกค้าตามแผนงานอย่างต่อเนื่อง

แสนสิริ ยังมีกระแสเงินสด 12,000 ล้านบาท ที่มีความพร้อมในการดำเนินธุรกิจและมีความแข็งแกร่งในทุกสภาวการณ์ พร้อมพรีเซลล์ แบ็กล็อก มูลค่าอีกกว่า 32,000 ล้านบาท ที่จะรองรับการเติบโตระยะยาวอย่างน้อยอีก 3 ปีข้างหน้า

'เกรียงไกร กาญจนะโภคิน' รอดมาได้ขนาดนี้ ถือว่าสอบผ่าน!

ธุรกิจอีเวนท์เป็นอีกหนึ่งเซ็กเตอร์ที่บาดเจ็บสาหัส เพราะทันทีที่โควิดแพร่ระบาด รัฐออกมาตรการ “ห้ามจัดกิจกรรมทันที เพื่อลดการรวมตัวของผู้คน กระทั่งมีล็อกดาวน์ การจัดงานหายวับในพริบตาแบบมาราธอนการประเมินค่าธุรกิจอีเวนท์ที่ “หมื่นล้านบาทห่างไกลมูลค่าที่่ผู้ประกอบการมักหยิบยกทั้งห่วงโซ่มาคำนวณหลักแสนล้านบาท ครอบคลุมการจ้างงานเป็นแสนชีวิต เพราะนับการจัดงานตั้งแต่ชุมชน ท้องถิ่น จังหวัด จนถึงระดับประเทศนั่นเอง

หากพูดถึงเกรียงไกร กาญจนะโภคิน ผู้ก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน) ไม่เพียงได้รับสมญานามเจ้าพ่ออีเวนท์ ผู้เคยนำทัพธุรกิจไทยติดทำเนียบยักษ์ใหญ่ อีเวนท์ระดับโลก มีงานสร้างชื่อเสียงในไทยและต่างแดน เช่น ผลงานสร้างพาวิลเลียนไทยในเวทีเวิลด์เอ็กซ์โป จนติดท็อปพาวิลเลียนที่นักท่องเที่ยวสนใจเข้าชมมากสุด

ปีนี้แนวทางธุรกิจที่วางไว้ตั้งแต่ต้นปีผิดแผน เพราะโควิด-19 ทว่าการพลิกระบวนท่าอย่างรวดเร็ว และไม่เคยหยุดความคิดสร้างสรรค์ หรือ Never Stop Creatingจึงสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ที่เข้ากับสถานการณ์ โรคระบาด พฤติกรรมผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ มาสู่“Kill&Klean” บริการพ่นเปรย์ฆ่าเชื้อแบบพรีเมี่ยม ปัจจุบันขยายแฟรนไชส์ไปสู่ 6 ประเทศแล้ว

การคิดนอกกรอบ ทลายขีดจำกัดตัวเอง สำคัญมาก เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ทันควัน Creating for Now ยังกลายเป็นกลยุทธ์ที่เกรียงไกรงัดมาใช้ฝ่าวิกฤติและสถานการณ์ที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนด้วย

คิดสร้างสรรค์ทำสิ่งที่อยู่กับปัจจุบัน อย่างโควิดยังอยู่ เราก็ทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องแทนที่จะหนีไวรัส อยู่และใช้ปัจจัยนี้ให้เกิดประโยชน์ เหมือน Kill&Kleanซึ่งผลตอบรับดีมาก แม้จะแผ่วช่วงที่ควบคุมการแพร่ระบาดได้ แต่ตอนนี้ความต้องการกลับมาอีกครั้ง

ขณะที่ธุรกิจอีเวนท์ หรืองานบริการด้านการตลาด(Marketing Service)ทำรายได้หลักให้บริษัท แต่โควิดฉุดรายได้หดตัวหนัก บริษัทยังปรับตัวด้วยการสร้างโปรเจคงานอีเวนท์ของตัวเองหรือOwn Project พึ่งตัวเองลดพึ่งพาลูกค้า เพื่อให้อยู่รอด จึงเห็นการสร้างสรรค์งานต่างๆต่อยอดรายได้ เช่น Village of illumination at singha park งานประดับไฟใหญ่สุดในเอเชีย บนพื้นที่ 100 ไร่ ณ โครงการสิงห์ ปาร์ค เชียงราย งานเมืองโบราณเทศกาลฤดูร้อนยามค่ำคืน และพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอนฯ เป็นต้น

ปี 2563 หนักหนาสาหัสสำหรับผู้ประกอบการ อินเด็กซ์ฯ เช่นกัน เพราะผลการดำเนินงานทั้งปีมีรายได้ 460 ล้านบาท ลดลง 69% จากปีก่อน ที่มีรายได้ 1,400 ล้านบาท ไล่เรียง 3 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่ 1.กลุ่มครีเอทีฟ บิซซิเนส ดีเวลลอปเม้นท์รายได้ลดลง 37% 2.กลุ่มมาร์เก็ตติ้ง เซอร์วิสลดลง 78.4% และ 3.กลุ่มโอน -โปรเจค ลดลง 45%

หากให้คะแนนตัวเองผมให้ 55%คะแนนดังกล่าวถือว่าสอบผ่านแต่ได้คะแนนไม่ดี หากคะแนนดีธุรกิจต้องสร้างกำไร แต่เรายังขาดทุนอยู่ แต่ในภาวะที่เราเดือดร้อนมาก ต้องบอกว่าเรายังคิดอะไรนอกกรอบออกมาได้ สามารถ Diversifyธุรกิจที่แตกต่างออกไป โควิดทำให้เราเรียนรู้และปรับตัวในการทำธุรกิจให้ดีขึ้น การที่เรารอดมาได้ขนาดนี้ถือว่าสอบผ่าน ไม่ตก แต่ก็ไม่ได้คะแนนดี