กางดัชนีคอร์รัปชันไทย สวนทางนโยบาย ‘ปราบโกง’

กางดัชนีคอร์รัปชันไทย สวนทางนโยบาย ‘ปราบโกง’

เมื่อ “ช่องว่าง” การทุจริตถูกตั้งคำถามว่า อยู่ที่อำนาจในระบบภาครัฐ เอื้อให้เกิดการคอร์รัปชันง่ายขึ้นหรือไม่

จากถ้อยคำที่ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม พูดไว้ในวงประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 15 ..2563 ที่ผ่านมา ต่อรายงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(...) ที่พบว่ารัฐบาลยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ระหว่างปี 2557-2562 พบการทุจริตมากที่สุดนั้น

กลายเป็นประเด็นที่ พล..ประยุทธ์ ไม่เชื่อว่าจะมีข้อมูลดังกล่าวทั้งหมด จากข้อสังเกตถึงรายงาน ...ครั้งนี้ จะเป็นเฉพาะจำนวนเรื่องร้องเรียน หรือไม่ จึงสั่งการให้ไปแยกรายละเอียดต่างๆ ให้ชัดเจน เพราะเชื่อว่าฝ่ายค้านจะนำเรื่องนี้ไปเป็นข้อมูลในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ

เป็นท่าทีจาก พล..ประยุทธ์ ที่มีต่อข้อมูลที่สะท้อนมาจาก ...ส่งไปถึงรัฐบาล ภายหลัง พล...วัชรพล ประสารราชกิจ ประธาน... เคยเปิดเผยตัวเลขสำคัญไว้ในวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล (ประเทศไทย) 9 ..2563 จากข้อมูลในปีงบประมาณ 2562 สำนักงาน ...รับเรื่องกล่าวหาการทุจริตไว้ จำนวน 10,382 เรื่อง หรือคิดเป็นวงเงินงบประมาณของโครงการภาครัฐจากคำกล่าวหารวม 238,209 ล้านบาท

ข้อมูลส่วนนี้ ถูกจัดแบ่งเป็นประเภทคำกล่าวหาที่ ...รับไว้ดำเนินการเอง เฉพาะเรื่องที่ร้ายแรง หรือเกี่ยวข้องกับผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง ตามที่อำนาจในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ(...) ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 2561 จำนวน 3,285 เรื่อง มียอดวงเงินงบประมาณ ทั้งสิ้น 236,240 ล้านบาท

โดยเฉพาะประเภทการทุจริตพบว่า อันดับหนึ่งเป็นการจัดซื้อจัดจ้าง วงเงิน 207,060 ล้านบาท และอันดับสองการดำเนินการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ วงเงิน 23,840 ล้านบาท

ที่ผ่านมา ...ได้ส่งคำกล่าวหาเหล่านี้ให้หน่วยงานภายนอกดำเนินการ มีวงเงิน 1,967 ล้านบาท แบ่งเป็น 1.เป็นความผิดประเภทปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบวงเงิน 1,152 ล้านบาท และ 2.ประเภทยักยอก เบียดบังเงินหรือทรัพย์สินของราชการอีก 428 ล้านบาท

ขณะที่ สถิติ รับเรื่องทุจริตที่ร้องเรียนมาถึง ...ตลอดปีงบประมาณ 2563 พบว่ามีจำนวน 8,691 เรื่อง คิดเป็นวงเงินงบประมาณของโครงการจากคำกล่าวหา รวมประมาณ 9 หมื่นล้านบาท ส่วนปีงบประมาณ 2564 ที่ผ่านมา 2 เดือน (เริ่มนับตั้งแต่ 1 ..2563) อัพเดทข้อมูลเมื่อวันที่ 4 ..2563 ...” มีเรื่องร้องเรียนที่อยู่ระหว่างตรวจสอบ 9,416 เรื่อง และไต่สวนอีก 3,320 เรื่อง

หากย้อนไปถึงช่วงที่คสช.” เข้ามาบริหารประเทศตลอด 6 ปี จนมาถึงช่วงรอยต่อรัฐบาลประยุทธ์ 1” ก่อนหน้านี้ คสช.เคยประกาศ ธงนำการปราบการทุจริตคอร์รัปชัน เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำรัฐประหารเมื่อ 22 ..2557 แต่ในการจัดอันดับโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International: TI) ต่อดัชนีภาพลักษณ์การคอร์รัปชัน (Corruption Perception Index – CPI) เป็นดัชนีวัดการทุจริตคอร์รัปชันสากลนั้น กลับพบว่าในปี 2560 ประเทศไทยถูกจัดอันดับอยู่ที่ 99 ของโลกจาก 180 ประเทศทั่วโลกอยู่ที่ 37 คะแนน

จากนั้นในปี 2561 ประเทศไทยอยู่ลำดับ 96 ของโลกที่ 36 คะแนน และล่าสุดการจัดอันดับประจำปี 2562 องค์การเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ จัดให้ประเทศไทย อยู่อันดับที่ 101 ได้ค่าเฉลี่ยที่ 36 คะแนน (ประเทศที่อันดับตัวเลขของโลกยิ่งสูงหมายถึงยิ่งมีการคอร์รัปชันมาก)

ส่วนประเทศที่ถูกจัดอันดับ 1 ประจำปี 2562 มี 2 ประเทศได้อันดับ 1 ร่วมกันในฐานะประเทศที่มีการคอร์รัปชันน้อยที่สุด คือนิวซีแลนด์-เดนมาร์ค (ได้ 87 คะแนนจาก 100 คะแนน) ขณะที่ประเทศที่ได้ชื่อว่าคอร์รัปชันมากที่สุด คือประเทศโซมาเลีย อยู่ในอันดับสุดท้ายของ 180 ประเทศ และได้ค่าดัชนี CPI เพียง 9 คะแนน

ไม่ใช่แค่นั้นแต่ข้อมูลภายในประเทศที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้เปิดเผยผลสำรวจดัชนีคอร์รัปชันไทยเมื่อเดือน ..2560 ได้พบข้อมูลการทุจริตในยุครัฐบาล คสช.เพิ่มขึ้น 37% สูงที่สุดในรอบ 3 ปีนับตั้งแต่ปี 2558

โดย ดร.เสาวนีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ชี้ให้เห็นสาเหตุการทุจริตคอร์รัปชัน มาจาก 3 ส่วน 1.กฎหมายเปิดโอกาสให้สามารถใช้ดุลพินิจเอื้อต่อการทุจริตคอร์รัปชันถึง 18.8% 2.กระบวนการทางการเมืองตรวจสอบได้ยาก 15.6% และ3.ความไม่เข้มงวดการบังคับใช้กฎหมายและกฎระเบียบ 14.7%

นอกจากนี้ เมื่อแบ่งรูปแบบทุจริต พบอีกว่า อันดับ 1 การให้สินบนของกำนัล รางวัลต่างๆ 19.6% อันดับ 2 การใช้ตำแหน่งทางการเมืองเอื้อประโยชน์แก่พวกพ้อง 16.2% อันดับ 3 การทุจริตเชิงนโยบาย 13.8% อันดับ 4 การทุจริตในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง 12.2% และ อันดับ 5 การจ่ายเงินเพื่อให้ได้ประโยชน์ภายหลัง 9.0%

ขณะเดียวกัน ยังมีข้อมูลสำคัญที่ ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยในขณะนั้นว่า สถานการณ์คอร์รัปชันไทยเริ่มรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ภายหลังปี 2558 ในช่วงที่มีโครงการจัดซื้อจัดจ้างลงทุนขนาดใหญ่โดยมีอัตราการจ่ายใต้โต๊ะปี 2560 มากถึง 5–15 % สูงสุดในรอบ 3 ปีจากปี 2558 ซึ่งขณะนั้นมีอัตราจ่ายใต้โต๊ะเฉลี่ย 1-15 % คิดเป็นความเสียหายทางเศรษฐกิจปีละมากถึง 1-2 แสนล้านบาท

แต่อีกด้าน หากย้อนไปที่ข้อมูล พันเอกหญิง ศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษก คสช.แถลงไว้เมื่อ 1 ..2561 จากการที่ คสช.เปิดศูนย์รับเรื่องร้องเรียนการประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐในรอบ 1 ปี ตั้งแต่เดือน ..2560-..2561 มีเรื่องร้องเรียนอยู่ที่ 4,344 เรื่อง มาจาก 3 ช่องทาง 1.สายด่วน 1299 จำนวน 1,184 เรื่อง 2.แจ้งผ่าน ตู้ ปณ.444 จำนวน 2,379 เรื่อง และ 3.แจ้งด้วยตนเองผ่านศูนย์ร้องเรียนฯ หน่วยทหารทั่วประเทศ 781 เรื่อง ซึ่งข้อร้องเรียนอันดับ 1 ที่ถูกประชาชนแจ้งเข้ามาเป็นเรื่องเจ้าหน้าที่ของรัฐประพฤติมิชอบ

ปัญหาทุจริตที่ปรากฏออกมานั้น มีที่มาจากการพัฒนาระบบต้นน้ำ รับเรื่องร้องเรียนของ ... ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นประตูบานแรกนำไปสู่การปราบปรามการทุจริต ตั้งแต่ในชั้นตรวจรับคำกล่าวหาของสำนักงาน ...ให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม

โดยตั้งแต่ปี 2562 สำนักพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ... ได้เริ่มพัฒนาระบบรับคำร้องเรียนกล่าวหา จากกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป เมื่อเปรียบเทียบระหว่างปี 2560-2562 พบว่าปริมาณงานประสบความสำเร็จในการดำเนินการมีเกือบ 100%

เห็นได้จากกระบวนการตรวจสอบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ของบุคคลที่ต้องยื่นแสดงตามกฎหมายนั้น จากเดิมมีคณะอนุกรรมการตรวจสอบเพียง 2 คณะ แต่ถูกเพิ่มรวมเป็น 4 คณะ และแบ่งภารกิจให้กรรมการ ...แต่ละรายไปเป็นประธานกรรมการตรวจสอบ ตามเป้าหมายดำเนินคดีร่ำรวยผิดปกติเพื่อยึดทรัพย์สินที่มีการโกงไปกลับคืนแก่รัฐ

จากตัวเลขการทุจริตและดัชนีชี้วัดการคอร์รัปชันไทยที่มาจาก...” “หอการค้าและองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติที่ผ่านมา จะเห็นชัดเจนสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันว่า สถานการณ์ทุจริตในประเทศยังไม่มีท่าทีน้อยลง ถึงแม้ในช่วงหนึ่งรัฐบาล คสช.จะมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการบริหารประเทศต่อเนื่องมาถึงรัฐบาลชุดปัจจุบัน

แต่ตลอด 3 ครั้งล่าสุดในการจัดอันดับประเทศ ต่อดัชนีวัดการทุจริตคอร์รัปชันสากล กลับมีกราฟสะท้อนค่าความโปร่งใสที่ถูกจัดอันดับในแต่ละปี ยังถูกตั้งคำถามมาตลอดว่าช่องว่าง การทุจริตที่เกิดขึ้นนั้น อยู่ที่อำนาจในระบบภาครัฐเอื้อให้เกิดการคอร์รัปชันง่ายขึ้นหรือไม่.